สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พลิกแผนกู้เศรษฐกิจรัฐบาลมาเลเซีย เผยสูตรลับที่ชื่อ อีทีพี (ETP)

จากประชาชาติธุรกิจ

โดย สันติธาร เสถียรไทย

santitarn.sathirathai@gmail.com

เมื่อต้นปีผมต้องเดินทางไปพบนักธุรกิจและนักลงทุนในกรุงกัวลาลัมเปอร์

ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ดูแลเศรษฐกิจมาเลเซียของธนาคารเครดิตสวิส

ผมจำได้ว่าไม่ว่าใครก็จะคอยบอกว่า รัฐบาลมาเลเซียในอดีตนั้นมีชื่อเสียง

ในเรื่องการมียุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจที่ "ยอดเยี่ยม" แต่ปฏิบัติจริงได้ "ยอดแย่" ซึ่งผมรู้สึกว่าปัญหานี้ฟังแล้วคุ้นหูมาก

จาก ประสบการณ์ที่เคยดูแลศึกษานโยบายเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (หรือแม้แต่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเองก็เถอะ !) ที่น่าติดใจมากกว่าคือ การที่คนส่วนมากที่ผมพบใช้คำว่า "อดีต" แลดูเหมือนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นพอสมควรในช่วงสองปีที่ผ่าน มา ที่ทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนหลายท่านเริ่มยอมรับกัน

พอสมควรว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี

นาจิบนั้นมีการปรับปรุงตัว และพัฒนาจนเริ่ม

ที่จะสามารถนำแผนเศรษฐกิจที่วางไว้อย่างสวยหรูมาปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง

เมื่อ หันไปดูตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคถึงได้สังเกตว่า รัฐบาลนี้ต้องมีสูตรลับบางอย่างเมื่อไม่นานมานี้แน่ ๆ เพราะอยู่ดี ๆ การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนก็เติบโตอย่างก้าวกระโดด (เกิน 20% จากปีก่อนใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2555) ทั้ง ๆ ที่การ

ส่งออกไม่ได้ดีนัก เพราะวิกฤตยุโรป และราคาสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญอย่างน้ำมันปาล์มและยางก็ย่ำแย่ จนทำให้มาเลเซียที่ปกติพึ่งการส่งออกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์

ยิ่งกว่าไทยกลายเป็นเศรษฐกิจที่โตได้ 5% ง่าย ๆ ในยามที่ภาวะเศรษฐกิจโลกไม่อำนวย

ทั้งนี้การลงทุนของภาคเอกชนที่มาแรงนั้น มิใช่เกิดจากการใช้นโยบายกระตุ้น

ระยะสั้นชั่วคราว แต่สอดคล้องกับการปรับตัว

ที่ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระยะยาวหลายข้อ เช่น กฎ กติกา และขั้นตอนการตั้งธุรกิจใหม่ที่กระชับและมีประสิทธิภาพขึ้น สอดคล้องกับที่ธนาคารโลก (World Bank) เมื่อไม่นานมานี้ได้เพิ่มอันดับ ความน่าทำธุรกิจ (Doing Business Ranking) ในปีนี้ ให้มาเลเซียขึ้นไปอยู่ลำดับที่ 12 จากเกือบ 200 ประเทศ (ขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 18) กระโดดขึ้นเกือบ 20 ตำแหน่ง ใน 2 ปี

ด้วย ความสงสัยปนไม่เชื่อน้ำมนต์ ผมกับทีมจึงลงพื้นที่เจาะลึก ดูว่าสูตรลับของรัฐบาลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร จึงพบว่ารัฐบาลเขามีนโยบายที่น่าสนใจจริง ๆ

โดยเคล็ดลับความสำเร็จนี้คือตัวอักษรย่อ 3 ตัว E T P

ETP คืออะไร ?

คือแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่นายกฯ

นา จิบริเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2010 เพื่อตั้งเป้าให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว (ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรจะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีขึ้นไป) ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2020 โดยตั้งหน่วยงานที่ชื่อ Performance Management and Delivery Unit หรือ Pemandu ภายใต้สำนักนายกฯ เพื่อใช้ในการดำเนินการ

แต่ ที่น่าสนใจจริง ๆ ไม่ใช่คำถามว่า "ETP คืออะไร" แต่เป็นว่าเขาดำเนินการ ETP นี้อย่างไร ซึ่งจากการวิเคราะห์ของผมและทีมมองว่า เคล็ดลับความสำเร็จของ "วิชา" นี้มี 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่

