สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บัณฑูร ล่ำซำ ติวเข้ม กลยุทธ์ บาท-หยวน

จากประชาชาติธุรกิจ

(ที่มา:มติชนรายวัน 26 สิงหาคม 2555)

 

 

 


หมายเหตุ - นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บรรยายในหัวข้อยุทธศาสตร์ของสกุลเงินบาทของไทยและเงินหยวนของจีน "กลยุทธ์บาท-หยวน" ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม

ใน อนาคตประเทศจีนจะมีบทบาทในการค้าระดับโลกมากขึ้น เมื่อดูตามความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจทั่วโลกในระยะเวลา 10 ปีที่แล้ว ที่ประเทศจีนยังมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก มีการเติบโตที่ 3.7% แต่ในปี 2554 การเติบโตของเศรษฐกิจจีนขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 10.5% รองจากสหรัฐที่การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 21.7% ขณะที่ปริมาณการค้าของไทยและจีนเติบโตเฉลี่ยปีละ 23% ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณธุรกรรมการค้าระหว่างไทยและจีน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2544 และเพิ่มขึ้นเป็น 6.47 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2554

ขณะที่ปริมาณการลงทุนจากประเทศจีนใน ภูมิภาคอาเซียนยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2553 ส่งผลให้สัดส่วนในการลงทุนจากจีนเพิ่มขึ้นจาก 0.7% ในปี 2545 ขึ้นมาเป็น 12.2% ในปี 2553 ทำให้การลงทุนจากจีนเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญสำหรับภูมิภาคอาเซียน

สำหรับ ประเทศไทย การลงทุนโดยตรง (เอฟดีไอ) จากจีน มีการเติบโตสอดคล้องกับภูมิภาคอาเซียน และยังเห็นโอกาสอีกมาก ที่เงินทุนจากประเทศจีนจะไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้บทบาทของการลงทุนจากประเทศจีนใกล้เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปี 2553 การลงทุนจากประเทศจีนในไทยอยู่ที่ 7.2% เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่อยู่ในระดับ 1% และคาดว่า ในระยะเวลา 1-2 ปีจากนี้ไปการลงทุนจากประเทศจีนในไทยจะเข้าใกล้อันดับหนึ่งคือประเทศญี่ปุ่น มากขึ้นและอาจจะแซงหน้าขึ้นมาเป็นการลงทุนอันดับ 1 แทนได้

"จีนยัง ต้องการสร้างการเติบโตในประเทศจีนเอง ทำให้จีนต้องพยายามหาแหล่งการผลิต เพื่อส่งกลับวัตถุดิบไปในประเทศ เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศจีนยังมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไม่สูงมากนัก โดยเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐที่มีการบริโภคภายในประเทศอยู่ที่ 71% ของจีดีพี ประเทศไทยเองมีการบริโภคภายในประเทศ 54% ของจีดีพี แต่ประเทศจีนมีสัดส่วนการบริโภคภายใน 35 % ต่อจีดีพี ซึ่งเมื่อประเทศจีนต้องการเพิ่มสัดส่วนให้มากขึ้นก็ต้องหาแหล่งวัตถุดิบมาก ขึ้น ทำให้มูลค่าของเงินทุนไหลเข้าจากประเทศจีนที่เข้ามาในประเทศในภูมิภาคอา เซียน รวมทั้งประเทศไทยมีปริมาณสูงขึ้น"

จากการคาดการณ์ของหลายแห่ง พบว่า ในอีก 13 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจของจีนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากปัจจุบันเศรษฐกิจจีนมีการเติบโต 10% เป็นรองสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 22% แต่ในอีก 13 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจของจีนจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 22% มากกว่าสหรัฐอเมริกาที่หลายคนมองว่าจะเติบโตลดลงมาอยู่ที่ 18%

แม้ บทบาทของจีนในระดับโลกจะมีมากขึ้น แต่การใช้เงินหยวนในการทำการค้าระหว่างประเทศยังไม่มีมากนัก เพราะยังไม่มีกระแสที่แรงมากพอและปริมาณธุรกรรมการซื้อขายที่เป็นสกุลเงิน หยวนระหว่างประเทศทั่วโลกยังไม่ไดัรับความนิยม เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักของโลกอย่างดอลลาร์สหรัฐ สกุลยูโร หรือสกุลเยนของญี่ปุ่น ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของธุรกรรมทั้งโลก

