สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นักเศรษฐศาสตร์ห่วงแผนกู้ 2.2 ล้านล้าน หนี้สาธารณะท่วม นำประเทศไปสู่ความเสี่ยง

นักเศรษฐศาสตร์ห่วงแผนกู้ 2.2 ล้านล้าน หนี้สาธารณะท่วม นำประเทศไปสู่ความเสี่ยง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

นักเศรษฐศาสตร์ค้านออก พ.ร.บ.เงินกู้ หวั่นปัญหาหนี้สาธารณะพุ่งเกิน 60% ของจีดีพี นำประเทศไปสู่ความเสี่ยง หากเจอวิกฤตเศรษฐกิจ หรือฟองสบู่แตกอาจล้มทั้งยืน เตือนรัฐอาจขาดสภาพคล่อง เนื่องจากต้องใช้จ่ายในโครงการประชานิยมอื่นๆ ร่วมด้วย แนะทำตัวชี้วัดทั้งเชิงปริมาณ และด้านสังคม พร้อมเปิดเผยรายละเอียดต่อสาธารณะเพื่อให้ตรวจสอบได้ ส่วนปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน 88% ไม่เชื่อมั่นว่าจะแก้ได้จริง
       
       ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 33 แห่ง จำนวน 60 คน เรื่อง “นักเศรษฐศาสตร์ตั้ง KPI โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาท” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 13-18 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา โดยพบว่า นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 56.7 อยากให้รัฐบาลดำเนินการลงทุนด้วยวิธีการอื่นๆ มากกว่าการออก พ.ร.บ. กู้เงิน เนื่องจากเป็นห่วงปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะที่ร้อยละ 25.0 เห็นว่า การดำเนินการด้วยการออก พ.ร.บ. กู้เงินเป็นวิธีการที่เหมาะสมแล้ว แม้ว่าอาจนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ บ้าง แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย หรือทำไปตามกรอบเดิมๆ หรือตามกรอบงบประมาณที่มี
       
       ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในระยะ 7 ปีข้างหน้าเป็นโครงการที่ดี และมีประโยชน์ คือ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 96.6 ยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างความได้เปรียบรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และร้อยละ 81.6 เห็นว่า สภาพเศรษฐกิจและตลาดการเงินในปัจจุบันถึง 7 ปีข้างหน้า เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการระดมทุนเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
       
       ส่วนสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นปัญหาสำหรับการออก พ.ร.บ.กู้เงิน คือ ปัญหาหนี้สาธารณะ และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน โดยในส่วนของปัญหาหนี้สาธารณะนั้น ร้อยละ 60.0 เห็นว่า เป็นสิ่งที่น่ากังวลเนื่องจากหนี้สาธารณะอาจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ต่อจีดีพี หากประเทศเจอวิกฤตเศรษฐกิจ หรือฟองสบู่แตก รวมถึงรัฐบาลอาจขาดสภาพคล่อง เนื่องจากต้องใช้จ่ายในโครงการประชานิยมอื่นๆ ร่วมด้วย
       
       ขณะที่ร้อยละ 21.7 เห็นว่า ไม่น่าเป็นกังวล เพราะสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพียังต่ำ อีกทั้งเป็นการกู้ภายในประเทศ และการลงทุนจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ทำให้เก็บภาษีได้มากขึ้น และช่วยให้แข่งขันได้ดีขึ้น ในส่วนของความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลว่าจะดูแลปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่อาจ เกิดขึ้นในโครงการนี้ได้ดีเพียงใดนั้น ร้อยละ 88.3 บอกว่าไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ในจำนวนนี้ ร้อยละ 48.3 เชื่อว่า คงมีการทุจริตอยู่ในระดับที่สูงกว่าโครงการทั่วไป
       
       อย่างไรก็ตาม หากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจริงใน 7 ปีข้างหน้า นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า ผลจากการลงทุนจะช่วยให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศปรับเพิ่มขึ้นจาก อันดับที่ 38 ในปัจจุบัน มาอยู่ที่อันดับ 30 และขีดความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 46 มาอยู่ที่อันดับ 32 อันดับความสะดวกในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 18 มาอยู่ที่อันดับ 15 ความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 20 มาอยู่ที่อันดับ 16 ต้นทุนลอจิสติกส์ต่อจีดีพีลดลงจากร้อยละ 15.2 เหลือเพียงร้อยละ 13.2 และมีการกระจายรายได้ที่ดีขึ้นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์จีนี ลดลงจาก 0.48 เหลือ 0.46
       
       สำหรับตัวชี้วัด (KPI) อื่นๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการให้รัฐบาลตั้งไว้วัดผลสัมฤทธิ์จากการลงทุนโครง สร้างพื้นฐาน คือ รัฐบาลควรเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้าของแต่ละโครงการ การเบิกจ่ายเงิน อัตราผลตอบแทนของโครงการ และการชำระหนี้เงินกู้อย่างสม่ำเสมอต่อสาธารณะ มีตัวชี้วัดทางสังคมที่บ่งชี้ถึงความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทในมิติต่างๆ เช่น รายได้ต่อหัว การจ้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการกระจุกตัวของเมืองหลวง ได้รับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตโดยมูดี้ส์ และเอสแอนด์พี


จุฬา'ระบุกู้เงิน2ล้านล้านปีนี้ใช้3หมื่นล้าน

จุฬา"แจงพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้าน พร้อมโครงการจะใช้เงินทั้งหมด ระบุปี2556 ใช้เงินจริงแค่ 3 หมื่นล้านบาท

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ให้สัมภาษณ์”กรุงเทพธุรกิจทีวี” เรื่องแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ที่ครม.อนุมัติร่างพ.ร.บ.ดังกล่าววันนี้(19มี.ค.)

