สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นิพนธ์ พัวพงศกร หวังนักการเมืองน้ำดีพรรค พท. ล้มจำนำข้าวก่อนหายนะ

จากสำนักข่าวอิสรา

ใกล้จะครบ 7 เดือนที่รัฐบาลเดินหน้านโยบาย "จำนำข้าว" รับจำนำทุกเม็ด ตันละ 15,000 บาท ซึ่งพ่อค้ารายใหญ่ รายย่อย รวมถึงโรงสีต่างตบเท้ากันกักตุนข้าว รอสนองนโยบายได้หวังจะได้ราคาดีตั้งแต่ก่อนเริ่มนโยบายปลายปี 2554

ภายหลังการรับจำนำล็อตแรกผ่านไป เกิดอะไรขึ้นกับ "ชาวนา  และวงการค้าข้าวไทย" บ้าง รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับศูนย์ข่าวสารนโยบายสาธารณะ สำนักข่าวอิศรา พร้อมแนะนำ เมื่อรัฐบาลรับซื้อข้าวทุกเม็ด ก็ควรหาทางระบายข้าวออก ก่อนที่จะ "ไม่มีวันได้ขาย"

 ด้วยเพราะหลังจากนี้ เมื่อใดที่ปล่อยข้าวออกมา ราคาจะตกและขาดทุนแน่นอน!!

เริ่มต้น ประธานทีดีอาร์ไอ ขอเวลาประมวลความคิด

ก่อนตั้งข้อสังเกตเบื้องต้น ในระยะสั้น หากไม่ขายข้าว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? โดยลำดับสถานการณ์ เพื่อตอบคำถามข้างต้นให้ฟังว่า

ขณะนี้รัฐบาลใช้งบประมาณ ทั้งการดำเนินงานโครงการฯ ในช่วงนาปี ค่า ดำเนินการ ค่าฝากเก็บข้าวในโกดัง และงบเงินทุนหมุนเวียนรวมแล้วทั้งสิ้นประมาณ 1.4 แสนล้านบาท หากรวมกับช่วงนาปรังอีก 3.63 หมื่นล้านบาท ที่จะต้องไปกู้เงินจากธนาคารอื่นๆ สถานการณ์เช่นนี้ เมื่อรัฐบาลรับซื้อทุกเม็ด แล้วไม่ขาย ไม่ต้องรอให้ถึง 4 ปี ภาคเกษตรของไทยลำบากแน่!!

รศ.ดร.นิพนธ์ อธิบายถึงหนี้จากการที่รัฐบาลให้กระทรวงการคลังกู้ธนาคารมากมายนั้น นับเป็นภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลโดยตรงที่รัฐบาลต้องจ่าย จะหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว นี่คือการดำเนินนโยบายแบบไม่คิด มุ่งหาเสียงกับเกษตรกรโดยไม่คำนึงผลกระทบที่จะตามมา

เขากล่าวว่า ที่รัฐบาล พ่อค้าและโรงสีคาดการณ์ไว้ว่า หากสต็อกข้าวไว้ แล้วราคาจะขึ้นนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะตามธรรมชาติ เมื่อใดที่มีการระบายข้าวออกมาราคาจะ

ตก ไม่มีโอกาสที่จะขายในราคาสูงได้ โดยเฉพาะสูงถึง 800 เหรียญต่อตัน

"ที่สำคัญ ประเทศไทยไม่ได้เป็นผู้ผูกขาดข้าวและนักการเมืองก็ไม่ควรคิดว่า "ข้าว" เหมือน "น้ำมัน" หรือเหมือน "หุ้น" ที่มีจำนวนจำกัดและปั่นราคาได้

ข้าวปั่นราคาไม่ได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับเทวดาและชาวนา 100 ล้านคนทั่วโลก ฉะนั้น เมื่อไทยดึงให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น เท่ากับว่าไทย "ทำบุญ" ให้กับชาวนาประเทศเวียดนามและอินเดีย รัฐบาลนำเงินภาษีประชาชนที่ควรจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศมาทุ่มทิ้ง"

ฉะนั้น รัฐบาลต้องไม่ลืมว่า ข้าวไทยไม่ได้กินแล้วกลายเป็นเทวดาและไม่ได้กินแล้วหายจากโรค หากไม่ขายหรือขายไม่ได้เก็บค้างไว้ในสต็อกไม่เกิน 1-2 ปีก็จะเน่าเสียหาย ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเก็บ โดยเขาคาดการณ์ด้วยว่า ไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เมื่อข้าวที่โรงสีและพ่อค้ากักเก็บไว้หมดลง

ข้าวสารถุงในประเทศไทย 5 กิโกกรัมจากเดิมราคาไม่ถึง 100 บาท จะหาซื้อไม่ได้อีกแล้ว ราคาจะแพงขึ้น

สถานการณ์เช่นนี้ รศ.ดร.นิพนธ์ บอกว่า หากรัฐบาลจะมีมาตรการแก้ไขด้วยวิธี "คุมราคาข้าว" ตามที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ เคยประกาศไว้ว่าจะมีข้าวราคาถูกมาขาย ก็จะเกิดวัฏจักรที่ว่า

...รัฐบาลนำเงินภาษีประชาชนมาซื้อข้าวราคาแพงเก็บไว้เฉยๆ ในสต็อก เพราะหวังว่า ราคาจะแพงขึ้น จากนั้นรัฐบาลก็นำเงินภาษีประชาชนอีกก้อนหนึ่ง มาสนับสนุนในการขายข้าวแบบ "ขาดทุน"

  ถามว่า  รัฐบาลจะทำไปเพื่ออะไร??

