สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

JAPAN CONNECTION (จบ)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เรื่องราวกับความคิด โดย วิรัตน์ แสงทองคำ

กระแสคลื่นธุรกิจญี่ปุ่นลูกใหม่ กำลังถาโถมเข้าสู่วิถีชีวิตของปัจเจกในเมืองหลวงและหัวเมืองอย่างไม่เคย ปรากฏมาก่อนความจริงแล้ว Daimaru มาพร้อมกระแสคลื่นลูกแรกตั้งแต่ปี 2507 ถือว่าเป็น "หัวขบวน" ของธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตปัจเจกยุคใหม่ ทว่าในการแข่งกันกับธุรกิจห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นอย่างเซ็นทรัลจึงเป็น เรื่องไม่ง่าย ในที่สุดได้ยกธงขาวเมื่อปี 2543

 Convenience Store

อย่าง ไรก็ตาม มีอีกบางรายพยายามปรับตัวเพื่อความอยู่รอด-Jusco Department Store เข้ามาทีหลัง Daimaru ถึง 2 ทศวรรษ (ปี 2527) ต้องดิ้นรนอย่างมากเช่นกัน ในที่สุดปรับตัวมาเป็น MaxValu เริ่มต้นอีกครั้งในปี 2550 ด้วยการปรับโมเดลธุรกิจใหม่เป็น Supermarket และ ConvenienceStore เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ดูไปแล้วนับว่าประสบความสำเร็จพอสมควร

ปัจจุบัน เครือข่าย MaxValu Supermarket มีเกือบ 20 สาขา ขณะที่เครือข่ายMaxValu Tanjai (เริ่มต้นปี 2553) ตามโมเดล Convenience Store ด้วยการเร่งขยายเครือข่ายได้เกือบ 50 สาขา


เชื่อกันว่าความสำเร็จของ MaxValu มาจากฐานอันแข็งแกร่ง เป็นแผนการผนึกกำลังระหว่างบริษัท อิออน (ไทยแลนด์) เจ้าของเครือข่าย MaxValu กับเครือข่ายธุรกิจการเงินรายย่อย-AEON

บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) ก่อตั้งขึ้นโดย AEON Credit Service Japan ดำเนินธุรกิจบริการสินเชื่อรายย่อย (Retail Finance) หลากหลายรูปแบบ ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ ก่อตั้งขึ้นอย่างเงียบ ๆ ตั้งแต่ปี 2535 เมื่อสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยได้ในปี 2544 ได้ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วประเทศ

การปรับ ตัวของ MaxValu มีความสัมพันธ์กับการเติบโตอย่างรวดเร็วของเครือข่าย Convenience Store ญี่ปุ่นในประทศไทย7-Eleven คือ Convenience Store รายใหญ่ที่สุดทั้งในญี่ปุ่นและเมืองไทย

เข้ามาเมืองไทยเป็นรายแรก ตั้งแต่ปี 2531 ได้ร่วมมือกับซีพีแผ้วถางความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าผู้คนจำนวนไม่น้อยไม่ได้นึกถึงความเป็นธุรกิจญี่ปุ่น (เพราะ7-Eleven เพิ่งเปลี่ยนเจ้าของมาเป็นญี่ปุ่นเมื่อปี 2548) แต่ถือว่าเป็นแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจประเภทเดียวกันที่ยกขบวนเข้ามาอย่าง ครึกโครม)

Family Mart Convenience Store รายใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่นเข้ามาเมืองไทยนานพอสมควรตั้งแต่ปี 2536 แต่เติบโตค่อนข้างช้า ได้พยายามเกาะกระแส ปรับยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ด้วยการร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลในปลายปี 2555 ประกาศแผนการขยายสาขาให้มากกว่า 1,500 สาขาภายใน 5 ปี และเพิ่มเป็น 3,000 สาขาภายใน 1 ทศวรรษ

ขณะที่รายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น-Lawson ผนึกกำลังกับสหกรุ๊ปบุกเข้ามาตลาดเมืองไทยอย่างเต็มตัวเช่นกัน

