สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คิดอย่างมีตรรกะ (3)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คนเดินตรอก

โดย วีรพงษ์ รามางกูร

ใน ครั้งก่อน (คิดอย่างมีตรรกะ (2)) ได้เล่าถึงกำเนิดของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคที่มีพื้นฐานมาจากจริยธรรม ที่ว่าจะทำอย่างไรถึงจะขจัดความยากจน ความอดอยากของประชาชนส่วนใหญ่ได้ นักเศรษฐศาสตร์รุ่นปลายกรุงศรีอยุธยา หรือช่วงรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช มีความเห็นตรงกันว่า ถ้ารัฐจะขจัดความยากจน อดอยากได้ รัฐจะต้องมั่งคั่ง ร่ำรวยเสียก่อน แล้วรัฐก็จะมีเงินทองทรัพย์สมบัติมาแบ่งปันให้กับคนยากจนได้จึงได้เกิดมี หนังสือเรื่อง "ความมั่งคั่ง

ของชาติ" หรือ "The Wealth of Nations" ของ อดัม สมิท ผู้เสนอให้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี มีการแข่งขันให้มากที่สุด กลไกตลาดก็จะทำงาน เพื่อให้การใช้ทรัพยากรของชาติที่มีอยู่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะจะเกิดการแบ่งงานกันทำ "division of labor" เกิดการค้าระหว่างประเทศ และการสะสมทุน


ต่อมา เดวิด ริคาร์โด เขียนหนังสือเรื่อง "หลักเศรษฐศาสตร์การเมืองและภาษีอากร" หรือ "Principle of Political Economy and Taxation" อธิบาย

เพิ่มเติมจากอดัม สมิท โดยบอกว่าผลผลิตที่เกิดขึ้นจะถูกแจกจ่ายไปในรูปค่าแรง ค่าเช่า ดอกเบี้ยและเงินปันผลการที่ผลผลิตรวมถูกแจกจ่ายเป็น

ค่าตอบแทนไปให้ เจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด กล่าวคือค่าจ้างหรือค่าแรงเป็นค่าตอบแทนต่อเจ้าของแรงงาน ค่าเช่าเป็นค่าตอบแทนของเจ้าของที่ดิน ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนต่อเจ้าของเงินทุนหรือ

เงินกู้ เงินปันผลเป็นค่าตอบแทนต่อเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น เมื่อรวมค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่า ดอกเบี้ยและเงินปันผล แล้วก็จะต้องเท่ากับผลผลิตนั่นเอง

เซย์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ร่วมสมัยกับ ริคาร์โด ได้นำเอาข้อเท็จจริงอันนี้ไปสรุปต่อว่า ความต้องการซื้อสินค้าจะต้องเท่ากับปริมาณสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องการขาย เพราะรายได้จากการขายสินค้าที่ผลิตทั้งหมดย่อมก่อให้เกิดรายได้ในรูปต่าง ๆ ดังกล่าว รายได้ดังกล่าวย่อมส่งผลให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าดังกล่าว จนเกิดเป็น กฎของเซย์ ที่ว่า "อุปทานสร้างอุปสงค์ด้วยตัวของมันเอง" หรือ "supply creates its own demand" ผลิตมาเท่าไหร่ ย่อมมีคนซื้อเท่านั้น เพราะการผลิตเป็นการสร้างกำลังซื้อ

ยิ่งผลิตมากเท่าไหร่ รายได้คนก็ยิ่งมาก ความต้องการซื้อสินค้าก็ยิ่งมาก เศรษฐกิจจึงอยู่ในระดับที่ทำงานเต็มที่เสมอ

ถ้า ทุกอย่างเป็นไปอย่างเสรี การว่างงานจะเกิดขึ้นไม่ได้ เซย์กับริคาร์โดมีความเห็นเหมือนกัน จึงกล่าวได้ว่า อดัม สมิทเป็นผู้ก่อตั้งวิชาเศรษฐศาสตร์ ริคาร์โดและเซย์เป็นเสาหลักของเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม หรือ "Classical Economic Thought"

ความคิดของ 3 ท่าน คือ อดัม สมิท ริคาร์โด และเซย์ ได้แพร่สะพัดไปทั่วยุโรป อันเป็นช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 หรือช่วงต้นรัตนโกสินทร์