ทั้งนี้ ประธานทีดีอาร์ไอ ได้สรุปผลกระทบใน "ระยะสั้น" ที่จะเกิดภายในปีนี้ สิ่งที่เห็นชัดๆ คือ

- ประเทศไทยจะขายข้าวไม่ได้

- ราคาข้าวในประเทศจะสูงขึ้น

"และแม้อาจขายข้าวได้บ้าง แต่อย่างไรก็ต้องขาดทุน ที่แน่นอน ยิ่งหากจะขายข้าวในราคา 800 เหรียญต่อตัน จะขายไม่ได้ ไม่ว่าชาตินี้ หรือชาติหน้า เว้นเสียแต่ไทยผลิตข้าวเจ้าเดียวในโลก"

อย่างไรก็ตามเขาบอกว่า ในระยะสั้นปีนี้สถานการณ์การคลังในประเทศไทยยังไม่เจ๊ง แต่หากทำอย่างนี้ในหลายๆ โครงการที่รัฐบาลสัญญาไว้ ภายใน 3-4 ปี ที่สุดแล้วภาระหนี้จะเกิน 60% ของจีดีพี

เมื่อถึงวันนั้นสถานการณ์การคลังเสร็จแน่!!  รศ.ดร.นิพนธ์ เชื่อว่า อาจจะเดินซ้ำรอยปัญหาวิกฤตหนี้ทางการคลังของประเทศในช่วงปี 2525 ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ก็เป็นได้

ถึงเวลาตอบแล้วว่า จะขายข้าวอย่างไร และขายให้ใคร?

เมื่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นภายในอีกไม่เกิน 4 ปีเป็นเช่นนี้ สิ่งที่รัฐบาลควรทำประการแรก รศ.ดร.นิพนธ์ ชี้ชัดว่า หากดำเนินนโยบายต่อเนื่องไป จะเพิ่มภาระหนี้ที่ต้องกู้ยืมเงินปีละกว่า 2 แสนล้าน หากทางออกอยู่ที่การขายข้าว ฉะนั้น รัฐบาลควรตอบคำถามได้แล้วว่า จะมีนโยบายขายข้าวอย่างไร เพราะจะก่อให้เกิดภาวะเงินจะเฟ้อตามมา อีกทั้งจะขายให้คนๆ เดียว บริษัทเดียวอย่างที่เคยทำมาหรือให้มีการแข่งขันอย่างยุติธรรม

หรือถ้ายังไม่ยอมขาย เมื่อปริมาณข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาเสนอว่า รัฐบาลก็เอาข้าวไปถมทะเลจะดีเสียกว่า

"3-4 เดือนข้างหน้านี้ ผมไม่รู้ว่ารัฐบาลจะเลือกวิธีไหน แต่บอกได้เลยว่า ถ้ารัฐบาลเลือกขายข้าวให้ "เจ้าเดียว" เช่น สยามอินดิก้า นั่นหมายถึงการ "คอร์รัปชั่น" ต้องถามคุณทักษิณว่าจะเลือกทางไหน แต่ผมค่อนข้างเชื่อว่าเขาน่าจะเลือกการผูกขาด"

คำถามต่อมา รัฐบาลต้องการที่จะผูกขาดการส่งออก แล้วล้มตลาดแข่งขันการค้าใช่หรือไม่?? และหากเป็นเช่นนั้น ต้องตอบด้วยว่า การผูกขาดจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการแข่งขันของผู้ส่งออกหรือไม่?? เขาบอกว่า คุณทักษิณ  อาจทำให้มีผู้ส่งออกรายเดียวได้โดยใช้อำนาจรัฐ แต่หลังจากรัฐบาลนี้ล้มหายตายจากไป เมื่อมีรัฐบาลอื่นขึ้นมาแทน การจะกลับมาแข่งขันอีกครั้งต้องสร้างธุรกิจใหม่ซึ่งลำบากมาก

"รัฐบาลช่วยตอบด้วยว่า จะทำ "ข้าว" ให้เป็น "ธุรกิจการเมือง" เพื่อนำกำไรให้วงการการเมืองใช่หรือไม่ จะทำธุรกิจเพื่อให้รายได้ตกอยู่กับคนๆ เดียว บริษัทเดียวอย่างนั้นหรือ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นประเทศอื่นคงไม่พึ่งการส่งออกจากประเทศไทยอีกต่อไป"

 

เขาย้ำว่า แม้จะเป็นผู้ผูกขาดก็ไม่ได้หมายความว่า เก่งหรือมีประสิทธิภาพ เพราะการอาศัยอำนาจรัฐ เท่ากับอาศัย "ฝีตีน" ไม่ได้อาศัย "ฝีมือ" การผูกขาดจะมี

ประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อเป็นการผูกขาดทางเทคโนโลยี แต่ข้าวไม่มีเทคโนโลยี ไม่เหมือนสินค้าเทคโนโลยีอย่าง "แอปเปิ้ล" ข้าวไม่ใช่ "ไอโฟน" มีชาวนา 100 ล้านคนทั่วโลกปลูก อย่าคิดว่าจะควบคุมได้

ตลาดข้าวไทย ถึงคราว หายนะ วินาศสันตะโร

เดิมปริมาณการส่งออกข้าวของไทย นั้น ยกตัวเลขเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม ในปี 2552 และ 2553 จะพบว่า ประเทศไทยขายข้าวได้ปีละกว่า 10 ล้านตันต่อเดือน

