สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ก๊าซจะหมด ใน 6-7 ปีหรือ 20 ปี กันแน่? ใครชัวร์ ... ใคร (แกล้ง) มั่วนิ่ม

จากประชาชาติธุรกิจ

โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน

ที่มา นสพ.มติชนรายวัน


มีผู้ให้ข้อมูลอยู่เป็นระยะๆ ซ้ำซากว่า ประเทศไทยมีน้ำมันเยอะแยะ หรือปริมาณสำรองปิโตรเลียมในประเทศไทยยังคงมีสำรองใช้ได้อีกนาน ในขณะที่กระทรวงพลังงานยืนยันว่า ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว (Proven Reserve) เหลือไม่ถึง 7 ปี

ฤๅ กระทรวงพลังงานจะรีบร้อน สำรวจเปิดสัมปทานปิโตรเลียมไปไย?

โดยผู้อ้างว่าเราจะมีปิโตรเลียมใช้ได้อีกนานนั้น ให้เหตุผลทำนองว่า

หนึ่ง ประเทศไทยมีทรัพยากรปิโตรเลียมมากมายมหาศาล แต่กระทรวงพลังงานนั่นแหละที่หมกเม็ด บอกความจริงไม่หมด หรือกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมาแล้วว่า ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว ถึงจะมีทรัพยากรแต่เมื่อยังไม่ขุดเจาะสำรวจ ก็จะถือว่าปริมาณสำรอง = 0

ดังนั้นปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว จึงไม่ได้ครอบคลุมถึงปริมาณทรัพยากรปิโตรเลียมที่มีอยู่จริง

สอง ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้วเท่ากับปีที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทาน นั่นคือ ไม่ได้นับรวมปริมาณปิโตรเลียมที่มีอยู่จริง

เป็นที่มาของวลีเด็ด "ก๊าซไม่ได้หมด แต่สัญญาสัมปทาน" หมด

ใครชัวร์ ใครมั่วนิ่ม? ผมจะขอค่อยๆ อธิบายเชิงเปรียบเทียบ ดังนี้

ปริมาณสำรองปิโตรเลียมก็เหมือนจำนวนลูกค้าในธุรกิจ

สมมุติ ว่าเราขายกาแฟ เราสามารถพูดได้หรือเปล่าว่า จำนวนลูกค้าที่เรามี คือ จำนวนคนทั้งหมดที่ดื่มกาแฟ หรือคนทั้งซอยที่ร้านกาแฟเราตั้งอยู่

แน่ นอนว่า เราพูดมั่วแบบนั้นไม่ได้ เพราะเป็นการหลอกทั้งตนเอง หลอกทั้งผู้อื่น แต่เราอาจจะบอกว่า นอกจากลูกค้าประจำของเราแล้ว เราหมายตาให้ใครมาเป็นลูกค้าเพิ่มเติมบ้าง

ปริมาณสำรองปิโตรเลียม ก็เป็นเช่นนั้น



การประเมินปริมาณสำรองปิโตรเลียมแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1) ปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้แล้ว (Proved หรือ P1) ซึ่งถือเป็นระดับที่มีความมั่นใจได้สูงถึง 90% นั่นคือ คนที่มาสั่งกาแฟเราแล้ว วางมัดจำหรือจ่ายเงินแล้ว

2) ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบ (Probable หรือ P2) ซึ่งมีระดับความมั่นใจว่าจะพบ 50% คือ เดินผ่านร้านกาแฟเราเป็นประจำ ไม่เคยแวะเข้าร้านเรา แต่อาจไปร้านอื่น

3) ปริมาณสำรองที่น่าจะพบ (Possible หรือ P3) มีระดับความมั่นใจว่าจะพบ 10% คือ เดินผ่านร้านเราประจำก็จริง แต่อาจไม่ดื่มกาแฟหรือเรามีข้อมูลของลูกค้ากลุ่มนี้น้อยไป

ตัวเลขและ วิธีการคำนวณปริมาณสำรองปิโตรเลียมของไทย เป็นไปตามมาตรฐานสากล Petroleum Resources Management System หรือ PRMS ซึ่งหลายๆ ประเทศใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องที่กระทรวงพลังงานปลุกเสกขึ้นมาเอง

เราคงไปมั่วนิ่มว่า P2, P3 เป็นลูกค้าของเราทันทีไม่ได้ ตราบใดที่เขายังไม่มาสั่งกาแฟจากเรา ซึ่งถ้าอยากได้คนกลุ่มนี้มาเป็นลูกค้าก็ต้อง "ออกแรง" ไปชักชวน ทำโปรโมชั่น



