สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผ่ามาตรการฉีดยาแรงภาครัฐ ทางเลือก-ทางรอด SMEs อยู่ที่ไหน

จากประชาชาติธุรกิจ

ในที่สุดเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ กลายเป็นเรื่องโอละพ่อจนได้ ทั้ง ๆที่ภาครัฐได้ออกมาตรการเยียวยามาก่อน เมื่อคราวปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

ใน 7 จังหวัดนำร่อง เมื่อเดือนเมษายน 2555ตามมาด้วยอีก 11 มาตรการต่อเนื่องในปี 2556

ล่าสุดภาครัฐออกอีก 5 มาตรการย่อยสำหรับช่วยเหลือภาคธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะ

แต่ กระนั้นก็ไม่ได้ทำให้ผู้ประกอบการพอใจเท่าไหร่นัก เพราะล่าสุดประธานอุตสาหกรรม 5 ภาค อันประกอบด้วยอุตสาหกรรมภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคใต้, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีมติในที่ประชุมเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยเหลืออีก 7 มาตรการคือ

1.ตั้ง กองทุนจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นให้ผู้ประกอบการ โดยปี 2556 นายจ้างจ่าย 25% รัฐบาลจ่าย 75%, ปี 2557 นายจ้างจ่าย 50% รัฐบาลจ่าย 50% และปี 2558 นายจ้างจ่าย 75% รัฐบาลจ่าย 25%

จากนั้นตั้งแต่ปี 2559 นายจ้างถึงจะจ่าย 100%

2.ลดอัตราเงินสมทบทุนกองทุนประกันสังคมของฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ้าง โดยลดอัตราเงินสมทบจากเดิมฝ่ายละ 5% ของค่าจ้างเหลือ 3%

3.ขอผ่อนผันการส่งเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนคงเหลือ 0.01% เป็นเวลา 3 ปี (2556-2559)

4.การ จัดหาคนพิการที่เข้าทำงานในสถานประกอบการขอให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือกระทรวงแรงงาน โดยให้สอดคล้องกับกิจการของสถานประกอบการ หากหาไม่ได้ต้องยกเว้นการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน

5.ลดภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการเหมาช่วงผลิต และรับจ้างผลิต (ทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการ) จาก 3% เหลือ 1%

6.ขอให้ตั้งกองทุนสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับ

ผล กระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยอัตราผ่อนปรน และใช้หลักเกณฑ์พิเศษในการอนุมัติสินเชื่อเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าสินเชื่อ โดยง่าย

7.ค้ำประกันสินเชื่อโดยบริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาด ย่อม (บสย.) โดยมีวงเงินค้ำประกันรวม 24,000 ล้านบาท พร้อมยกเว้นค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี

ถามจริงถ้าป็นรัฐบาลจะยอมรับทุกข้อเรียกร้องจากสภาอุตสาหกรรมทั้ง 5 ภาคหรือไม่ ?

คำตอบง่าย ๆ คือ...ไม่

เพราะ บางมาตรการภาครัฐได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการครอบคลุมอยู่แล้ว แตกต่างแค่รายละเอียด (ดูจากตาราง) ยิ่งเฉพาะข้อเรียกร้องแรกในเรื่องการตั้งกองทุนจ่ายชดเชยค่า

ส่วน ต่างที่เพิ่มขึ้นให้ผู้ประกอบการ ยิ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐทำไม่ได้แน่นอนแต่ที่สุดผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 8 มกราคม 2556 ผ่านมา ภาครัฐคงยอมอ่อนข้อบ้าง แต่คงไม่เสียจริตที่จะยอมทุกมาตรการ

ถึงกระนั้น ในความเป็นจริง การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท นับจากเดือนเมษายน 2555-1 มกราคม 2556 เป็นต้นมา
ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการจริง

ยิ่ง เฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่ในจังหวัดที่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 159-165 บาท เพราะผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำสูงมากกว่า 40%

และ จังหวัดเหล่านี้ อาทิ ชัยภูมิ, มุกดาหาร, หนองบัวลำภู, มหาสารคาม, แม่ฮ่องสอน, อำนาจเจริญ, สุรินทร์, น่าน, ศรีสะเกษ และพะเยา ไม่ได้มีแหล่งอุตสาหกรรมเท่าไหร่นักส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SMEs

ฉะนั้น เมื่อปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ถูกบังคับใช้ทั่วประเทศ จึงทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต่างแบกรับต้นทุนไปโดยปริยาย และหลายรายทำท่าจะปิดกิจการในเร็ววันนี้

คำถามจึงเกิดขึ้นว่า สิ่งที่ "เผดิมชัย สะสมทรัพย์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ทั่วประเทศ จะทำให้เกิดปรากฏการณ์แรงงานอพยพกลับถิ่นฐาน จึงเป็นคำพูดที่พาฝันอย่างยิ่ง

เพราะในความเป็นจริง ไม่มีแรงงานคนไหนอยากกลับบ้าน ถ้าไม่มีงานทำ หรือไม่มีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวอย่างสุขสบาย

ขณะ ที่คำพูดของ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ให้สัมภาษณ์ว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ จะทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจดีขึ้น ก็อาจจะเป็นจริง แต่คงไม่เป็นจริงทั้งหมด เพราะหากผู้ประกอบการปิดโรงงาน จำนวนแรงงานต้องตกงานแล้วจะมีเงินที่ไหนมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

ตรงนี้เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบอย่างยิ่ง !