กระทั่งปี 2554 ที่เริ่มนโยบายจำนำข้าว เหลือเพียง 5-6 ล้านตัน แม้ภาวะน้ำท่วมจะเป็นผลส่วนหนึ่ง แต่ก็มีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับราคาข้าวส่งออกของเดือนเมษายน 2555 ซึ่งอยู่ที่ 548 เหรียญต่อตัน แตกต่างจากช่วงเริ่มต้นนโยบายที่ราคาขึ้นสูง และหากนำราคาข้าวนี้ไปหักลบจากราคา 830 เหรียญต่อตันที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่าจะขายได้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่คำนวณมาจากราคารับจำนำ 15,000 บาทจะพบว่า

ข้าวสารนาปีที่รับจำนำไปนั้น รัฐบาลจะขาดทุนกว่า 280 บาทต่อตัน หรือไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท

นี่คือสิ่งที่เขาพยายามชี้ให้เห็นว่า หากทำนโยบายนี้ต่อไปในระยะ 2-3 ปี ที่สุดแล้วตลาดข้าวไทยจะหายนะ วินาศสันตะโร เพราะรัฐบาลไม่เคยมีนโยบายส่งออกที่ชัดเจน มีแต่นโยบายซื้อเข้า

และจากนี้ไปตลาดไทยจะเป็นตลาดที่ต่างประเทศพึ่งพาไม่ได้อีกต่อไป ด้วยเพราะพ่อค้าไทยไม่ขายข้าวและจะขายข้าวแพง

"เดิมตลาดข้าวไทยเป็นตลาดที่ ไว้ใจได้มากที่สุด เป็นตลาดที่มีชื่อเสียงมาก ส่งข้าวไปร้อยกว่าประเทศ แต่ต่อไปตลาดข้าวไทยจะไว้ใจไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ผู้ซื้อก็จะเบนเข็มไปหาประเทศอื่น ยิ่งชัดว่า เราทำบุญให้พ่อค้าและชาวนาเวียดนาม อินเดียและพม่า"

เรากำลังทำลายอนาคตของ เศรษฐกิจข้าวไทยทั้งหมด จากนี้ชาวนาจะเพิ่มปริมาณการผลิต แต่คุณภาพข้าวต่ำลง ข้าวอายุสั้นลง ราคาข้าวจะต่ำลง กระทบต่อพ่อค้าส่งออกและทุกอาชีพในอุตสาหกรรมนี้ หมายความว่า ตลาดข้าวที่บรรพบุรุษเราสร้างมา 40-50 ปี หรือกว่า 100 ปีหากนับตั้งแต่สนธิสัญญาเบาริ่ง จนได้เป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 จะอันตรธานหายไป เรายอมยกตำแหน่งผู้ส่งออกรายใหญ่ไปให้ประเทศอื่น"

นอกจากนี้ การจูงใจด้วยตัวเลขรับจำนำ 15,000 บาทต่อตัน ก็ทำให้ชาวนาอยากเพิ่มปริมาณการผลิตจนอาจจะเกินการควบคุม ซึ่งรัฐบาลเองก็เคยกล่าวถึงแนวทางในการลดพื้นที่เพื่อควบคุมการปลูกให้น้อย ลง และการควบคุมเช่นนี้รัฐบาลจะใช้มาตรการใดไปบังคับชาวนาให้ลดหรือเลิกปลูก เพราะหากไม่ชัดเจนว่าจะรองรับการเลิกปลูกนั้นอย่างไร การกระทำเช่นนี้ก็ไม่ต่างกับ "สังคมนิยม"

บทเรียนที่เจ็บแสบ...

รศ.ดร.นิพนธ์ บอกว่า ที่ผ่านมาเราจะพบว่า มีบทเรียนมากมาย   ประเทศไทยเคยพยายามผูกขาดการส่งออกละหุ่ง กระทั่งอุตสาหกรรมละหุ่งตาย ส่วนต่างประเทศก็มีบทเรียนที่เจ็บแสบเรื่องการคลังที่รัฐบาลต้องชำระหนี้ ที่สุดแล้วต้องปฏิรูปนโยบายการเกษตร กลับมาเป็นนโยบายที่ช่วยเหลือเฉพาะชาวนาส่วนหนึ่ง ไม่แทรกแซงการตลาด ประกันรายได้เฉพาะเกษตรกรที่ยากจน

"ประกันรายได้ที่พรรคประชาธิปัตย์ทำมาก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่ไม่ถูกทั้งหมด จุดอ่อนอยู่ที่ไม่จำกัดปริมาณการประกัน อย่างมากควรประกันแค่ 20 ตันต่อปี การช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจนจะช่วยให้ลืมตาอ้าปากเลยไม่ได้ ควรช่วยด้วยวิธีเพิ่มผลิตภาพ เทคโนโลยี พันธุ์ข้าวที่ดีและลดต้นทุนการผลิต นี่คือการช่วยที่ยั่งยืน"

เขาย้ำว่า "คำแนะนำของผมมีข้อเดียว คือ "ยกเลิกนโยบายนี้" แม้จะรู้ทั้งรู้ว่า รัฐบาลนี้ ไม่ฟัง ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการจะทำลายอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจข้าวไทยที่สร้างมายาวนาให้พัง ทลายลงเพียงในเวลา 4-5 ก็เชิญ ทำต่อไป รับรองประสบความสำเร็จแน่ๆ

แต่ถ้ารัฐบาลเห็นแก่บ้านแก่เมือง ก็หวังว่าจะมีนักการเมือง 'น้ำดี' ในพรรคเพื่อไทยเข้าใจปัญหาและลุกขึ้นมาต่อสู้ เปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ แล้วผมจะโหวตให้

"ยังไม่สายเกินไปที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบาย" รศ.ดร.นิพนธ์ บอก และฝากไปถึงบ้านเลขที่ 111 หากจะกลับมาก็หวังว่าจะมาแก้สิ่งไม่ดีให้กลายเป็นดี หวังได้แค่การเปลี่ยนแปลงจากภายในพรรคเพื่อไทยเท่านั้น...

