สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ขอนำประเด็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โดยแยกพิจารณาผู้มีหน้าที่เสียภาษีและผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการมาปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งเป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง

วิสัชนา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดาและหน่วยทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะปีภาษีที่เงินได้เท่านั้น

1. บุคคลธรรมดา หรือผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี หรือกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง

2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มีใช่นิติบุคคล

ปุจฉา มีการจำแนกผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ไว้อย่างไร

วิสัชนา ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา หมายถึง ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีสภาพบุคคลหรือมีชีวิตอยู่ตราบจนถึงสิ้นปีภาษี หรือวันที่ 31 ธันวาคมของแต่ละปีภาษีนั้นๆ ประกอบด้วย

1. ผู้มีเงินได้เป็นผู้มีความสามารถ หรือผู้ที่บรรลุนิติภาวะ ให้ผู้มีเงินได้ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้โดยตนเอง (มาตรา 56 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)

2. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีคู่สมรสโดยสามีหรือภริยาเป็นผู้มีเงินได้ แต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีนั้นหรือไม่ ให้สามีหรือภริยาฝ่ายที่มีเงินได้นั้นเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้โดยตนเอง (มาตรา 56 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)

3. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีคู่สมรส และต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ นั้น นับแต่ปีภาษี 2555 เป็นต้นมา ให้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการเงินได้ในส่วนของตน เว้นแต่ จะเลือกยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้เป็นอย่างอื่น

4. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้เยาว์ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้แทนผู้เยาว์ (มาตรา 57 และมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร) เว้นแต่ในกรณีที่บุตรผู้เยาว์ ไม่ว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมก็ตาม เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็น เงินได้ของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี (มาตรา 40 (4)(ข) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)

5. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้ผู้อนุบาลเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ดังกล่าว (มาตรา 57 และมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)

6. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ดังกล่าว (มาตรา 57 และมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)

7. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในต่างประเทศ ให้ผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ (มาตรา 57 แห่งประมวลรัษฎากร)

8. กรณีผู้มีเงินได้ที่ตั้งตัวแทนจัดการทรัพย์สิน หรือผู้รับประโยชน์จากทรัสต์ ให้ตัวแทนหรือทรัสต์เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้แทนผู้มีเงินได้ (มาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)

9. กรณีผู้มีเงินได้ดังกล่าวข้างต้นซึ่งมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษี แต่ได้ถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้มีการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ ให้ผู้จัดการมรดก หรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้แทน (มาตรา 57 ทวิ และมาตรา 62 แห่งประมวลรัษฎากร)

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

view