ประมาณ 100 กว่าปีต่อมา เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีคนว่างงาน สินค้าขายไม่ออก ของเหลือ มีการปิดโรงงาน ปลดคนงาน เกิดความสงสัยว่าทำไมสินค้าล้นตลาด กฎของเซย์และริคาร์โดไม่เป็นจริงแล้วหรือ
ผู้ที่มีความเห็นว่าความต้องการซื้อ

ไม่ จำเป็นต้องเท่ากับความต้องการขายเสมอไป เพราะสินค้าที่ผลิตขึ้นมาอาจขายไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่าเพราะอะไร เพียงแต่บอกว่า ความต้องการซื้อที่ซื้อได้ หรือ effective demand อาจจะต่ำกว่าปริมาณสินค้าที่ต้องการขาย effective supply ก็ได้ สินค้าขายไม่ออก แต่ไม่ได้อธิบายว่าเพราะอะไร effective demand จึงอาจจะต่ำกว่า

effective supply ความจริงคำว่า effective demand ของมัลธัส กับคำว่า demand ของอดัม สมิธ ริคาร์โด และเซย์ มีความหมายเหมือนกัน คือความต้องการซื้อที่มีกำลังซื้อได้จริง ๆ ไม่ใช่ความต้องการเฉย ๆ ที่ไม่มีกำลังซื้อ

อีกเรื่องที่มัลธัสบอกก็ คือ ประชากรของโลกเพิ่มเร็วกว่าการเพิ่มของการผลิตอาหาร ดังนั้นความอดอยาก หิวโหย เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมัลธัสนึกไม่ถึงว่า วิทยาการการผลิต หรือ "technology" ที่ ซูม ปีเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์เยอรมัน

เน้น นักหนาว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชาติมั่งคั่งได้ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ผลิตสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งอาหารได้มากขึ้น โดยใช้ที่ดินและแรงงานเท่าเดิม หรืออาจจะน้อยลงกว่าเดิม แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น ปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นได้ก็โดยการใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน

ในขณะ ที่นักเศรษฐศาสตร์สำนักเสรีนิยมทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส กำลังสนุกสนานว่าจะทำให้ชาติมั่งคั่งได้อย่างไร แต่ก็ลืมคิดต่อไปว่าเมื่อชาติมั่งคั่งแล้ว จะมีวิธีแจกจ่ายผลประโยชน์ที่เกิดจากการผลิตอย่างไร นอกจากหลักภาษีที่ดีของริคาร์โดที่ว่า ภาษีควรเก็บตามความสามารถของผู้รับภาระภาษี หรือหลัก ability of pay อัตราภาษีควรจะก้าวหน้าด้วย คือคนรวยมากไม่ใช่จะต้องเสียภาษีมากเท่านั้น ควรเสียในอัตราที่สูงกว่าผู้มีรายได้น้อยกว่าด้วย เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม หรือหลัก equity นอกจากข้อเสนอของริคาร์โด ในเรื่องใช้ภาษีเป็นเครื่องมือที่สร้างความเท่าเทียมกันแล้ว ก็ไม่มีความคิดอย่างอื่น

จนต่อมา คาร์ล มาร์กซ์ พยายามอธิบายว่า กลไกตลาดและการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือที่จะสร้างความเท่าเทียมกันนั้นเป็นไป ไม่ได้ เพราะแรงงานมีมากกว่าที่ดินและทุน เมื่อใดค่าแรงที่แท้จริงหรือค่าแรงที่เป็นตัวเงินปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อสูง ขึ้น ชนชั้นแรงงานก็มีลูกมากขึ้น มีแรงงานเข้ามาในตลาดมากขึ้น ค่าแรงที่แท้จริงก็จะต่ำลงมาอยู่ที่ระดับประทังชีวิตได้เท่านั้น กฎนี้เรียกว่า "กฎเหล็กแห่งค่าจ้าง" หรือ "iron laws of wages" ถ้าค่าแรงที่แท้จริงต่ำกว่าระดับประทังชีวิต ก็จะเกิดความอดอยากล้มตาย แรงงานลดลง ในที่สุดก็ไปอยู่ที่ระดับพอประทังชีวิตได้ ส่วนที่แรงงานสามารถผลิตได้เกินสิ่งที่ตนได้รับตอบแทนในรูปค่าจ้าง มาร์กซ์เรียกว่า "แรงงานส่วนเกิน" หรือ "labor surplus of value" ส่วนนี้เป็นส่วนที่นายทุนสูบเลือดจากชนชั้นกรรมาชีพไป ยิ่งเศรษฐกิจเจริญขึ้น นายทุนและเจ้าของที่ดินก็จะรวยขึ้น ส่วนกรรมกรและชาวนาไร้ที่ทำกินก็จะยิ่งจนลง ทนไม่ไหวแล้วก็