"ผมอยากจะเห็นนักการเมืองที่มีสำนึก เข้าใจถึงปัญหาระยะยาวของประเทศ และรู้ว่านโยบายจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ทำลายประเทศและทำลายเศรษฐกิจข้าวไทย อีกทั้งยังหมิ่นเหม่ที่จะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่กิจกรรมของรัฐ"

เสียงข้างมากปชต.ไทยจะฉลาดขึ้น เมื่อรัฐบาลเปิดเผยข้อมูล

นอกจากการลำดับสถานการณ์ คาดการณ์จากข้อมูลในข้างต้นแล้ว เขาบอกว่า สิ่งที่นักวิชาการทำได้ คือ การตั้งคำถามและเรียกร้องให้รัฐบาลตอบและเปิดเผยข้อมูล

หลังจากนี้ ไม่ว่ารัฐบาลจะประกาศนโยบายระบายข้าวด้วยวิธีใดก็ตาม ส่งผลอย่างไรต่อราคาข้าวไทย รัฐบาลจะขาดทุนเท่าไหร่ ขอเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลและตัวเลขให้ประชาชนรับรู้ตลอดเวลา เพราะงบประมาณที่ถือในมือขณะนี้ เป็นเงินภาษีจากประชาชน

"เสียงข้างมากของประชาธิปไตยไทยจะฉลาดขึ้นต่อเมื่อได้รับข้อมูลที่ถูก ต้อง ซึ่งการรับรู้ข้อมูลจะทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้นว่า เมื่อถึงคราวเลือกตั้งควรจะเลือกใครและนโยบายไหน นักวิชาการพูดและทำได้เพียงแค่นี้ ข้อมูลที่ได้มาก็หามาด้วยความยากลำบาก"

หากพิจารณาข้อมูลครัวเรือนชาวนาปี 2552 ที่แบ่งระดับชาวนาตามชั้นรายได้ จะพบว่า

ชาวนากลุ่มรวยที่สุดมี 1.07 ล้านครัวเรือนที่มีข้าวเหลือขายรวมกัน 55.6%

ในขณะที่ชาวนาจนกลุ่มที่สุดมี 2.59 ล้านครัวเรือนที่มีข้าวเหลือขายรวมกัน 24.8%

เมื่อรวมกับกลุ่มชาวนาที่ต้องซื้อข้าวกินนับว่าเป็นจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่า นโยบายจำนำข้าวไม่ได้มีแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อชาวนาที่ยากจน แต่เอื้อประโยชน์แก่ชาวนาที่มีฐานะและมีข้าวส่วนเกินเหลือขาย

สรุปแล้ว....

โครงการนี้ไม่ได้ช่วยชาวนายากจนหรือชาวนาที่ปลูกข้าวไม่พอกิน ผู้ที่ได้ประโยชน์ คือ โรงสี ที่ได้ค่าจ้างเก็บข้าว และ ผู้ส่งออก ในกรณีผูกขาดตลาด

รศ.ดร.นิพนธ์ ตั้งคำถามสุดท้ายไว้ว่า ตกลงเราทำธุรกิจเพื่อคนๆ เดียวที่มี "เส้น" ทางการเมืองหรือ และอนาคตประเทศไทยต้องทำธุรกิจบนฐานการเมืองอย่างนั้นหรือ??

ที่เราเป็นอันดับ 1 ด้านการขายข้าวทุกวันนี้ ล้วนมาจากการแข่งขัน ไม่ใช่การผูกขาด แต่เพราะนักการเมืองไม่เคยขายข้าว หากขายข้าวเป็นคงไม่มาเล่นการเมือง...

เขาบอกด้วยว่า สิ่งที่นโยบายจำนำข้าวทำสำเร็จ มีอยู่ประการเดียว คือ "ดึงราคาข้าวในประเทศให้สูงขึ้น" ซึ่งจะได้เห็นเร็วๆ นี้


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

ใกล้จะครบ 7 เดือนที่รัฐบาลเดินหน้านโยบาย "จำนำข้าว" รับจำนำทุกเม็ด ตันละ 15,000 บาท ซึ่งพ่อค้ารายใหญ่ รายย่อย รวมถึงโรงสีต่างตบเท้ากันกักตุนข้าว รอสนองนโยบายได้หวังจะได้ราคาดีตั้งแต่ก่อนเริ่มนโยบายปลายปี 2554

ภายหลังการรับจำนำล็อตแรกผ่านไป เกิดอะไรขึ้นกับ "ชาวนา  และวงการค้าข้าวไทย" บ้าง รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับศูนย์ข่าวสารนโยบายสาธารณะ สำนักข่าวอิศรา พร้อมแนะนำ เมื่อรัฐบาลรับซื้อข้าวทุกเม็ด ก็ควรหาทางระบายข้าวออก ก่อนที่จะ "ไม่มีวันได้ขาย"

 ด้วยเพราะหลังจากนี้ เมื่อใดที่ปล่อยข้าวออกมา ราคาจะตกและขาดทุนแน่นอน!!

