สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

SMEs สิ่งทอ...คิดอีกที ลดต้นทุน ทำหรือยัง

จากประชาชาติธุรกิจ

ทางออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกลุ่มที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก และได้รับผลกระทบจากค่าแรงสามร้อยบาทแรงที่สุด แม้จะมีสัญญาณมาหนึ่งปี แต่

ผลกระทบก็ยังมีต่อเนื่อง ประชาชาติธุรกิจ นิวบิซ สัมภาษณ์ที่ปรึกษาจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับรางวัลที่ปรึกษาดีเด่นเมื่อปีที่ผ่านมา ถึงการช่วยผู้ประกอบการในกลุ่มของอุตสาหกรรมสิ่งทอไว้ดังนี้

เป็นการสะกิดเตือนผู้ประกอบการที่อยู่ในระหว่างมึนในเวลานี้ สิ่งทอ ใช้คนคุ้มหรือยัง

นายกฤษณพงศ์ ลายอักษร ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมจากสมาคมเครือข่ายบริการวิศวกร มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาโรงงานกว่าสิบราย แนะนำจากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า ปัญหาค่าแรงขึ้นสามร้อยบาทที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการจะต้องหันมาใช้แรงงานที่มีให้คุ้ม แต่บางคนไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ปัญหาที่พบก็คือ ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ผู้ประกอบการจะใช้แรงงานในการควบคุมเครื่องจักร เช่น การเปิด-ปิดหนึ่งตัวต่อหนึ่งคน ตรงนี้อาจจะใช้คนหนึ่งคนดูเครื่องจักรสามเครื่อง ส่วนแรงงานอีกสองคนให้สลับเป็นกะแทนโดยเฉพาะกะดึก จะมีค่าไฟถูกกว่าช่วงกลางวัน

ประการต่อมา การเปลี่ยนไลน์การผลิต การตั้งเครื่องจักรมีระยะเวลาในการปรับไม่ต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมง ทำอย่างไรให้การเปลี่ยนเครื่องจักรมีระยะเวลาที่สั้นขึ้น ก็อาจจะช่วยให้การผลิตสามารถผลิตได้มากขึ้น การลดระยะเวลาในการทำงานต่อชิ้นงานจากสิบนาทีเหลือแปดนาที จะผลิตงานได้เพิ่มมากขึ้น

และสุดท้ายคือ การอบรมให้พนักงานที่ดูแลเครื่องจักรรู้เรื่องการบำรุงเครื่อง เพราะปัญหาคือ เครื่องจักรในโรงงานประเภทนี้มักจะเดินตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงไม่มีวันหยุด เครื่องไหนที่เสียก็จะต้องรอช่าง ซึ่งใช้เวลานับอาทิตย์ การให้ความรู้ในการที่จะซ่อมบำรุงเครื่องจักรจะช่วยให้เครื่องจักรเดินต่อเนื่องอีกด้วย

ผู้ประกอบการได้เริ่มหรือยัง และเริ่มถูกต้องตรงจุดหรือไม่ เครื่องจักร วัตถุดิบ ปัญหา


สิ่งที่เป็นปัญหาชัดเจนก็คือ ในอุตสาห กรรมนี้มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีราวพันกว่าราย แต่เครื่องจักรเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาการพัฒนาสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรมนี้น้อยมาก โดยเฉพาะเครื่องจักรสำหรับเอสเอ็มอีมักเป็นเครื่องจักรเก่าและบ้านเราไม่มีการผลิต หรือคิดเครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติขึ้นมาเพื่อรองรับในอุตสาหกรรมนี้ แม้จะมีดีมานด์ แต่ก็ไม่ได้ตอบสนองกับการแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ในขณะที่ต้นทุนเรื่องวัตถุดิบ มีราคาแพง อุตสาหกรรมสิ่งทอต่างจากอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถที่จะใช้โรงงานเดียวกันในการผลิตชิ้นส่วนจากต่างบริษัทได้ในลักษณะคู่ค้าแทนคู่แข่ง ขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้ประกอบการไม่ได้มองเป็นพันธมิตรกันแต่มองเป็นคู่แข่งกัน ตรงนี้เองที่ทำให้ต่างคนต่างซื้อ

ซึ่งหากผู้ประกอบการร่วมกันได้ในการสั่งซื้อวัตถุดิบก็จะช่วยให้เกิดอำนาจต่อรอง และต้นทุนในเรื่องวัตถุดิบมีราคาต่ำลง

กสอ.ย้ำอีกสามเดือนเห็นผล

นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้รับหน้าที่ดูแลเรื่องเอสเอ็มอีในภาคการผลิต กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาไว้ดังนี้ ก็คือ ตอนนี้กรมอยู่ในระหว่างการปรึกษาร่วมกันกับกลุ่มคลัสเตอร์ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งพบว่าปัญหาหลักที่ภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมมองก็คือ ต้องการหาตลาดเพื่อระบายสต๊อก เพราะสินค้าที่ผลิตออกมาไม่มีที่ขาย ทางกรมเองอยู่ในระหว่างการให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดปรับแผนปฏิบัติการจากเดิม คือ เน้นการอบรมให้หันมาเน้นเรื่องการหาตลาด แก้ปัญหาสินค้าล้นสต๊อกให้กับผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ เช่น การหาสถานที่ขาย จัดงานแสดงสินค้าตามแนวตะเข็บชายแดนเพื่อระบายสินค้า เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่า หากมีตลาดปลายทางเดินได้ ต้นน้ำก็ไม่มีปัญหา

กิจกรรมดังกล่าวเป็นแนวทางของกรมในกรอบที่สามารถทำได้เลย โดยไม่ผ่าน ครม. ซึ่งคาดว่าภายในสามเดือนจะเห็นผลแน่นอน ขณะที่แผนในการช่วยเอสเอ็มอีในภาพรวมต้องรอให้กระทรวงเป็นผู้กลั่นกรองและผ่าน ครม. ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่



สสว.แนะผลกระทบ โอกาสอุตสาหกรรมสิ่งทอ




สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. จัดทำโครงการศึกษาผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้ประกอบการ SMEs ในสาขาที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย โดยประชาชาติธุรกิจ นิวบิซ สรุปบางส่วน เช่นผลกระทบที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอมานำเสนอ

ทั้งนี้ข้อเสนอแนะที่ภาครัฐควรนำไปใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาสิ่งทอในขณะนี้

คือ 1.หาเครือข่ายการทำธุรกิจด้านเส้นใยและเส้นด้ายในอินโดนีเซีย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการไทย 2.รัฐควรสนับสนุนโครงการ ASEAN Competitiveness Enhancement (ACE) และโครงการ Source ASEAN Full Service Alliance (SAFSA) 3.ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านสิ่งทอ เน้นที่การสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 4.ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุนไปยังลาว เวียดนาม และกัมพูชา

สำหรับข้อเสนอแนะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยนั้น 1.ควรปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น ใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ซึ่งมีแรงงานเป็นจำนวนมาก และใช้เป็นฐานการส่งออกไปนอกอาเซียน 2.สร้างมูลค่าเพิ่มและเน้นการสร้างตราสินค้า ขยายตลาดส่งออกมากขึ้น 3.ผลักดันการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต้นน้ำจนถึงการส่งออก เพื่อลดการแข่งขัน เพิ่มเงินทุน และเพิ่มกำลังการผลิต

4.สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : SMEs สิ่งทอ คิดอีกที ลดต้นทุน ทำหรือยัง

view