การ จะทราบว่าเราจะมีก๊าซเหลือใช้ไปอีกกี่ปี ก็โดยนำปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้ (P1) มาหารด้วยอัตราการผลิต (การใช้) ในปัจจุบันเรียกว่า R/P ratio มีหน่วยเป็น "ปี"

เมื่อยอดขายจริง อยู่ที่ "ลูกค้าตัวจริง" คือ (P1) ปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้แล้ว เหลืออยู่กี่ปี ที่ไหนบ้าง

คำ ตอบคือ ปริมาณสำรองที่เหลืออยู่ในแหล่งปิโตรเลียมที่ถูกค้นพบแล้ว และสามารถผลิตอย่างคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ ล่าสุดจะเหลือเพียง 6 ปีเศษๆ ไม่เต็ม 7 ปีเสียด้วยซ้ำ หากยังไม่มีกิจกรรมสำรวจในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่ เช่น การเปิดให้สัมปทานสำรวจปิโตรเลียมในประเทศ ปริมาณเหล่านี้ก็น่าจะมีทิศทางที่ลดลงเรื่อยๆ

สามารถจำแนกแยกแยะเป็นแหล่งๆ ให้เห็นดังนี้ (ดูตารางประกอบ)

จะ เห็นว่าแต่ละแหล่งจะเหลือมากบ้างน้อยบ้าง ตั้งแต่ 2.86-9.73 ปี เฉลี่ยออกมาได้ราวๆ 6 ปีเศษ แล้วก็จะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับการหมดอายุสัมปทานเลย เพราะบางรายยังเหลืออายุสัมปทานผลิต 8-20 ปี หากแต่สำคัญว่า ต้องส่งเสริมให้มีกิจกรรมการสำรวจทั้งใน

แปลงใหม่ๆ หรือแปลงเดิมที่ยังมีปริมาณสำรองที่เป็นระดับ P2 และ P3 อยู่

เช่น เดียวกับคนที่เราหมายตาที่จะให้เป็นลูกค้ากาแฟรายใหม่ที่ต้องไปลงทุนดึงเข้า ร้าน ปริมาณสำรองปิโตรเลียม ระดับ P2 และ P3 ดังกล่าวจำเป็นจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่ายังมีปริมาณสำรองปิโตรเลียม P1 รวมกับ P2 ได้อีกประมาณ 13-14 ปี

จากปริมาณสำรองที่ยังไม่ได้พิสูจน์และคาดว่า จะมีตามระดับ P2 และ P3 นี้ ซึ่งถือเป็นส่วนที่เพิ่มจากที่ได้สำรวจและพิสูจน์ได้แล้วในปัจจุบัน (P1)

ยังไม่ชัวร์ แต่ไม่ถึงกับมั่วนิ่ม

ที่เรียกว่ามั่วนิ่ม ตาใส คือ การเอา P1+P2+P3 = 20 ปี แล้วก็ป่าวประกาศว่า คือ "ปริมาณปิโตรเลียมที่มีอยู่จริง"

ลูกค้ามาสั่งกาแฟ + คนเดินผ่านไปผ่านมา + คนในซอยที่อาจดื่มหรือไม่ดื่มกาแฟ = ลูกค้าที่มีอยู่จริง

เหมือนกับที่บอกว่าประเทศไทยเป็นเศรษฐีน้ำมันแบบซาอุดีอาระเบีย ก็มาจากการมโนแบบนี้

ก็ดีนะ ถ้าเราจะมีปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้แล้ว 20 ปีจริง แต่จะเกิดขึ้นได้จริงต้องแปลง P2, P3 เป็น P1

แต่ ไม่ใช่ด้วยมโน บวกโครมลงไปบนแผ่นกระดาษ หรือลมปาก แต่ด้วยการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อจะยืนยันว่าประเทศไทยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมหรือไม่

เหมือนกับเราต้องลงทุนออกแรงดึงคนที่เราหมายตาเป็นลูกค้า แต่ผลที่สุดใครจะเป็นลูกค้าจริงก็ต่อเมื่อเขาเดินเข้ามาสั่งกาแฟจากเรา

หยุดหลอกคนไทยด้วยกัน เพื่อให้ตกอยู่ในความประมาท ทำให้ชาติตกอยู่ในความเสี่ยงด้านพลังงาน

เราเหลือเวลาอีกไม่มากอย่างที่คิด


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ก๊าซจะหมด 20 ปี กันแน่ ใครชัวร์ ใคร แกล้ง มั่วนิ่ม

view