1.การนำภาคเอกชนมา "ทำแล็บ" ร่วมหาคำตอบทางนโยบายด้วยกันอย่างจริงจัง

เอกชน 400 กว่าคนจากกว่า 200 บริษัททั้งใหญ่เล็ก รวมถึงยักษ์ใหญ่อย่าง Shell, Exxon-Mobil, Air Asia, PriceWaterhouseCoopers (PWC) ฯลฯ มาจับเข่าระดมสมองกันอย่างเข้มข้นเป็นเวลาสองเดือนเต็ม เพื่อค้นหา 12 ภาคเศรษฐกิจหลักที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ โครงการลงทุนกว่า 100 โครงการ ที่เรียกว่า Entry Point Projects (EPP) และโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจอีก 60 โครงการ ที่ภาคเอกชนต้องการ (เช่น โครงการขุดเจาะน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติ ปลูกปาล์มน้ำมันกับยาง เสริมสร้างความสามารถบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว medical tourism และสปา รวมไปถึงการสร้างทางรถไฟใต้ดินขนาดใหญ่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์)

โดย รัฐบาลเขาตั้งชื่อขั้นตอนนี้แปลก ๆ ว่า "การทำแล็บ" คนที่ผมรู้จักเป็นหนึ่งในนักธุรกิจที่ถูกเรียกตัวเข้าไปเล่าให้ฟังว่า ขั้นตอนนี้มีการวิเคราะห์ลงรายละเอียดแต่ละภาคธุรกิจอย่างเข้มข้นเหมือนทำ แล็บจริง มิใช่ทำเพื่อสร้างภาพหรือพอเป็นพิธี นอกจากนี้ที่อาจจะไม่ได้ประกาศโจ่งแจ้งมาก แต่ผมทราบมาว่าการทำแล็บนี้ยังบังคับให้ภาคธุรกิจบอกด้วยว่า มีกฎ กติกา ระเบียบ หรือนโยบายอะไรของรัฐบาลที่ปัจจุบันเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน เพื่อเป็น "การบ้าน" ให้รัฐบาลได้นำไปแก้ไข ภายใต้

นโยบายที่เรียก ว่า Strategic Reform Initiative (SRI) ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการผลักดันการลงทุนภาคเอกชนให้โตถึง 20% ในช่วงปีที่ผ่านมา

ที่สำคัญคือ วิธีนี้สะท้อนถึงปรัชญาการทำนโยบายแบบใหม่ ที่นักเรียนที่เคนเนดี้ สกูล (Kennedy School) ของมหาวิทยาลัย

ฮาร์วาร์ด (Harvard University) มักจะถูกปลูกฝังซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า นโยบายไม่ใช่แค่เรื่องของรัฐบาล โดยรัฐบาล แต่ต้องนำ

ผู้เกี่ยวข้องหรือ stakeholders มาร่วมด้วยตั้งแต่ต้น ถึงจะทำให้แผนที่สวยงามนำมาปฏิบัติได้จริง

2.การติดตามประเมินผลว่าหน่วยงานต่าง ๆ ทำ "การบ้าน" หรือเปล่า

ผลลัพธ์ ที่ออกมาจากข้อแรก คือ การกำหนดเป้าหมายที่รัฐบาลนั้นต้องทำในแต่ละปีอย่างชัดเจน จากนี้ถึงปี 2020 และแต่ละโครงการจะมี "เจ้าภาพ" ที่เป็นเจ้าของผู้รับผิดชอบชัดเจนว่าต้องทำให้ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้

แน่ นอน การให้การบ้านจะดีเพียงใดย่อมไร้ค่า กลายเป็นเอกสารพิมพ์สีสวยหรูอัญเชิญไว้บนหิ้งที่มีฝุ่นจับ หากไม่มีการติดตามประเมินผลที่ดี

สิ่งที่น่าสนใจคือ การประเมินผลของ ETP นี้มี 2 แบบ คือ แบบแรก-เป็นที่รู้กันดี เพราะรัฐบาลประกาศให้โลกรู้ โดยการให้มีคณะกรรมการประเมินผลประจำปีที่คัดเลือกมาจากผู้เชี่ยวชาญด้าน

ต่าง ๆ และองค์กรชั้นนำทั่วโลก เช่น IMF, World Bank, PWC อดีตประธานที่ปรึกษาประธานาธิบดีเกาหลี รวมไปถึงผู้ก่อตั้ง Transparency International ที่คิดค้น Corruption Perception Index หรือดัชนีวัดการคอร์รัปชั่น ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทุกวันนี้ เป็นต้น

แต่ที่คนไม่ค่อยรู้กัน คือการติดตาม

ผลงานของแต่ละรัฐมนตรี แต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

คน ที่ผมรู้จักเล่าให้ฟังว่า ทุกหัวหน้าโครงการนั้นรายงานต่อคณะกรรมการเชิงปฏิบัติการ Steering Committee ที่คุมโดยนายกรัฐมนตรีเอง ทางนายกฯนาจิบจึงรู้อยู่ตลอดว่า โครงการไหนไปติดหล่มอยู่ที่ไหน เพราะอะไร และภายในหน่วยงานสำนักนายกฯก็มีการเก็บใบประเมินผล หรือ scorecard แบบที่ไม่เปิดเผย เพื่อให้ตัวนายกฯรู้ว่า กระทรวงไหน หน่วยงานใด ให้ความร่วมมือ และใครเป็น "เด็กมีปัญหา" ที่จะต้องถูก "ตักเตือน"

