สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด 2 ร่าง พ.ร.บ.ฟอกเงิน/ก่อการร้าย ยกเครื่องกฎหมายไทยเข้ามาตรฐาน FATF

จากประชาชาติธุรกิจ

ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. ..

ประกอบ ไปด้วย 5 หมวด 49 มาตรา มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ การก่อการร้าย มี 2 การกระทำผิด ได้แก่ การกระทำที่เป็นความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา หรือการกระทำนอกราชอาณาจักร ซึ่งถ้าได้กระทำในราชอาณาจักรแล้วจะเป็นความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย กับการกระทำผิดตามกฎหมายภายใต้ขอบเขตของอนุสัญญาและพิธีสารระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการก่อการร้าย "ยกเว้น" การเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือให้ได้รับความเป็นธรรม อันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

หมวด 1 บททั่วไปว่าด้วยเจ้าพนักงาน คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ เลขาธิการ ตาม พ.ร.บ. และว่าด้วย ผู้จัดหา จัดเก็บ รวบรวม รับ โอน ทรัพย์สินไม่ว่าทางตรงทางอ้อม เพื่อนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ก่อการร้าย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

หมวด 2 การกำหนดและเพิกถอน

ราย ชื่อผู้ก่อการร้ายหรือองค์กรก่อการร้าย แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ผู้ก่อการร้ายหรือองค์กรก่อการร้ายโดยมติ/ประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติ ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้เสนอมติให้รัฐบาลประกาศรับรอง แล้วลงในราชกิจจานุเบกษา "ยกเว้น" กรณีเร่งด่วนในการระงับการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินให้ส่งรายชื่อไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที ทั้งนี้ รายชื่อผู้ก่อการร้าย/องค์กรจะต้องเผยแพร่ในระบบสารสนเทศสู่สาธารณะทันที

ส่วน ที่ 2 ผู้ก่อการร้าย หรือองค์กรก่อการร้ายโดยประกาศของคณะกรรมการ จัดให้มีคณะกรรมการโดยการเสนอของสำนักงาน/ได้รับคำร้องขอจากรัฐบาลต่าง ประเทศ

มีอำนาจในการกำหนดรายชื่อบุคคล/องค์กรเป็นผู้ก่อการร้าย และให้คณะกรรมการมีอำนาจแก้ไขเพิกถอนรายชื่อตามระเบียบที่กำหนด เมื่อประกาศรายชื่อไปแล้วให้คณะกรรมการทำหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงไปยัง ผู้/องค์กรที่มีรายชื่อภายใน 30 วัน รวมทั้งให้แจ้งหลักเกณฑ์วิธีการขอเพิกถอนรายชื่อหรือวิธีคัดค้านไปด้วย ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้มีรายชื่อ/องค์กรสามารถยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอน/แก้ไข ได้

หมวด 3 การระงับการดำเนินการกับทรัพย์สิน สามารถระงับได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า หากปรากฏข้อเท็จจริง มีเหตุอันสงสัยว่า ทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวข้องกับผู้มีราย ชื่อ/องค์กร โดยการพิจารณากิจการใดเกี่ยวข้องให้ใช้หลักเกณฑ์การมีอำนาจในการแต่ง ตั้ง/ถอดถอนกรรมการเสียงข้างมาก หรือมีสิทธิลงคะแนนเสียงข้างมากในการแต่งตั้ง การมีอำนาจครอบงำการจัดการกำกับดูแลนิติบุคคล สิทธิในการใช้ทรัพย์สิน การมีหนี้ร่วมกับนิติบุคคล/องค์กร หรือเป็นผู้ประกันหนี้ ผู้ถูกระงับสามารถยื่นคำร้องกับสำนักงานได้ หรือสามารถโต้แย้งคัดค้านการใช้อำนาจระงับต่อศาลแพ่งได้

หมวด 4 อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงาน คณะกรรมการ สำนักงานมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติ รับส่งข้อมูลรายงาน เก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการยึด/อายัด ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์/ประกาศในการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือเหตุ อันควรสงสัย

หมวด 5 บทกำหนดโทษ บุคคลต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000-400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นิติบุคคลต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 ล้าน-5 ล้านบาท พนักงานอัยการอาจขอให้ศาลกำหนดมาตรการพิเศษ ได้แก่ สั่งปิดกิจการ/ถอนใบอนุญาตประกอบกิจการนิติบุคคล ห้ามประกอบกิจการ ปิดกิจการสาขามีกำหนดไม่เกิน 5 ปี ห้ามใช้สถานที่ ให้กิจการอยู่ภายใต้การควบคุมพิเศษ และยังรวมไปถึงกรณีความผิดให้เกิดจากการสั่งการหรือไม่สั่งการ อันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ/ผู้จัดการ/บุคคลที่ต้องรับผิดชอบใน การดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ๆ ด้วย


ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 1) พ.ศ. ...

เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ 2542 มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


ปรับ ปรุงคำนิยม "ความผิดมูลฐาน" ในมาตรา 3 ครอบคลุมไปถึงความผิดเกี่ยวกับการใช้/ยึด/ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ และการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ, ความผิดเกี่ยวกับการบุกรุกครอบครองที่ดินของรัฐ, ความผิดเกี่ยวกับการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน, ความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์, ความผิดเกี่ยวกับการค้าอาวุธ/สิ่งเทียมอาวุธปืน, ความผิดเกี่ยวกับการสมยอมในการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ, ความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า การละเมิดลิขสิทธิ์, การผิดเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นโจรสลัด, ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย, ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา, ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับการรับของโจร

โดยความผิดเหล่านี้ต้องมีลักษณะส่ง ผลกระทบรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของประเทศ หรือเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติ หรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรมหรือผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการ พร้อมกับกำหนดนิยาม "ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย" หมายความถึง ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับความผิดมูลฐาน ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง และให้รวมถึงการพยายามที่จะทำธุรกรรมด้วย

เพิ่มผู้มีหน้าที่รายงาน การทำธุรกรรม ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย, สถาบันการเงินและสถาบันการเงินตามกฎหมายเฉพาะกิจ, บริษัทหลักทรัพย์, บริษัทประกันชีวิต, สหกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการฝากเงินให้กู้สินเชื่อรับจำนอง/จำนำ, นิติบุคคลเฉพาะกิจการเพื่อการแปลงทรัพย์สิน, นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจชำระเงินต่างประเทศ, บริษัทบริหารสินทรัพย์, นิติบุคคลว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า, ธุรกิจให้คำแนะนำ/ปรึกษาด้านการลงทุน/การเคลื่อนย้ายเงินทุน, ผู้ประกอบการอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ เครื่องประดับ, ธุรกิจเช่าชื้อรถยนต์, นายหน้าอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจซื้อขายทอดตลาด, อาชีพค้าของเก่า, ธุรกิจเกี่ยวกับบัตรเครดิต, ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินหรือโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ หรือมีลักษณะคล้ายธุรกิจทางการเงิน/

หลักทรัพย์/การให้สินเชื่อ หรือธุรกิจที่เสี่ยงถูกใช้เป็นช่องทางการฟอกเงิน

การปรับปรุงกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินผู้ทรงคุณวุฒิ การปรับปรุงรายงานการสั่งยับยั้งการทำธุรกรรม


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ร่าง พ.ร.บ.ฟอกเงิน ก่อการร้าย ยกเครื่องกฎหมายไทย เข้ามาตรฐาน FATF

view