ลุกขึ้นปฏิวัติล้มล้างระบบทุนนิยมเสรี และสถาปนารัฐสังคมนิยมที่ปัจจัยการผลิตทั้งหมดเป็นของส่วนรวมไม่ใช่ของส่วนตัว

แรงงานก็จะได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรม ผลตอบแทนของทุนและที่ดินก็จะกลับมาเป็นของส่วนรวม คนก็จะมีกำลังใจผลิต
มีลูกมากขึ้นเพราะรายได้ดีขึ้น เศรษฐกิจก็จะเจริญอย่างรวดเร็ว

เล นินเป็นผู้นำไปใช้หลังการปฏิวัติใหญ่ในรัสเซีย แล้วแพร่ขยายไปยังยุโรปตะวันออกไปคิวบา จีน เวียดนาม เขมร ลาว และเกือบจะมาไทย แต่ในที่สุดก็พิสูจน์ได้ว่าไม่จริง เพราะผู้คนไม่มีมูลเหตุจูงใจให้ผลิต "economic motive" ประเทศสังคมนิยมจึงล้าหลัง ยากจน ไม่ร่ำรวยขึ้นอย่างที่คิด ในที่สุดระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ก็ล่มสลายไปในที่สุด

กลับ มาทางด้านนักคิดทางค่ายเสรีนิยม ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ หรือ "perfect competition market" จะนำไปสู่การแข่งขันที่บริสุทธิ์ หรือ "pure competition" ตามอุดมคติก็ไม่เป็นความจริง การแข่งขันกลับทำให้เกิดการล้มหายตายจากของผู้ผลิตบางคนบางกลุ่ม และหรือบางกลุ่มที่มีทุนมากกว่า ตลาดจึงพัฒนาไปสู่ระบบ "ทุนนิยม" หรือ "capitalism" ที่ทุนผูกขาดด้วยคนจำนวนน้อย

ที่คำทำนายของคาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน ไม่เกิดเป็นความจริง ก็เพราะเกิดการรวมตัวกันของแรงงาน ก่อตั้งสหภาพแรงงานขึ้นต่อรองกับนายทุน เกิดรัฐสวัสดิการ welfare states โดยเก็บภาษีในอัตราที่ก้าวหน้าอย่างมาก เพื่อนำมาจัดสวัสดิการและขณะเดียวกันหลังจากที่เสียภาษีแล้ว รายได้คนเท่าเทียมกันมากขึ้น การขูดรีดจึงทำได้ไม่มาก ขณะเดียวกันรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องเอาใจเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือกรรมกร ชาวนา ก็ขูดรีดเจ้าที่ดินและนายทุนเอามาจัดสวัสดิการและแจกจ่ายให้กรรมกรเสียเอง การลุกฮือขึ้นปฏิวัติล้มล้างระบบทุนนิยมจึงไม่เกิดขึ้น

ทั่วโลก เกิดขึ้นเท่าที่เกิดเท่านั้น คือที่รัสเซีย ยุโรปตะวันออก ส่วนจีน เวียดนามเหนือซึ่งต่อมาเกิดจากการปลุกระดมของพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมหรือการครอบงำของมหาอำนาจอเมริกาเป็นส่วนใหญ่

หลัง จากปี 1975 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของมาร์กซ์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว หลังจากสหภาพสังคมนิยมโซเวียตล่มสลายไป เพราะล้มละลายจากการลงทุนแข่งขันกับอเมริกาในเรื่องสงครามอวกาศ หรือ "star war" ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทางค่ายนี้ก็ล้มเลิกไป ไม่มีใครพูดถึงอีกเลย ทุกวันนี้พรรคคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ก็ด้วยกำลังทหารและเป็นเพียงสัญลักษณ์ เท่านั้น ประเทศเหล่านี้จึงเป็นประเทศที่ปกครองด้วยพรรคเดียว เช่นเดียวกับ สิงคโปร์ มาเลเซีย อียิปต์ เท่านั้นเอง

ยังจะมีเล่าต่อไปจนถึงปัจจุบัน แต่พักไว้ก่อน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คิดอย่างมีตรรกะ (3)

view