แน่นอนว่าจะทำทั้งหมดนี้ได้ หน่วย Pemandu ที่เป็นหัวใจนั้นต้องมีศักยภาพแบบไม่ธรรมดา

3.หน่วยพิเศษเฉพาะกิจ Pemandu

นำโดย "รัฐมนตรีไร้กระทรวง" ชื่อ ดะโต๊ะ ศรี อิดริส จาลา (Dato Sri Idris Jala)

สิ่งแรกที่นักเศรษฐศาสตร์ที่ดูแล

เศรษฐกิจ มาเลเซียต้องทำ คือคุยกับคนจากหน่วย Pemandu ที่ดำเนินการ ETP และสิ่งแรกที่เราจะรู้สึกก็คือ "นี่เรากำลังคุยกับนักลงทุน-นายธนาคารด้วยกัน

หรือเปล่า ?"

เพราะ คนของเขาจะพูดค่อนข้างตรง จับประเด็นที่เราห่วงได้อย่างแม่นยำ มีแผนการแก้ปัญหาอย่างละเอียดชัดเจน และดู "ใจร้อนอยากรีบทำ" ไม่แพ้เรา

มันเป็นลักษณะของนักปฏิบัติที่คิดแล้วคิดอีก ว่าทำอย่างไรจะนำแผนที่สวยหรูมาทำได้จริง และมีอะไรที่จะผิดพลาดได้บ้างในแต่ละขั้นตอน

หน่วย งานนี้เป็นหน่วยพิเศษที่ถูกสร้างมาโดยการรวบรวมคนรุ่นใหม่จากทั้งภาครัฐและ ธุรกิจ เพื่อ "ทำ" มากกว่า "คิดแผนใหม่" หัวหน้าของเขาคือ ดะโต๊ะ ศรี อิดริส จาลา ที่มีชื่อในการ "ดับไฟ" คือ แก้ปัญหาและปฏิรูปองค์กรขนาดใหญ่ที่กำลังมีปัญหา

ก่อนจะถูกดึงตัวมาที่ Pemandu

ดะโต๊ะ ศรี อิดริส จาลา ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลให้ช่วยสายการบินมาเลเซียที่เป็นรัฐวิสาหกิจสำคัญของมาเลเซีย

หลังจากมีผลงานได้รับการยอมรับตอนเป็นผู้บริหารอยู่ที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง Shell

เมื่อ มีการสนับสนุนอย่างชัดเจนจากนายกฯนาจิบ Pemandu จึงกลายมาเป็นเสมือนทั้ง "สายตา" ที่คอยสอดส่องหน่วยต่าง ๆ ของรัฐบาล และ "มือขวา" ที่คอยประสานงานกับหน่วยต่าง ๆ จากหลายกระทรวง เป็นเสมือน "องค์กรเอกชน ท่ามกลางภาครัฐ" ที่คอยผลักดันให้ภาครัฐบริหารงานคล้ายเอกชนมากขึ้น

จึงไม่แปลกที่ในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของมาเลเซียเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างน่าตกใจ เอาเป็นว่า "ดี" จน

เจ้า หน้าที่ Pemandu ยังแอบกระซิบกับผมว่า พวกเขาก็ยังงง ๆ ทำไมการลงทุนถึงได้มาแรงขนาดนี้ ทั้ง ๆ ที่โครงการใหญ่ ๆ หลายโครงการยังไม่ได้เริ่มด้วยซ้ำ

คงต้องดูกันต่อไปครับว่าโครงการนี้

จะ ดีไปได้นาน และช่วยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในจีดีพี (Investment-GDP ratio) จากปัจจุบันที่อยู่ประมาณ 22% (ใกล้ ๆ ของไทย) ไปได้อย่างต่อเนื่อง จนพามาเลเซียก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง หรือ Middle In-come Trap ไปได้ไหม

โดยเฉพาะเมื่อประเทศเขากำลังจะมีการเลือกตั้งที่ชี้ชะตา ของนายกฯนาจิบ และพรรครัฐบาลในปีนี้ (ซึ่งก็ทำให้ผู้คนหวั่น ๆ อยู่เหมือนกันว่านโยบายนี้จะได้ทำต่อหรือไม่)

อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักวิเคราะห์นโยบายและนักเศรษฐศาสตร์ต้องยอมรับว่า โครงการนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่านำมาคิดต่อ แล้วปรับมาใช้สำหรับหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย

สุดท้าย อย่าลืมนะครับว่าเราไม่ได้พูดถึงประเทศพัฒนาแล้ว แต่เป็นเพื่อนบ้านใกล้ตัวซึ่งมีปัญหาหลายอย่างไม่แพ้เราเหมือนกัน ถ้าเขายังมี ETP ของเขาได้ แล้วประเทศเราล่ะครับ จะมีสูตรลับพลิกเศรษฐกิจไม่ให้น้อยหน้าได้หรือไม่ ?


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : พลิกแผน กู้เศรษฐกิจ รัฐบาลมาเลเซีย เผยสูตรลับ อีทีพี ETP

view