เริ่ม ต้นด้วย "เปิดตัวร้านค้า 3 แห่งพร้อมกันภายใต้ชื่อ Lawson 108 ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 Lawson ในไทยดำเนินงานโดยบริษัทร่วมค้าที่ก่อตั้งโดยบริษัทสหกรุ๊ป อันเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคชื่อ Lawson 108 มาจากแบรนด์ 108 Shop ร้านค้าเล็ก ๆ ที่พัฒนาขึ้นโดยสหกรุ๊ป ผสมผสานกับแบรนด์ Lawson ของญี่ปุ่น" (http://www.lawson108.com/)

 Uniqlo

นอกจาก Convenience Store ในฐานเครือสินค้าบริโภคสามารถเข้าถึงชุมชนได้อย่างดีแล้ว มีสินค้าสำคัญที่ยกระดับ

สู่ ไลฟ์สไตล์ เข้าถึงปัจเจก Uniqlo แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นสำหรับลูกค้าฐานกว้างได้เข้ามาเมืองไทยอย่างเต็มตัว โดยไม่ได้ใช้โมเดลเดียวกับกรณี Wacoal กับสหกรุ๊ปเมื่อ 40 ปีก่อน

Uniqlo ถือเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นที่เติบโตอย่างรวดเร็วในระดับโลก เนื่องจากมีสินค้าหลากหลาย ด้วยราคาปานกลาง จับลูกค้าเป้าหมายที่มีฐานกว้างพอสมควร ถือว่ามีความพยายามเทียบเคียงและแข่งขันอยู่ในระดับเดียวกันกับแบรนด์ระดับ โลกอย่าง Mark & Spencer ของอังกฤษ H&M ของสวีเดน และ Zara ของสเปน

Uniqlo มีเครือข่ายร้านค้าของตัวเองในญี่ปุ่นประมาณ 1,300 แห่ง และในต่างประเทศอีก 450 แห่ง สำหรับตลาดเมืองไทยเข้ามาครั้งแรกด้วยแผนการเชิงรุก ระดมลงทุนทั้งระบบ สามารถขยายเครือข่ายร้านค้าภายใต้แบรนด์ตัวเองได้มากกว่า 10 แห่ง โดยใช้เวลาเพียง 2 ปี (เข้ามาครั้งแรกปี 2554) เข้ายึดพื้นที่ขายขนาดใหญ่ในศูนย์การค้าใหญ่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองท่องเที่ยว

  Japanese Restaurants  
 
ปรากฏการณ์ ที่ลงลึกที่สุดในกระแสคลื่นญี่ปุ่นครั้งล่าสุดคงเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น การขยายตัวของร้านอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทยอย่างเข้มข้นเป็นปรากฏการณ์สำคัญ จากเครือข่ายร้านอาหารญี่ปุ่นที่มาจากญี่ปุ่นโดยตรง

แม้ว่าตำนานร้าน อาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ลงหลักปักฐานมานานพอสมควร ตั้งแต่กรณี Fuji ที่ค่อย ๆ สร้างเครือข่ายโดยใช้เวลาถึง 3 ทศวรรษ จนมาถึง Oishi ตำนานอันโลดโผน เริ่มต้นโดย ตัน ภาสกรนที เพียงทศวรรษเดียว แต่นั่นคือกรณีสร้างแบรนด์ญี่ปุ่นขึ้นใหม่ในสังคมไทย

ร้านอาหาร ญี่ปุ่น Fuji ก่อตั้งขึ้นในเมืองไทย โดยชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย ตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองเปิดสาขาแรกพร้อม ๆ กับการเปิดเซ็นทรัลลาดพร้าวปี 2521 ปัจจุบันไม่เพียงมีสาขาเกือบ 100 แห่งในประเทศแล้ว กำลังเริ่มต้นเปิดสาขา Fuji ในประเทศเพื่อนบ้าน