ทั้งนี้ การที่ค่าเงินหลักของโลกได้รับความนิยมเนื่องจากมีเครื่องมือในการบริหาร ความเสี่ยง สามารถป้องกันความเสี่ยงได้ แต่ค่าเงินหยวนของจีนยังไม่สามารถทำได้ เพราะนโยบายค่าเงินของจีนยังไม่มีการเปิดเสรี ทำให้ค่าเงินหยวนยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลจีน ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลจีนว่าจะวางยุทธศาสตร์ของค่าเงินหยวนในอนาคตไว้ อย่างไร

ค่าเงินหยวนจะเข้ามามีบทบาทต่อการค้าของโลกมากน้อยเพียงใด ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลจีนว่าจะเปิดเสรีหรือไม่ เพราะการเปิดเสรีค่าเงินไม่ใช่เรื่องง่าย หากเปิดแล้วก็ต้องมีการควบคุมที่ดี เพราะค่าเงินต้องมีการไหลเข้าไหลออก รัฐบาลจีนก็ต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของตัวเองและต้องประเมินว่าจะสามารถควบคุม เงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างไร หากจีนมั่นใจก็คงเปิด แต่ปัญหาของจีนเองก็มี คือเรื่องภายในของประเทศจีนเอง ที่แม้การเจริญเติบโตของประเทศจีนจะมีมาก แต่การกระจายความเจริญของจีนยังเป็นปัญหาอยู่ ความไม่เท่าเทียมกันที่เกิดขึ้น เป็นโจทย์ที่ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนก็ต้องกลัวด้วยกันทั้งนั้น เพราะความแตกต่างของความมั่งคั่งมีมหาศาลเหมือนนั่งอยู่บนระเบิด

ทั้ง นี้ การที่ค่าเงินหยวนของจีนยังไม่ได้รับความนิยมทางธุรกรรมการค้าโลกและยังไม่ ได้เป็นหนึ่งในค่าเงินสกุลหลักของโลกก็ยังไม่ใช่เรื่องเสียหายของภาคธุรกิจ เพราะเงินสกุลหลักของโลกมีความสะดวกดีอยู่แล้ว ซึ่งในการทำการค้าก็ต้องใช้ความสะดวกเป็นหลัก ค่าเงินที่สะดวกในการทำการค้ามากที่สุดคือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เพราะเป็นค่าเงินที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด มีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงมากที่สุด รวมทั้งมีต้นทุนในการกู้เงินสกุลดอลลาร์ก็ยังเป็นต้นทุนที่ต่ำที่สุดเมื่อ เทียบกับค่าเงินสกุลอื่น ขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังมีความปลอดภัยในการค้าขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม บทบาทระหว่างค่าเงินบาทและค่าเงินหยวนยังมีไม่มากเท่าไหร่ เพราะการค้าระหว่างเงินบาทและเงินหยวนถือว่าเป็นเรื่องปลายแถว ซึ่งต้นแถวคือเรื่องเงินหยวนกับโลกว่าจะไปในทิศทางใด

"ต้องดูต่อไป ว่าหยวนอยากจะมีบทบาทในโลกของการเงินมากน้อยแค่ไหน โดยจีนจะยกระดับถึงขนาดที่เป็นสมาชิกระดับบนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ไปเลยหรือไม่ หากจีนต้องการให้หยวนเป็นสกุลเงินหลักก็ต้องเปิดเสรีตลาดเงินมากขึ้น ในปัจจุบันความพร้อมของการใช้เงินหยวนในการทำการค้ายังอยู่ในระดับวิชาการ แต่จะใช้จริงหรือไม่ก็ต้องดูว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร โจทย์ใหญ่ในเรื่องนี้คือจีนกับโลกว่าจีนมั่นใจแค่ไหนว่าจะคุมได้เมื่อเปิด เสรี เพราะสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือจะคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ เหมือนที่ไทยเคยทำเมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา เมื่อคุมสถานการณ์ไม่ได้ก็วุ่นวาย แล้วก็พัง"

