สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

10 คาถารักษาธุรกิจครอบครัว (3)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ 10 คาถารักษาธุรกิจครอบครัว โดย ปิยะ ซอโสตถิกุล

ฉบับที่ผ่านมา ผมได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ผมต้องเขียนบทความ

"10 คาถารักษาธุรกิจครอบครัว" ขึ้นมามีอยู่ 3 ประการ และได้อธิบายเหตุผลที่ 1 ไปแล้วว่าตามสถิติแล้วโอกาสที่ธุรกิจครอบครัวจะจบลงในมือของทายาทรุ่น

ต่อ ๆ ไปมีสูงมาก

ครั้งนี้มาว่ากันต่อถึงเหตุผลที่ 2 คือตำราที่สอนให้ "รวย" มีเยอะแล้ว แต่ที่สอนให้ "รอด" ยังไม่ค่อยเห็น

ใน ยุคนี้คุณจะทำอะไรก็สามารถหาหนังสือมาอ่านได้หมดครับ ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไรอยู่ หรือคิดจะเริ่มธุรกิจใหม่ จะเป็นตัวแทนขายสินค้าหรือนักลงทุน

ผมก็เห็นว่ามีหนังสือคู่มือสอน ให้รวยออกมาเยอะแยะ มีทั้ง "เขาหาเงินแบบไหนถึงได้รวย" "ให้เงินทำงานแทนเรา" "ลงทุนอย่างชาญฉลาด" ชื่อหนังสือแต่ละเล่มฟังดูจะเร้าใจชวนให้อ่าน ประมาณว่ารวยเร็ว รวยทางลัด รวยล้นฟ้า รวยแบบเถ้าแก่

รวยแบบเจ้าสัว วางแผนให้รวยข้ามชาติ ฯลฯ

มีทั้งเล่มที่คนไทยเขียนหรือเป็นหนังสือแปลก็มี

ตรง นี้ผมมองว่าน่าสนใจไม่น้อยครับ เพราะคิดดูว่าถ้านักเขียนกลุ่มนี้เขาเก่งจริงแล้วทำไมจะต้องมาจบแค่การเขียน หนังสือ ทำไมไม่ไปลงมือทำธุรกิจของ

ตัวเองให้รวยเสียเลย

จริง ๆ แล้วบางคนที่เขียนหนังสือเหล่านี้ ผมก็พอรู้จักอยู่บ้างนะครับ

บาง คนก็เป็น NPL หรือมีหนี้เสีย เรียกว่าข้ามชาติจริง ๆ เพราะจากบุคคลธรรมดาข้ามชาติมาเป็นบุคคลล้มละลายเลย ดังนั้นหากคิดจะอ่านหนังสือเหล่านี้ก็ต้องระวังกันนิดหนึ่งครับ เพราะไม่แน่ใจว่าคนเขียน

บางคนรู้จริงหรือเปล่า มีประสบการณ์ที่ทำให้ตนเองรวยอย่างที่เขียนไหม

ยิ่ง พอได้อ่าน ๆ ไปในบางจุดผมยังอดคิดไม่ได้ว่าหากเป็นผมจะไม่แนะนำให้เจ้าของธุรกิจทำแบบ นั้น เพราะถ้าทำไปแล้วจะมีโอกาสจนมากกว่ารวยน่ะสิครับ

อ้อ ในฐานะที่เป็นผู้เขียนบทความนี้ (แม้จะเป็นการเรียบเรียงมาจากการบรรยายก็ตาม) ผมก็ต้องออกตัวด้วยว่า สิ่งที่ผมบรรยายก็ใช่ว่าจะใช้ได้ผล 100% นะครับ บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อย่างที่เขาว่าการอ่านแล้วนำไปปฏิบัติมีความเสี่ยง ท่านควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ ขอให้จำไว้ด้วยนะครับ

ส่วน หนังสือประเภทที่เป็นชีวประวัติคนดัง คือคนที่ทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ คนที่สร้างเนื้อสร้างตัวมาได้ด้วยความลำบาก คนที่เริ่มต้นมาจากศูนย์ อย่างเช่น Jack Welch, Warren Buffet, Steve Jobs, คุณชิน โสภณพนิช, คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี, คุณธนินท์ เจียรวนนท์, คุณเฉลียว อยู่วิทยา ฯลฯ ว่าเขามีความเป็นมาอย่างไรกว่าจะรวย เขามีวิสัยทัศน์ มีแนวคิด มีการกำหนดกลยุทธ์อย่างไร

พออ่านดูแล้ว พบว่าสิ่งที่ทุกคนมีเหมือนกันคือ มีความขยันหมั่นเพียร มีความอดทนสูง ซึ่งถือว่าทุกคนเก่งมากครับ

อ่าน ไปอ่านมาผมก็สังเกตเห็นว่า ทำไมประวัติคนที่ทำธุรกิจแล้วเจ๊งถึงหาอ่านไม่ได้เลย ไม่เห็นมีใครนำมาเขียน ไม่มีใครมาเล่าให้ฟัง ว่าคนเราผิดพลาดกันได้อย่างไร แล้วมีวิธีแก้ไขหรือป้องกันอย่างไรบ้าง

อย่างตอนที่ผมเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็มีกรณีศึกษาเป็นตัวอย่างในห้องเรียนมากมาย และส่วนใหญ่ก็เป็น

กรณี ของบริษัทหรือบุคคลที่ประสบความสำเร็จกันทั้งนั้น เท่าที่เรียนมา ผมว่าใน 1,000 กรณีศึกษา จะมีสัก 10 กรณีที่มีประวัติว่าทำแล้วเจ๊ง ทำแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ นั่นคงเพราะไม่มีใครหรอกที่อยากบอกว่าตัวเองบริหารงานแล้วเจ๊ง และบริหารอย่างไรถึงเจ๊ง นั่นสิครับ ถ้าเขาเกิดบริหารแล้วรวย ประสบผลสำเร็จ เขาจึงจะอยากบอกเล่า อยากโฆษณาให้คนได้รู้กันมาก ๆ

ฉะนั้นการที่ เราจะได้เรียนรู้จากธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จจึงถือว่าเป็นโอกาสดีที่หา ได้ยากมากจริง ๆ อย่างที่เรารู้กันว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาดมีประโยชน์มากมายมหาศาล เพราะเราจะจำได้ขึ้นใจ ยิ่งพลาดครั้งใหญ่ก็ยิ่งจำได้ขึ้นใจ และไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก นั่นคือการ learn from mistake ครับ

ฉบับหน้ามาพบกับเหตุผลที่ 3 ครับ


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : 10 คาถารักษาธุรกิจครอบครัว (3)

view