ไม่ เพียงเท่านั้น เมื่อกระแสร้านอาหารญี่ปุ่นเข้าสู่กระแสหลัก คือการพาเหรดของร้านอาหารญี่ปุ่นจากญี่ปุ่น เจ้าของร้าน Fuji ได้นำร้านอาหารญี่ปุ่นจากญี่ปุ่นมาเมืองไทยด้วย-CoCoICHIBANYA ร้านอาหารประเภทแกงกะหรี่สไตล์ญี่ปุ่น ว่ากันว่าได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง และมีสาขาถึง 1,100 แห่งในญี่ปุ่น และอีกกว่า 15 สาขาในประเทศอื่น ๆ ส่วนในเมืองไทยสาขาแรกเปิดขึ้นเมื่อปี 2551 ปัจจุบันมี 8 สาขาแล้ว

กรณี Oishi ตัน ภาสกรนที เริ่มต้นเมื่อปี 2542 ถือว่าเป็นการเร่งกระแสร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง-เขาเริ่มร้านอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เมื่อขายกิจการให้กับไทยเบฟเวอเรจของ เจริญ สิริวัฒนภักดี เครือข่ายร้านอาหารหลากรูปแบบแวดล้อมแบรนด์ Oishi เกิดขึ้นอย่างมากมาย ถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ด้วยสาขามากกว่า 120 แห่ง

ทางอ้อม-ตัน ภาสกรนที จุดกระแสเครื่องดื่มชาเขียว แต่เดิมเป็นส่วนเสริมในร้านอาหารญี่ปุ่น กลายมาเป็นเครื่องดื่มใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ย่อมเชื่อมโยงไปถึงกระแสร้านอาหารญี่ปุ่นด้วยอยู่ดี

กระแสร้านอาหาร ญี่ปุ่นจากญี่ปุ่น ควรกล่าวถึงอีกบางกรณีเพื่อให้ภาพสมบูรณ์ขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัลซึ่งไม่ยอมตกกระแส โดยเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป

ปี 2548 กลุ่มเซ็นทรัลเปิดตัว Ootoya ร้านอาหารญี่ปุ่น ซึ่งก่อตั้งในญี่ปุ่นมามากกว่า 50 ปี มีสาขามากกว่า 250 สาขาในญี่ปุ่น และอีก 38 สาขาในต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับเมืองไทยเป็นพิเศษ เปิดสาขาแรกที่ J Avenue ทองหล่อ และต่อมาได้เปิดสาขาในไต้หวัน ฮ่องกง อินโดนีเซีย และสิงคโปร์

เฉพาะเมืองไทยมี 31 สาขาในหลายรูปแบบ Ootoya ดูเหมือนร้านอาหารญี่ปุ่นจากญี่ปุ่นที่มีแผนธุรกิจเชิงรุกมากเป็นพิเศษ นอกจากร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลแล้ว ยังได้ร่วมทุนกับอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารครบวงจรรายใหญ่รายหนึ่งของ ไทย-กลุ่มเบทาโกร

กลุ่มเซ็นทรัลพยายามรักษาผู้นำกระแส ได้ร่วมมือกับเครือข่ายร้านอาหารญี่ปุ่นจากญี่ปุ่นอย่างเป็นระบบและต่อ เนื่อง ปี 2550-Pepper Lunch ร้านสเต๊กสไตล์ญี่ปุ่น ปี 2553 เปิดตัว Chabuton ร้านราเม็งจากญี่ปุ่น และปี 2554 Yoshinoya ข้าวหน้าญี่ปุ่น

จะ โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม กระแสญี่ปุ่นมาแรงยิ่งขึ้นตั้งแต่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา จากมาตรการยกเว้นวีซ่าเข้าญี่ปุ่นให้คนไทยสามารถพำนักได้ 15 วัน จากนั้น Social Media ก็เต็มไปด้วยเรื่องและภาพไลฟ์สไตล์ญี่ปุ่น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : JAPAN CONNECTION (จบ)

view