สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บรรทัดฐานรับค่าตาย7.75ล้าน

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย....ธรรมสถิตย์ ผลแก้ว 

มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) 10 มี.ค.2555  ที่กำหนดให้จ่ายค่าเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี2548-2553 ให้กับกลุ่มที่ 1 ที่ไม่มีคดีความ กำลังดำเนินขั้นตอนของการแจ้งสิทธิผ่านกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ (พม.) จนถึงวันที่ 31 มี.ค.นี้  ก่อนจะมีการตรวจสอบสิทธิให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์อีกครั้ง เพื่ออนุมัติจ่ายเงินก่อน12 เม.ย.ตามที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกและรมว.มหาดไทยยืนยันไว้

โดยเฉพาะค่าเยียวยาทางจิตใจให้กับผู้ยังอยู่ หรือ “ค่าความตาย” ตามประสาชาวบ้าน ที่มีมูลค่าถึง 7.75 ล้านบาท  แม้จะยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมว่าเหมาะสมแล้วหรือ  เป็นการจ่ายที่มากไปหรือไม่ แล้วหลักเกณฑ์เช่นนี้จะนำไปใช้กับเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองอื่นที่เป็น เหตุให้หัวล้างข้างแตก เสียชีวิต ได้หรือไม่  รวมถึงความชัดเจนที่เทียบเคียงเพื่อจ่ายให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความ ไม่สงบภาคใต้จะได้เมื่อไหร่  ยังคงเป็นคำถามตัวโตขณะนี้

หรือแม้แต่การสร้างบรรทัดฐานใหม่ ถึงขั้นบอกกล่าวในที่ประชุมครม. ไม่ให้เกิดอาการสับสนอลหม่านต่อภาษีประชาชน 2,000  กว่าล้าน(ในเบื้องต้น) จะใช้ผิดกฎหมาย ด้วยการสั่งการอย่าใช้คำว่า “จ่ายค่าชดเชย” ให้ใช้คำว่าเป็นการจ่ายค่าเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม ก็น่าจะเป็นคำดูดีมีเหตุผลเพราะ ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นใครผิดใครถูก  แต่แง่ความเป็นรัฐบาลไม่ว่ายุคใดย่อมรับผิดชอบชีวิตพลเมืองของเขา  จึงต้องจ่าย 

แต่จ่ายอย่างมีเหตุผลหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา

มาดูจากข้อมูลนี้กันบ้าง กับความพยายามอ้างหลักเกณฑ์จ่ายเยียวยากรณีผู้เสียชีวิตต้องได้รับเงิน 7.75 ล้านบาท แต่กลับพบประวัติข้อหา คดีอาชญากรรม  จริงอยู่อาจตีความว่าพวกเขาชุมนุมและเสียชีวิต ไม่มีคดีความผิดเผาบ้านเผาเมือง แต่การมีประวัติถูกตั้งข้อหาคดีอื่น อาจสะท้อนอีกมุมหนึ่ง ถึงความหลากหลายของคนที่มาชุมนุมเช่นกัน 

ถึงกระนั้นเมื่อมาชุมนุมและเสียชีวิต  ผลลัพธ์ตามมาจะเป็นญาติ เมียนอกสมรส  หรือแม้แต่เกี่ยวพันกับคดีอาชญากรรมนั้นๆด้วย  ต่างมีสิทธิได้รับค่าเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม!!!” 

กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ  รวบรวมรายชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์การชุมนุม ทางการเมืองเมื่อปี2553 รวม 89 ศพ เพื่อประกอบการรับค่าเยียวยา 7.75 ล้านบาทตามมติครม.

จากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อของดีเอสไอ  พบว่า มีการแจ้งประวัติตั้งข้อหาคดีอาชญากรรมถึง 23 ราย อีกจำนวนหนึ่งไม่พบประวัติ  โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สรุปสำนวนคดีส่งให้ดีเอสไอแล้ว ดังนี้ 

1.พล.ต.ขัตติยะ  สวัสดิผล   พบประวัติการกระทำความผิดรวม 10 รายการ

2.นายมานะ  แสนประเสริฐศรี  ข้อหา พรากเด็กและกระทำชำเราเด็ก

3.พลทหารภูริพัทธ์   ประพันธ์ ข้อหาครอบครองยาบ้า สภ.ขอนแก่น

4.นายทิพเนตร เจียมพล ข้อหาซ่องโจร สน.ลุมพินี ข้อหา ละเมิดลิขสิทธิ์ และข้อหายาเสพติดสน.พญาไท

5.นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ   ต้องโทษ พ.ร.บ.การพนัน สภ.สวนผึ้งจ.ราชบุรี     

6.น.ส.สัญชะนา   สรรพศรี ต้องโทษ พ.ร.บ.การพนัน สน.พญาไท

7.นายบุญทิ้ง ปานศิลา  ข้อหาอนาจาร ที่สน.สามเสน

8.นายเหิน อ่อนสา ข้อหาลักทรัพย์ สน.ดินแดง ข้อหา ขัดขวางการจับกุมสน.โคกคราม ข้อหาจำหน่ายยาบ้า สน.โคกคราม

9.นายมนูญ ท่าราด ข้อหาการพนัน สน.โชคชัย

10.นายธันวา วงศ์ศิริ ข้อหาเสพยาบ้า สน.บางโพงพาง

11.นายอุทัย อรอินทร์ ข้อหาทำร้ายร่างกายสน.จักวรรดิ์  ข้อหา ละเมิดเครื่องหมายการค้าฯ สน.จักรวรรดิ์

12.นายชาญณรงค์ พลศรีลา  ความผิดพ.ร.บ.การพนัน สน.บางซื่อและข้อหาขับรถชนแล้วหนี สน.บางโพงพาง

13.นายคนึง ฉัตรเท  ข้อหาการพนัน

14.นายปรัชญา  แซ่โค้ว กระทำผิดพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ สน.บางมด

15.นายสมศักดิ์ แก้วสาน ข้อหาเสพยาบ้า สน.วัดพระยาไกร

16.นายพรสวรรค์ นาคะไชย ข้อหาร่วมกันทำให้เสียทรัพย์

17.นายเกรียงไกร เลื่อนไธสงค์ ข้อหาขับรถขณะเมาสุราฯ

18.นายสุวันศรีรักษา  ข้อหาใช้สารระเหยฯ สภ.เมืองอุดรธานี

19.นายอัครเดช ขันแก้ว  ข้อหาลักทรัพย์ สน. พระโขนง และข้อหาจำหน่ายสื่อลามก สภ.เทวะ

20.นายจรูญ   ฉายแม้น  ข้อหาขับรถประมาทฯ สภ.กุดรัง จ.มหาสารคาม

21.นายสยาม  วัฒนกุล  ข้อหาทำร้ายร่างกายสน.บางซื่อ

22.นายอำพล   ตติรัตน์ หมายจับศาลจังหวัดพระโขนง ข้อหาหนีราชการทหาร

23.นายบุญธรรม ทองผุย ความผิดตามพ.ร.บ.การพนัน สน.พญาไท


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : บรรทัดฐาน รับค่าตาย 7.75ล้าน

view