นายจุฬา กล่าวว่า ล่าสุดครม.อนุมัติร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลักๆเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เรื่องการขนส่ง เรื่องถนน เรื่องรถไฟ ท่าเรือ แล้วก็จะมีเรื่องด่านพรมแดน การบริหาร เงิน 2 ล้านล้านบาท มีการแบ่งเป้าหมายว่าจะเอาไปทำเพื่ออะไร แบ่งเป็น 3 เป้าหมายใหญ่ๆ ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับ เรื่องเปลี่ยนจากบ้านเราที่ขนส่งทางถนนเยอะไปเป็นขนส่งต้นทุนประหยัดกว่าแทน มีโครงการเกี่ยวกับเรื่องรถไฟ ซึ่งรถไฟจะทำทางคู่ไปหลักๆทั่วประเทศ จนถึงชายแดนเลย สายเหนือทางคู่จะไปถึงเด่นชัยจะต่อไปถึงเชียงราย สายอีสานไปถึงหนองคาย อุบลฯ ทางใต้ไปถึงปาดังเบซาร์ อันนี้เป็นกลุ่มโครงการรถไฟ รวมถึงรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน

"ทั้งหมดเราจะปรับปรุงให้ประสิทธิภาพดีขึ้น กลุ่มโครงการอันที่สองเกี่ยวกับเรื่องท่าเรือก็จะมีท่าเรือหลายแห่ง มี 5 แห่งกระจายกันอยู่ท่าเรือแม่น้ำและทะเล แล้วอีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เงินเกี่ยวกับเรื่องการเชื่อมถนนเข้ากับท่าเรือเข้า กับสถานีรถไฟ กลุ่มนี้จะใช้เงินประมาณ 3.5 แสนล้านบาทที่จะทำในส่วนนี้ ส่วนยุทธศาสตร์ที่สองเกี่ยวกับการ เชื่อมโยงกับการรองรับประชาคมอาเซียน โครงการพวกนี้จะใช้เงินมากที่สุด จะใช้ประมาณ 1.4 ล้านบาท 1 ล้านล้านบาทที่จะทำ ก็จะมีเรื่องรถไฟความเร็วสูง จะอยู่ในกลุ่มโครงการนี้ รถไฟความเร็วสูงจะทำ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพ-หนองคาย กรุงเทพ-หัวหินเส้นนี้ จะไปปาดังเบซาร์ เรื่องรถไฟความเร็วสูงจะใช้ทาง มอเตอร์เวย์ขึ้นไปโคราชแล้วก็จะมีเส้นไปจากเมืองกาญจน์อีกอันต่อพัทยาถึงมาบ ตาพุด กลุ่มสุดท้ายเป็นเรื่องระบบ รถไฟอันนี้เป็นเรื่่องรับใช้ยุทธศาสตร์เรื่องของการทำให้การเดินทางเร็วขึ้น คล่องตัวขึ้น โครงการที่เป็นหลักๆ ก็คือ รถใช้ติดต่อในกรุงเทพก็จะใช้ 2 ล้านล้าน"นายจุฬา กล่าว

นายจุฬา กล่าวว่า โปรเจคที่เร็วที่สุดส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับถนน เป็นเรื่องการขยายถนนเป็น 4 เลน บางทีจะมีการปรับถนน เส้นหลักๆ อย่างที่พังจำนวนมาก อย่างถนนไปภาคเหนือไปจากนครสวรรค์ เป็นต้นไป หรือทางใต้พวกนี้เหตุที่ทำได้เร็ว เพราะว่าพวกนี้ไม่ต้องไปทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม อีกประมาณสัก 3-4 เดือน สามารถเริ่มได้ ปีนี้คาดเงิน 2 ล้านล้านบาท ทำในปี 2556 น่าจะใช้เงินจริงสักประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

นายจุฬา กล่าวด้วยว่า โครงการใหญ่ๆ เช่น รถไฟความเร็วสูงบางส่วนจะต้องเวนคืนที่ดินบ้าง โดยจะปรับแนวเส้นทางให้ตรง โดยรถไฟจะวิ่ง 250 กิโลเมตรได้ มีบางส่วนต้องเวนคืนบ้าง แต่ก่อนที่จะสรุปต้องฟังกระบวนการความคิดเห็นประชาชนต้องทำ ช่วงเม.ย.-พ.ค.ทางสนข.จะมีการเข้าไปคุยเยอะมาก จากการดำเนินการตามแนวเส้นทางรถไฟถึงแนวที่จะเป็นสถานี บางจังหวัดเป็นสถานีใหม่ ต้องเข้าไปคุยจะได้ข้อยุติว่าจะเวนคืนที่เตรียมกระบวนการทางกฎหมายจ่ายค่าชด เชย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงแผน กู้ 2.2 ล้านล้าน หนี้สาธารณะท่วม ประเทศ สู่ความเสี่ยง

view