เริ่มต้น ประธานทีดีอาร์ไอ ขอเวลาประมวลความคิด

ก่อนตั้งข้อสังเกตเบื้องต้น ในระยะสั้น หากไม่ขายข้าว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? โดยลำดับสถานการณ์ เพื่อตอบคำถามข้างต้นให้ฟังว่า

ขณะนี้รัฐบาลใช้งบประมาณ ทั้งการดำเนินงานโครงการฯ ในช่วงนาปี ค่า ดำเนินการ ค่าฝากเก็บข้าวในโกดัง และงบเงินทุนหมุนเวียนรวมแล้วทั้งสิ้นประมาณ 1.4 แสนล้านบาท หากรวมกับช่วงนาปรังอีก 3.63 หมื่นล้านบาท ที่จะต้องไปกู้เงินจากธนาคารอื่นๆ สถานการณ์เช่นนี้ เมื่อรัฐบาลรับซื้อทุกเม็ด แล้วไม่ขาย ไม่ต้องรอให้ถึง 4 ปี ภาคเกษตรของไทยลำบากแน่!!

รศ.ดร.นิพนธ์ อธิบายถึงหนี้จากการที่รัฐบาลให้กระทรวงการคลังกู้ธนาคารมากมายนั้น นับเป็นภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลโดยตรงที่รัฐบาลต้องจ่าย จะหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว นี่คือการดำเนินนโยบายแบบไม่คิด มุ่งหาเสียงกับเกษตรกรโดยไม่คำนึงผลกระทบที่จะตามมา

เขากล่าวว่า ที่รัฐบาล พ่อค้าและโรงสีคาดการณ์ไว้ว่า หากสต็อกข้าวไว้ แล้วราคาจะขึ้นนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะตามธรรมชาติ เมื่อใดที่มีการระบายข้าวออกมาราคาจะ

ตก ไม่มีโอกาสที่จะขายในราคาสูงได้ โดยเฉพาะสูงถึง 800 เหรียญต่อตัน

"ที่สำคัญ ประเทศไทยไม่ได้เป็นผู้ผูกขาดข้าวและนักการเมืองก็ไม่ควรคิดว่า "ข้าว" เหมือน "น้ำมัน" หรือเหมือน "หุ้น" ที่มีจำนวนจำกัดและปั่นราคาได้

ข้าวปั่นราคาไม่ได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับเทวดาและชาวนา 100 ล้านคนทั่วโลก ฉะนั้น เมื่อไทยดึงให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น เท่ากับว่าไทย "ทำบุญ" ให้กับชาวนาประเทศเวียดนามและอินเดีย รัฐบาลนำเงินภาษีประชาชนที่ควรจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศมาทุ่มทิ้ง"

ฉะนั้น รัฐบาลต้องไม่ลืมว่า ข้าวไทยไม่ได้กินแล้วกลายเป็นเทวดาและไม่ได้กินแล้วหายจากโรค หากไม่ขายหรือขายไม่ได้เก็บค้างไว้ในสต็อกไม่เกิน 1-2 ปีก็จะเน่าเสียหาย ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเก็บ โดยเขาคาดการณ์ด้วยว่า ไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เมื่อข้าวที่โรงสีและพ่อค้ากักเก็บไว้หมดลง

ข้าวสารถุงในประเทศไทย 5 กิโกกรัมจากเดิมราคาไม่ถึง 100 บาท จะหาซื้อไม่ได้อีกแล้ว ราคาจะแพงขึ้น

สถานการณ์เช่นนี้ รศ.ดร.นิพนธ์ บอกว่า หากรัฐบาลจะมีมาตรการแก้ไขด้วยวิธี "คุมราคาข้าว" ตามที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ เคยประกาศไว้ว่าจะมีข้าวราคาถูกมาขาย ก็จะเกิดวัฏจักรที่ว่า

...รัฐบาลนำเงินภาษีประชาชนมาซื้อข้าวราคาแพงเก็บไว้เฉยๆ ในสต็อก เพราะหวังว่า ราคาจะแพงขึ้น จากนั้นรัฐบาลก็นำเงินภาษีประชาชนอีกก้อนหนึ่ง มาสนับสนุนในการขายข้าวแบบ "ขาดทุน"

  ถามว่า  รัฐบาลจะทำไปเพื่ออะไร??

ทั้งนี้ ประธานทีดีอาร์ไอ ได้สรุปผลกระทบใน "ระยะสั้น" ที่จะเกิดภายในปีนี้ สิ่งที่เห็นชัดๆ คือ

- ประเทศไทยจะขายข้าวไม่ได้

- ราคาข้าวในประเทศจะสูงขึ้น

"และแม้อาจขายข้าวได้บ้าง แต่อย่างไรก็ต้องขาดทุน ที่แน่นอน ยิ่งหากจะขายข้าวในราคา 800 เหรียญต่อตัน จะขายไม่ได้ ไม่ว่าชาตินี้ หรือชาติหน้า เว้นเสียแต่ไทยผลิตข้าวเจ้าเดียวในโลก"

อย่างไรก็ตามเขาบอกว่า ในระยะสั้นปีนี้สถานการณ์การคลังในประเทศไทยยังไม่เจ๊ง แต่หากทำอย่างนี้ในหลายๆ โครงการที่รัฐบาลสัญญาไว้ ภายใน 3-4 ปี ที่สุดแล้วภาระหนี้จะเกิน 60% ของจีดีพี

เมื่อถึงวันนั้นสถานการณ์การคลังเสร็จแน่!!  รศ.ดร.นิพนธ์ เชื่อว่า อาจจะเดินซ้ำรอยปัญหาวิกฤตหนี้ทางการคลังของประเทศในช่วงปี 2525 ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ก็เป็นได้

ถึงเวลาตอบแล้วว่า จะขายข้าวอย่างไร และขายให้ใคร?