ด้านบทบาททางการค้าระหว่างประเทศไทยและจีนต้องมองว่าเป็น ทั้งพันธมิตรคู่ค้าและคู่แข่ง ที่มีอำนาจมาก สินค้าของประเทศจีนมีพลังมากขึ้นในปัจจุบัน ราคาต่ำมีคุณสมบัติครบถ้วน ทุกคนก็อยากจะใช้หากไม่มองถึงว่าจะมีสิ่งปลอมปนหรือไม่ เพราะราคาถูกใช้งานได้เหมือนของแพงจากพวกฝรั่ง ซึ่งก็เป็นคู่แข่งที่น่ากลัว โดยยุทธศาสตร์ของภาคการเงินเองก็คือการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อจะได้ สามารถช่วยลูกค้าให้สามารถสู่ประเทศจีนได้ตามหน้าที่ของภาคการเงิน แต่ภาคธุรกิจก็ต้องศึกษาตัวเองแล้วว่า ในเมื่อโลกฝรั่งที่เคยค้าขายฟีบไปข้างหนึ่งแล้วก็ต้องกันมาค้าขายกับประเทศ จีนด้วยก็ต้องมีการเรียนรู้เรื่องประเทศจีน เพราะโลกถูกกำกับด้วยฝรั่งและจีนก็ต้องว่ากันไป

"ภาคธนาคารเองได้ เริ่มตื่นตัวในเรื่องการทำธุรกิจระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนมาประมาณ 2 ปีแล้ว เพราะเริ่มเห็นกระแสของการเงินทุนจากประเทศจีนแล้วว่าจะมีบทบาทมากขึ้น และพยายามปรับตัวรองรับกระแสของจีน ทั้งนี้สิ่งที่น่าห่วงเมื่อการค้าไทย-จีนมีมากขึ้นคือ ผู้ประกอบการไทยจะสามารถสู้กับเขาได้หรือไม่ ซึ่งก็เป็นโจทย์คู่ประเทศมาตลอดอยู่แล้ว"

สำหรับประเทศไทยใน 2-3 ปีที่ผ่านมา มีกระบวนการที่จะส่งเสริมการใช้เงินหยวนในการทำการค้าระหว่างไทยและจีน โดยล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็สร้างทีมงานในการศึกษาและสนับสนุนการใช้เงินหยวน โดยมี ธนาคาร 3 แห่งที่เข้าไปมีส่วนร่วม คือธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด แต่ก็ยังไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นจริง เนื่องจากยังมีข้อจำกัดอยู่ว่าในการทำธุรกรรมการค้าเงินหยวนจะต้องมีธุรกรรม รองรับจริงด้วย ขณะเดียวกันก่อนหน้านั้นก็มีการลงนามร่วมกันระหว่าง ธปท.และธนาคารกลางของประเทศจีนในการแลกเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างกัน แต่ก็เหมือนเป็นการลงนามเท่ๆ

ทั้งนี้ แม้ว่าเงินหยวนจะยังไม่มีบทบาทที่สำคัญในการค้าระดับโลก แต่ก็อย่ามองข้ามเงินหยวน ระหว่างนี้ก็ใช้เงินสกุลหลักไปก่อน แต่ก็ต้องรับรู้ไว้ว่าเงินหยวนอยู่ตรงไหนของโลกเพราะเราไม่รู้อนาคตว่าจะโลก จะเปลี่ยนไปอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ทิศทางค่าเงินหยวนหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลจีนที่จะ มีนโยบายในการบริหารจัดการอย่างไร ซึ่งการกำหนดนโยบายของทุกรัฐบาลรวมทั้งรัฐบาลไทยด้วยนั้น ก็ไม่มีถูกไม่มีผิดไม่มีขาวหรือดำ เพราะต้องขึ้นอยู่กับการทิ้งน้ำหนักว่าจะให้น้ำหนักด้านไหนมากกว่า ประเมินว่าผลดีมีเท่าไหร่ผลเสียมีเท่าไหร่ การถกเรื่องเศรษฐกิจก็ถกกันได้ทั้งนั้น คนที่ค้านก็เอาแต่ส่วนเสียมาพูด คนทำก็เอาเฉพาะส่วนที่ดีมาพูด


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : บัณฑูร ล่ำซำ ติวเข้ม กลยุทธ์ บาท-หยวน

view