สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิธีการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ในการส่งออก (2)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เลียบรั้วเลาะโลก

โดย จารุพัฒน์ พินิชยิ่ง ผอ.ฝ่ายรับประกันการส่งออก ธสน.

ท่านผู้อ่านทราบไหมว่า เงื่อนไขการชำระเงินในการค้าระหว่างประเทศอาจมีผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการ เงินและเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ รวมทั้งเงื่อนไขการชำระเงินแต่ละประเภทมีความเสี่ยงต่างกัน และมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน

ฉบับที่แล้ว พูดถึงความสำคัญและปัจจัยพื้นฐาเลือกใช้เงื่อนไขชำระเงินให้เหมาะสมไปแล้ว ฉบับนี้ผมขอเจาะประเด็น "การเลือกใช้เงื่อนไขการชำระเงินประเภทต่าง ๆ" หรือวิธีการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศที่เป็นมาตรฐานและใช้กันแพร่หลาย ที่มีหลายวิธี ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่างกัน การจะเลือกวิธีชำระเงินวิธีใด ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง

ผมแบ่งการได้รับชำระเงินค่าสินค้าในธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศออกเป็น 3 แบบหลัก ๆ ดังนี้ 1) ผู้ขายได้เงินค่าสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า 2) ผู้ขายได้รับชำระเงินหลังจากได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้ว 3) การค้าในลักษณะหักลบกลบหนี้ระหว่างกัน (Offset)

ในทางปฏิบัติ ผู้ส่งออกที่มีประสบการณ์อาจเจรจากับผู้ซื้อ ขอใช้เงื่อนไขการชำระเงินที่ผสมผสานทั้ง 3 แบบเข้าด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพธุรกิจและสภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่าง เช่น ผู้ส่งออกสินค้าเครื่องประดับอัญมณีที่มีมูลค่าสูง ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อนั้น วัตถุดิบบางชิ้นอาจมาจากผู้ซื้อโดยตรง เช่น เพชร ขณะที่วัตถุดิบบางอย่างมีราคาสูง เช่น ทองคำ ผู้ส่งออกจึงเจรจาให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าทองคำล่วงหน้าโดยหักลบกลบหนี้กับค่า เพชร และผู้ส่งออกจะเรียกเก็บส่วนที่เหลือ เมื่อได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากเจรจาได้

เช่นนี้ ผู้ส่งออกจะไม่ต้องใช้เงินทุนในการจัดเตรียมสินค้ามากนัก และความเสี่ยงในการส่งออกก็ลดลง เนื่องจากจำนวนเงินที่จะไม่ได้รับชำระค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลดน้อย ลง

เงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศที่ใช้กัน และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในโลกการค้าแบ่งออกเป็น 4 วิธี คือ

1) Cash in Advance มักจะใช้กับ การส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าไม่มากนัก หรือสินค้าตัวอย่าง หากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ผู้นำเข้าคงไม่ยอมเสี่ยงจะจ่ายเงินในรูปแบบนี้ ยกเว้นผู้นำเข้าไว้วางใจหรือค้าขายกับผู้ส่งออกมานาน จึงยอมตกลงชำระเงินล่วงหน้าเป็นครั้งคราว

2) Open Account ผู้ซื้อจะขอเครดิตกับผู้ขาย หรือเป็นการเปิดบัญชีขายให้เครดิตนั่นเอง วิธีนี้ผู้ขายจะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเป็นการขายสินค้าเชื่อ ผู้ซื้อจะไม่มีความเสี่ยงเลยเนื่องจากสามารถรับสินค้าไปก่อน และจะชำระเงินภายหลังเมื่อครบกำหนดเครดิตที่ตกลงกันไว้ เช่น การชำระเงินภายใน 60 วัน หรือ 90 วันหลังจากรับสินค้าไปแล้ว

3) Bills for Collection เป็นการชำระเงินที่มีธนาคารเข้ามาเป็นตัวกลางเรียกเก็บเงิน เมื่อมีการตกลงกันแล้ว ผู้ขายต้องส่งสินค้าก่อน จึงจะส่งเอกสารส่งออกเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านระบบธนาคาร

วิธีการนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่า 2 วิธีแรก ทั้งในแง่ของผู้ขายและผู้ซื้อ การชำระเงินวิธีนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย ๆ คือ

3.1 Documents Against Payment (D/P) ผู้ซื้อต้องชำระเงินทันที ธนาคารในประเทศผู้ซื้อจึงจะส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อ ถ้าไม่จ่ายจะไม่ส่งมอบเอกสารให้ ผู้ซื้อก็ไม่สามารถไปรับสินค้าได้

3.2 Documents Against Acceptance (D/A) เมื่อธนาคารผู้เรียกเก็บเงินได้รับเอกสารจากธนาคารผู้ส่งเอกสารเรียกเก็บ แล้ว จะติดต่อให้ผู้ซื้อมารับเอกสาร และรับรองตั๋วแลกเงิน หลังจากนั้นผู้ซื้อสามารถนำเอกสารการส่งออกไปรับสินค้าได้ และเมื่อตั๋วครบกำหนดชำระเงินตามที่ผู้ซื้อได้รับรองไว้ ธนาคารจะทวงถามให้ผู้ซื้อมาชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน

4) Letter of Credit เป็นเอกสารทางการเงินเพื่อการค้าที่ออกโดยธนาคารตามคำสั่งของผู้ซื้อ และส่งให้แก่ผู้ขาย เพื่อรับรองว่าธนาคารผู้เปิดจะเป็นผู้ชำระเงินตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนด ในเอกสาร โดยผู้ขายมีหน้าที่ปฏิบัติตามที่ระบุใน L/C ให้ครบถ้วนและถูกต้องทุกประการ เมื่อได้รับ L/C ผู้ขายควรตรวจสอบว่าข้อตกลงและเงื่อนไขหลักตรงตามสัญญาซื้อขายหรือไม่

ดัง นั้น หากท่านต้องการเป็นผู้ส่งออกที่แข็งแรง ควรต้องเรียนรู้รูปแบบเงื่อนไขการชำระเงินและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งแง่ของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า เพื่อตัดสินใจในการทำการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบธนาคารที่มีความสำคัญในการค้าระหว่าง ประเทศ และเข้ามาเกี่ยวข้องกับการชำระเงินแต่ละรูปแบบ ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : วิธีการ เรียกเก็บเงิน ค่าสินค้า การส่งออก

view