เมื่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นภายในอีกไม่เกิน 4 ปีเป็นเช่นนี้ สิ่งที่รัฐบาลควรทำประการแรก รศ.ดร.นิพนธ์ ชี้ชัดว่า หากดำเนินนโยบายต่อเนื่องไป จะเพิ่มภาระหนี้ที่ต้องกู้ยืมเงินปีละกว่า 2 แสนล้าน หากทางออกอยู่ที่การขายข้าว ฉะนั้น รัฐบาลควรตอบคำถามได้แล้วว่า จะมีนโยบายขายข้าวอย่างไร เพราะจะก่อให้เกิดภาวะเงินจะเฟ้อตามมา อีกทั้งจะขายให้คนๆ เดียว บริษัทเดียวอย่างที่เคยทำมาหรือให้มีการแข่งขันอย่างยุติธรรม

หรือถ้ายังไม่ยอมขาย เมื่อปริมาณข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาเสนอว่า รัฐบาลก็เอาข้าวไปถมทะเลจะดีเสียกว่า

"3-4 เดือนข้างหน้านี้ ผมไม่รู้ว่ารัฐบาลจะเลือกวิธีไหน แต่บอกได้เลยว่า ถ้ารัฐบาลเลือกขายข้าวให้ "เจ้าเดียว" เช่น สยามอินดิก้า นั่นหมายถึงการ "คอร์รัปชั่น" ต้องถามคุณทักษิณว่าจะเลือกทางไหน แต่ผมค่อนข้างเชื่อว่าเขาน่าจะเลือกการผูกขาด"

คำถามต่อมา รัฐบาลต้องการที่จะผูกขาดการส่งออก แล้วล้มตลาดแข่งขันการค้าใช่หรือไม่?? และหากเป็นเช่นนั้น ต้องตอบด้วยว่า การผูกขาดจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการแข่งขันของผู้ส่งออกหรือไม่?? เขาบอกว่า คุณทักษิณ  อาจทำให้มีผู้ส่งออกรายเดียวได้โดยใช้อำนาจรัฐ แต่หลังจากรัฐบาลนี้ล้มหายตายจากไป เมื่อมีรัฐบาลอื่นขึ้นมาแทน การจะกลับมาแข่งขันอีกครั้งต้องสร้างธุรกิจใหม่ซึ่งลำบากมาก

"รัฐบาลช่วยตอบด้วยว่า จะทำ "ข้าว" ให้เป็น "ธุรกิจการเมือง" เพื่อนำกำไรให้วงการการเมืองใช่หรือไม่ จะทำธุรกิจเพื่อให้รายได้ตกอยู่กับคนๆ เดียว บริษัทเดียวอย่างนั้นหรือ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นประเทศอื่นคงไม่พึ่งการส่งออกจากประเทศไทยอีกต่อไป"

 

เขาย้ำว่า แม้จะเป็นผู้ผูกขาดก็ไม่ได้หมายความว่า เก่งหรือมีประสิทธิภาพ เพราะการอาศัยอำนาจรัฐ เท่ากับอาศัย "ฝีตีน" ไม่ได้อาศัย "ฝีมือ" การผูกขาดจะมี

ประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อเป็นการผูกขาดทางเทคโนโลยี แต่ข้าวไม่มีเทคโนโลยี ไม่เหมือนสินค้าเทคโนโลยีอย่าง "แอปเปิ้ล" ข้าวไม่ใช่ "ไอโฟน" มีชาวนา 100 ล้านคนทั่วโลกปลูก อย่าคิดว่าจะควบคุมได้

ตลาดข้าวไทย ถึงคราว หายนะ วินาศสันตะโร

เดิมปริมาณการส่งออกข้าวของไทย นั้น ยกตัวเลขเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม ในปี 2552 และ 2553 จะพบว่า ประเทศไทยขายข้าวได้ปีละกว่า 10 ล้านตันต่อเดือน

กระทั่งปี 2554 ที่เริ่มนโยบายจำนำข้าว เหลือเพียง 5-6 ล้านตัน แม้ภาวะน้ำท่วมจะเป็นผลส่วนหนึ่ง แต่ก็มีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับราคาข้าวส่งออกของเดือนเมษายน 2555 ซึ่งอยู่ที่ 548 เหรียญต่อตัน แตกต่างจากช่วงเริ่มต้นนโยบายที่ราคาขึ้นสูง และหากนำราคาข้าวนี้ไปหักลบจากราคา 830 เหรียญต่อตันที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่าจะขายได้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่คำนวณมาจากราคารับจำนำ 15,000 บาทจะพบว่า

ข้าวสารนาปีที่รับจำนำไปนั้น รัฐบาลจะขาดทุนกว่า 280 บาทต่อตัน หรือไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท

นี่คือสิ่งที่เขาพยายามชี้ให้เห็นว่า หากทำนโยบายนี้ต่อไปในระยะ 2-3 ปี ที่สุดแล้วตลาดข้าวไทยจะหายนะ วินาศสันตะโร เพราะรัฐบาลไม่เคยมีนโยบายส่งออกที่ชัดเจน มีแต่นโยบายซื้อเข้า

และจากนี้ไปตลาดไทยจะเป็นตลาดที่ต่างประเทศพึ่งพาไม่ได้อีกต่อไป ด้วยเพราะพ่อค้าไทยไม่ขายข้าวและจะขายข้าวแพง

"เดิมตลาดข้าวไทยเป็นตลาดที่ ไว้ใจได้มากที่สุด เป็นตลาดที่มีชื่อเสียงมาก ส่งข้าวไปร้อยกว่าประเทศ แต่ต่อไปตลาดข้าวไทยจะไว้ใจไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ผู้ซื้อก็จะเบนเข็มไปหาประเทศอื่น ยิ่งชัดว่า เราทำบุญให้พ่อค้าและชาวนาเวียดนาม อินเดียและพม่า"