แต่ กระนั้น เมื่อหันมาโฟกัสในแต่ละมาตรการภาครัฐ ทั้งในส่วนของ 11 มาตรการเพิ่ม และ 5 มาตรการใหม่สำหรับช่วยเหลือธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะ ก็จะพบกับคำตอบที่น่าสนใจว่า แต่ละมาตรการที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการต่างมีจุดอ่อน และจุดแข็งแตกต่างกัน

โดย เรื่องนี้ "อาจารย์ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์" นักวิชาการอิสระทางด้านแรงงาน ฉายภาพว่า เมื่อมาดูแต่ละมาตรการจะพบว่าบางมาตรการรายละเอียดไม่ชัดว่าภาครัฐจะช่วย เหลืออย่างไร

"อย่างมาตรการเรื่องการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกัน สังคมของฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ้างเหลือฝ่ายร้อยละ 3 ในมุมมองส่วนตัวผมมองว่าเป็นมาตรการที่ดีนะ แต่ถามว่าช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ผมมองว่าได้แค่บางส่วน แต่ไม่มากนัก"

"ส่วนมาตรการการนำส่วนต่างของ ค่าจ้างที่จ่ายเพิ่มขึ้นจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2555 มาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีได้ 2 เท่า และมาตรการการนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาหักลดหย่อนภาษีได้ เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ซึ่งผมมองว่าจริง ๆ แล้วธุรกิจ SMEs ฝึกอบรมน้อยมาก ทางแก้คือจะต้องเปลี่ยน my set ของเจ้าของสถานประกอบการ เพื่อให้เห็นความสำคัญต่อการฝึกอบรม ถึงจะทำให้มาตรการนี้แก้ปัญหาถูกจุด"

"แต่โดยรวมผมมองว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้หนักเอาการอยู่ และถ้ารวมค่าล่วงเวลาเข้าไปด้วย ก็จะเป็นต้นทุนของ

ผู้ประกอบการมากขึ้นอีก จึงอยากให้รัฐบาลรีบหาทางเยียวยาโดย เร็ว เพราะไม่เช่นนั้นจะมีโรงงานทยอยปิดกิจการเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ เชื่อว่าตลอดระยะเวลา 1 ปีที่มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศครั้งนี้น่าจะมีปรากฏการณ์เกี่ยวกับวิกฤตแรงงานแน่"

"เพราะ รัฐบาลให้ยาแรงเกินไป ถามว่าขึ้นค่าแรงดีไหม ดี แต่รัฐบาลให้ยาแรงเกิน จนทำให้ผู้ประกอบการ SMEs อยู่ลำบาก แม้รัฐบาลจะให้โอกาสธุรกิจ SMEs ด้วยการขยายฐานการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 15% สำหรับธุรกิจ SMEs ที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท จากเดิมที่จะได้รับยกเว้นกรณีที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 150,000 บาท"

"ส่วน SMEs ที่มีกำไรสุทธิเกิน 300,000-1 ล้านบาท จะคิดในอัตรา 15% และผู้ประกอบการที่มีกำไรสุทธิเกิน 1 ล้านบาท จะคิดในอัตรา 20%"

นอก จากนั้น "อาจารย์ธำรงศักดิ์" ยังวิเคราะห์ให้เห็นถึงแนวทางการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศครั้งนี้ว่า จริง ๆ แล้วรัฐบาลควรจะปรับแบบขั้นบันไดคือครั้งละ 25% ก่อน ไม่ใช่ปรับครั้งเดียว 40% เลย จึงทำให้เกิดปัญหาเพราะในความเป็นจริงของหลายประเทศทั่วโลก การปรับค่าจ้างแต่ละครั้ง ไม่เพียงดูเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

หาก เขายังดูเรื่องภาวะเงินเฟ้อ ดูประเภทของแต่ละธุรกิจรวมถึงการดูพื้นที่ของแต่ละธุรกิจด้วยว่ามีการเติบโต ทางเศรษฐกิจต่อการปรับค่าจ้างหรือไม่

แต่สำหรับประเทศไทย คงทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการเฝ้ารอดูว่าสภาอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะออกมาโวยวายอะไรอีก เพราะท้ายที่สุดของการแก้ปัญหาค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศคงแก้ไขอะไรไม่ได้อีกแล้วยกเว้นเสียแต่ภาครัฐจะเข้าไปช่วย เหลือในมาตรการด้านต่าง ๆ เท่านั้นเอง

ฉะนั้นตลอดปี 2556 เรามาช่วยกันเฝ้าดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นอีกกับนโยบายประชานิยมต่อการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
ทั่วประเทศครั้งนี้

โปรดจงติดตามด้วยใจระทึกพลัน !


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ผ่ามาตรการ ฉีดยาแรง ภาครัฐ ทางเลือก ทางรอด SMEs อยู่ที่ไหน

view