เรากำลังทำลายอนาคตของ เศรษฐกิจข้าวไทยทั้งหมด จากนี้ชาวนาจะเพิ่มปริมาณการผลิต แต่คุณภาพข้าวต่ำลง ข้าวอายุสั้นลง ราคาข้าวจะต่ำลง กระทบต่อพ่อค้าส่งออกและทุกอาชีพในอุตสาหกรรมนี้ หมายความว่า ตลาดข้าวที่บรรพบุรุษเราสร้างมา 40-50 ปี หรือกว่า 100 ปีหากนับตั้งแต่สนธิสัญญาเบาริ่ง จนได้เป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 จะอันตรธานหายไป เรายอมยกตำแหน่งผู้ส่งออกรายใหญ่ไปให้ประเทศอื่น"

นอกจากนี้ การจูงใจด้วยตัวเลขรับจำนำ 15,000 บาทต่อตัน ก็ทำให้ชาวนาอยากเพิ่มปริมาณการผลิตจนอาจจะเกินการควบคุม ซึ่งรัฐบาลเองก็เคยกล่าวถึงแนวทางในการลดพื้นที่เพื่อควบคุมการปลูกให้น้อย ลง และการควบคุมเช่นนี้รัฐบาลจะใช้มาตรการใดไปบังคับชาวนาให้ลดหรือเลิกปลูก เพราะหากไม่ชัดเจนว่าจะรองรับการเลิกปลูกนั้นอย่างไร การกระทำเช่นนี้ก็ไม่ต่างกับ "สังคมนิยม"

บทเรียนที่เจ็บแสบ...

รศ.ดร.นิพนธ์ บอกว่า ที่ผ่านมาเราจะพบว่า มีบทเรียนมากมาย   ประเทศไทยเคยพยายามผูกขาดการส่งออกละหุ่ง กระทั่งอุตสาหกรรมละหุ่งตาย ส่วนต่างประเทศก็มีบทเรียนที่เจ็บแสบเรื่องการคลังที่รัฐบาลต้องชำระหนี้ ที่สุดแล้วต้องปฏิรูปนโยบายการเกษตร กลับมาเป็นนโยบายที่ช่วยเหลือเฉพาะชาวนาส่วนหนึ่ง ไม่แทรกแซงการตลาด ประกันรายได้เฉพาะเกษตรกรที่ยากจน

"ประกันรายได้ที่พรรคประชาธิปัตย์ทำมาก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่ไม่ถูกทั้งหมด จุดอ่อนอยู่ที่ไม่จำกัดปริมาณการประกัน อย่างมากควรประกันแค่ 20 ตันต่อปี การช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจนจะช่วยให้ลืมตาอ้าปากเลยไม่ได้ ควรช่วยด้วยวิธีเพิ่มผลิตภาพ เทคโนโลยี พันธุ์ข้าวที่ดีและลดต้นทุนการผลิต นี่คือการช่วยที่ยั่งยืน"

เขาย้ำว่า "คำแนะนำของผมมีข้อเดียว คือ "ยกเลิกนโยบายนี้" แม้จะรู้ทั้งรู้ว่า รัฐบาลนี้ ไม่ฟัง ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการจะทำลายอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจข้าวไทยที่สร้างมายาวนาให้พัง ทลายลงเพียงในเวลา 4-5 ก็เชิญ ทำต่อไป รับรองประสบความสำเร็จแน่ๆ

แต่ถ้ารัฐบาลเห็นแก่บ้านแก่เมือง ก็หวังว่าจะมีนักการเมือง 'น้ำดี' ในพรรคเพื่อไทยเข้าใจปัญหาและลุกขึ้นมาต่อสู้ เปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ แล้วผมจะโหวตให้

"ยังไม่สายเกินไปที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบาย" รศ.ดร.นิพนธ์ บอก และฝากไปถึงบ้านเลขที่ 111 หากจะกลับมาก็หวังว่าจะมาแก้สิ่งไม่ดีให้กลายเป็นดี หวังได้แค่การเปลี่ยนแปลงจากภายในพรรคเพื่อไทยเท่านั้น...

"ผมอยากจะเห็นนักการเมืองที่มีสำนึก เข้าใจถึงปัญหาระยะยาวของประเทศ และรู้ว่านโยบายจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ทำลายประเทศและทำลายเศรษฐกิจข้าวไทย อีกทั้งยังหมิ่นเหม่ที่จะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่กิจกรรมของรัฐ"

เสียงข้างมากปชต.ไทยจะฉลาดขึ้น เมื่อรัฐบาลเปิดเผยข้อมูล

นอกจากการลำดับสถานการณ์ คาดการณ์จากข้อมูลในข้างต้นแล้ว เขาบอกว่า สิ่งที่นักวิชาการทำได้ คือ การตั้งคำถามและเรียกร้องให้รัฐบาลตอบและเปิดเผยข้อมูล

หลังจากนี้ ไม่ว่ารัฐบาลจะประกาศนโยบายระบายข้าวด้วยวิธีใดก็ตาม ส่งผลอย่างไรต่อราคาข้าวไทย รัฐบาลจะขาดทุนเท่าไหร่ ขอเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลและตัวเลขให้ประชาชนรับรู้ตลอดเวลา เพราะงบประมาณที่ถือในมือขณะนี้ เป็นเงินภาษีจากประชาชน

"เสียงข้างมากของประชาธิปไตยไทยจะฉลาดขึ้นต่อเมื่อได้รับข้อมูลที่ถูก ต้อง ซึ่งการรับรู้ข้อมูลจะทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้นว่า เมื่อถึงคราวเลือกตั้งควรจะเลือกใครและนโยบายไหน นักวิชาการพูดและทำได้เพียงแค่นี้ ข้อมูลที่ได้มาก็หามาด้วยความยากลำบาก"

หากพิจารณาข้อมูลครัวเรือนชาวนาปี 2552 ที่แบ่งระดับชาวนาตามชั้นรายได้ จะพบว่า

ชาวนากลุ่มรวยที่สุดมี 1.07 ล้านครัวเรือนที่มีข้าวเหลือขายรวมกัน 55.6%

ในขณะที่ชาวนาจนกลุ่มที่สุดมี 2.59 ล้านครัวเรือนที่มีข้าวเหลือขายรวมกัน 24.8%

เมื่อรวมกับกลุ่มชาวนาที่ต้องซื้อข้าวกินนับว่าเป็นจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่า นโยบายจำนำข้าวไม่ได้มีแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อชาวนาที่ยากจน แต่เอื้อประโยชน์แก่ชาวนาที่มีฐานะและมีข้าวส่วนเกินเหลือขาย

สรุปแล้ว....

โครงการนี้ไม่ได้ช่วยชาวนายากจนหรือชาวนาที่ปลูกข้าวไม่พอกิน ผู้ที่ได้ประโยชน์ คือ โรงสี ที่ได้ค่าจ้างเก็บข้าว และ ผู้ส่งออก ในกรณีผูกขาดตลาด

รศ.ดร.นิพนธ์ ตั้งคำถามสุดท้ายไว้ว่า ตกลงเราทำธุรกิจเพื่อคนๆ เดียวที่มี "เส้น" ทางการเมืองหรือ และอนาคตประเทศไทยต้องทำธุรกิจบนฐานการเมืองอย่างนั้นหรือ??

ที่เราเป็นอันดับ 1 ด้านการขายข้าวทุกวันนี้ ล้วนมาจากการแข่งขัน ไม่ใช่การผูกขาด แต่เพราะนักการเมืองไม่เคยขายข้าว หากขายข้าวเป็นคงไม่มาเล่นการเมือง...

เขาบอกด้วยว่า สิ่งที่นโยบายจำนำข้าวทำสำเร็จ มีอยู่ประการเดียว คือ "ดึงราคาข้าวในประเทศให้สูงขึ้น" ซึ่งจะได้เห็นเร็วๆ นี้.

สำนักข่าวอิศรา

เรื่องเด่น

เปิดสนามสอบผู้บังคับกองพัน ทหารปรับตัวเองก่อนถูกเปลี่ยน

เปิดสนามสอบผู้บังคับกองพัน ทหารปรับตัวเองก่อนถูกเปลี่ยน

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2012 เวลา 10:00 น.
แม้ตอนนี้ กองทัพพยายามที่จะดึงตัวเองออกจากความขัดแย้งทางการเมือง แต่ทว่าการเมืองเองก็ยังหวาดระแวง...
8 ปีกรือเซะ (1) ชีวิตของอาตีกะฮ์..."วันที่เสียสามี ฉันท...

8 ปีกรือเซะ (1) ชีวิตของอาตีกะฮ์..."วันที่เสียสามี ฉันท้อง 9 เดือน"

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2012 เวลา 12:04 น.
เหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 หรือที่เรียกกันติดปากว่า "เหตุการณ์กรือเซะ" ...
ปากคำชาวบ้าน...แฉขบวนการรีดหัวคิวเยียวยาไฟใต้

ปากคำชาวบ้าน...แฉขบวนการรีดหัวคิวเยียวยาไฟใต้

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2012 เวลา 08:46 น.
ดูเหมือนรัฐบาลเพิ่งงัวเงียตื่นจากความหลับใหล เมื่อรัฐมนตรีหลายราย นำโดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รอง...
"ระบบการจัดการภัยพิบัติ" ความเสี่ยงที่มากกว่าแผ่นด...

"ระบบการจัดการภัยพิบัติ" ความเสี่ยงที่มากกว่าแผ่นดินไหว

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2012 เวลา 17:00 น.
เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่แม้จะไม่รุนแรงแต่ก็สร้างความตื่น...
งานสถาปนิก’55 โชว์ออกแบบ “อยู่กับน้ำ ไม่หนีน้ำ” รับมือภัยพิบ...

งานสถาปนิก’55 โชว์ออกแบบ “อยู่กับน้ำ ไม่หนีน้ำ” รับมือภัยพิบัติในอนาคต

วันพุธที่ 25 เมษายน 2012 เวลา 21:00 น.
“คนไทยใช้ชีวิตอยู่กับกับน้ำมาตั้งแต่ในอดีต”แต่ถ้าถามคนไทยโดยทั่วไป มีความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำขนาดไหน...
อ่านทั้งหมด

กระจายข่าว

  • กำหนดการวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก หัวข้อ “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่”

    วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน 2012 เวลา 19:13 น.
  • สัมมนาเรื่อง "การปฏิรูปกฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคมไทยสู่รัฐสวัสดิการอาเซียน"

    วันอังคารที่ 24 เมษายน 2012 เวลา 16:20 น.
  • งานเสวนา จิบน้ำชา : เจาะลึกความพร้อม Tablet นักเรียน ครู ตำรา และซอฟต์แวร์ไทย พร้อมหรือไม่?

    วันอังคารที่ 24 เมษายน 2012 เวลา 11:41 น.
อ่านทั้งหมด

Tags : นิพนธ์ พัวพงศกร นักการเมืองน้ำดี พรรค พท.  ล้มจำนำข้าว ก่อนหายนะ

view