สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พม่าแฉผู้อพยพปลอมตัวเป็น โรฮีนจา ล่องเรือหวังUNช่วย-มะกันกดดันมอบสิทธิพลเมือง

พม่าแฉผู้อพยพปลอมตัวเป็น'โรฮีนจา'ล่องเรือหวังUNช่วย-มะกันกดดันมอบสิทธิพลเมือง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

       การ์เดียน/เอเอฟพี - ผู้บัญชาการทหารพม่าระบุผู้อพยพบนเรือที่ได้รับความช่วยเหลือขึ้นฝั่ง มาเลเซียและอินโดนีเซีย แอบอ้างตัวว่าเป็นชาวมุสลิมโรฮีนจาเพื่อจะได้รับความช่วยเหลือจากยูเอ็นและ จำนวนมากหลบหนีมาจากบังกลาเทศ ขณะที่สหรัฐฯเรียกร้องรัฐบาลหม่อง สหรัฐเรียกร้องพม่าให้สิทธิพลเมืองชาวโรฮีนจา เพื่อลดการหลั่งไหลของผู้อพยพ
       
       ความเห็นดังกล่าวของมินอ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่า แน่นอนว่าคงกระพือความกังวลเพิ่มเติม หลังจากสหรัฐฯเพิ่งตำหนิพม่าเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ ต่อความล้มเหลวในการจัดการกับต้นตอของวิกฤต ซึ่งเหล่านักสังเกตการณ์ชี้ว่ามีมูลเหตุจากที่ประเทศแห่งนี้ปฏิเสธรับรอง สิทธิพลเมืองแก่ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติโรฮีนจา ที่พักอาศัยอยู่ทางตะวันตกของพม่า
       
       ผู้อพยพหลายพันคน ในนั้นรวมถึงชาวโรฮีนจาจากพม่าและบังกลาเทศ ที่หลบหนีการประหัตประหารและความขัดสนในถิ่นฐาน ถูกผลักดันกลับสู่ทะเลโดยไทย มาเลเซียและอินโดนีเซียในเดือนนี้ โดยจำนวนมากมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยและบางส่วนก็ขาดอาหาร
       
       อย่างไรก็ตามพลเอกมินอ่อง เปรยระหว่างหารือกับนายแอนโทนี บลินเคน รมช.ต่างประเทศสหรัฐฯ สันนิษฐานว่าเหยื่อเกือบทั้งหมดแอบอ้างตัวว่าเป็นชาวโรฮีนจาจากพม่า ในความหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจาก UNHCR พร้อมอ้างรายงานต่างๆระบุว่าผู้คนบนเรือเหล่านั้นมาจากบังกลาเทศ "เขาย้ำว่าจำเป็นต้องมีการสืบสวนสัญชาติของคนเหล่านั้น แทนที่จะมากล่าวหาประเทศใดประเทศหนึ่ง" หนังสือพิมพ์โกบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาร์รายงาน
       
       ชาวโรฮีนจาส่วนใหญ่คว่ำครวญมาช้านานต่อการถูกเลือกปฏิบัติโดยรัฐใน พม่าและปฏิเสธสิทธิความเป็นพลเมือง อย่างไรก็ตามพม่าไม่ยอมรับคำกล่าวหาดังกล่าวและบอกว่ามันไม่ใช่ต้นตอของ ปัญหา
       
       เมื่อวันพฤหัสบดี(21พ.ค.) นายราจิบ ราซัค รัฐมนตรีมาเลเซีย ให้คำมั่นมอบความช่วยเหลือและสั่งการให้กองทัพเรือช่วยเหลือผู้อพยพหลายพัน คนที่ล่องลอยอยู่กลางทะเล และเจ้าหน้าที่ไทยรายหนึ่งเผยว่าพม่าตอบตกลงเข้าร่วมประชุมฉุกเฉินวิกฤตผู้ อพยพในสัปดาห์หน้า
       
       มาเลเซียและอินโนีเซียเผยว่าจะปล่อยผู้อพยพขึ้นฝั่งชั่วคราว 7,000 คน แต่ไม่มากไปกว่านี้ โดยทั้งสองประเทศบอกว่าจะมีการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวแก่พวกเขา ทว่าไทยซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของผู้ที่พยายามลักลอบไปยังมาเลเซียเพื่อหางานทำ บอกว่าจะไม่ดำเนินการแบบเดียวกัน
       
       ส่วนนายบลินเคน กล่าวระหว่างหารือกับพลเอกมินอ่อง เรียกร้องพม่าให้สิทธิพลเมืองชาวโรฮีนจาอันเป็นวิธีที่จัดการวิกฤตผู้อพยพ ที่กำลังเล่นงานเอเชียจะวันออกเฉียงใต้อยู่ในตอนนี้ "พวกเขาควรได้รับมอบสิทธิพลเมือง" เขากล่าวอ้างถึงชาวโรฮีนจา 1.3 ล้านคนที่พักอาศัยในพม่าซึ่งถูกทางการปฏิเสธ ด้วยชี้ว่าพวกเขาคือผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ "ความไม่แน่นอนที่เกิดจากการไม่ได้รับสถานะใดๆ คือหนึ่งในหลายๆปัจจัยที่ผลักดันผู้คนเหล่านี้ให้หลบหนีออกมา"
       
       รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯบอกต่อว่า "ข้อเท็จจริงที่ว่าชาวโรฮีนจายอมเสี่ยงชีวิตตนเองข้ามน้ำข้ามทะเลที่เต็มไป ด้วยอันตราย สะท้อนถึงสภาวะในรัฐยะไข่ ที่ทำให้ผู้คนต้องเลือกทำแบบนี้ เราต้องการจัดการกับวิกฤตนี้ในทันที และเราต้องเผชิญหน้ากับรากเหง้าของปัญหาเพื่อบรรลุถึงแนวทางแก้ไขปัญหาอย่าง ยั่งยืน"
       
       พม่า ซึ่งกำลังถูกนานาชาติกดดอันหนักหน่วงยิ่งขึ้น เผยในวันศุกร์(15พ.ค.) กองทัพเรือของพวกเขาได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือเรือลำหนึ่งที่บรรทุกผู้ อพยพราว 200 คนในอ่าวเบงกอล ส่งสัญญาณประนีประนอมมากขึ้น หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อกรณีไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆต่อ วิกฤตดังกล่าว อย่างไรก็ตามรัฐบาลพม่าย้ำว่าจะไม่รับรองสิทธิพลเมืองแก่ชาวโรฮีนจาอย่างแน่ นอน


Focus : “โรฮีนจา” สุดอึ้ง “แกมเบีย” ประกาศอ้าแขนรับ-ถามงงๆ “แกมเบียแปลว่าอะไร?”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

       เอเอฟพี – ผู้อพยพชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศต่างแสดงความดีอกดีใจเมื่อทราบว่ารัฐบาล อินโดนีเซียและมาเลเซียจะให้ที่พักพิงชั่วคราว แต่ยังอ้ำอึ้งกับข้อเสนอของ “แกมเบีย” ที่ประกาศจะรับพวกเขาเข้าประเทศ โดยบางคนที่ไม่เคยได้ยินชื่อประเทศเล็กๆ แห่งนี้มาก่อนถึงกับถามว่า “แกมเบียแปลว่าอะไร?”
       
       ในช่วง 10 กว่าวันที่ผ่านมามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศเกือบ 3,000 คนว่ายน้ำมาขึ้นฝั่ง หรือได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพของทั้ง 3 ประเทศ หลังจากที่ไทยมีมาตรการกวาดล้างเครือข่ายค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้นายหน้าบางรายตัดสินใจทิ้งผู้อพยพเอาไว้กลางทะเล
       
       นักสิทธิมนุษยชนและองค์กรระหว่างประเทศต่างตำหนิติเตียน ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ใช้นโยบายผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำ ทว่าล่าสุดรัฐบาลจาการ์ตาและกัวลาลัมเปอร์ได้ประกาศเมื่อวันพุธ(20 พ.ย.) ว่าจะจัดหาที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนเหล่านี้
       
       ในส่วนของไทยยังไม่รับปากว่าจะยึดแนวทางเดียวกับเพื่อนบ้านทั้งสอง หรือไม่ โดยระบุแต่เพียงว่า จะไม่ผลักดันเรือผู้อพยพออกจากน่านน้ำของไทยอีก
       
       ที่จังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย ผู้อพยพชาวบังกลาเทศและชาวโรฮีนจาราว 1,800 คนต่างแสดงความยินดีเมื่อทราบข่าวนี้
       
       “ผมดีใจที่อินโดนีเซียและมาเลเซียจะรับชาวโรฮีนจาไว้” มูฮัมมาดุล ฮัสซัน เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ซึ่งได้รับการช่วยเหลือพร้อมผู้อพยพอีกหลายร้อยคนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กล่าว
       
       “หลังจากนี้ทุกอย่างคงดีขึ้น พวกเราในอารากันถูกข่มเหงทรมานอย่างต่อเนื่อง และคงจะหลั่งไหลมากันอีก” เขากล่าว โดยหมายถึงชาวโรฮีนจาที่บ้านเกิดของเขาในรัฐยะไข่ของเมียนมาร์
       
       อย่างไรก็ดี ผู้อพยพบางส่วนยังไม่แน่ใจกับท่าทีของแกมเบียซึ่งประกาศความพร้อมในการรอง รับชาวโรฮีนจา เพราะถือเป็น “หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์” ในการบรรเทาความทุกข์ยากแก่พี่น้องมุสลิม
       
       เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เขาคิดอย่างไรกับข้อเสนอของรัฐบาลแกมเบีย ฮัสซัน ก็ถามกลับมาว่า “แกมเบียแปลว่าอะไร”
       
       ด้าน มูฮัมหมัด จาเบอร์ ชาวโรฮีนจาวัย 27 ปี เป็นอีกคนที่ยังสับสนเมื่อคิดว่าจะต้องเดินทางไปอาศัยอยู่ในประเทศที่ห่าง ไกลออกไปหลายพันไมล์ และเป็นบ้านเมืองที่เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน

       ถึงกระนั้น เขาก็สรุปคำตอบออกมาง่ายๆ ว่า “ถ้าที่นั่นเป็นประเทศมุสลิม และพวกเขายินดีรับเราเป็นพลเมือง ทำไมจะไม่ไปล่ะ?”
       
       ข้อเสนอของแกมเบียดูเหมือนจะขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับจุดยืนของ ประธานาธิบดี ยะห์ยา จัมเมห์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า เขาชิงชังชาวแอฟริกาที่พยายามอพยพข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปแสวงหาชีวิต ใหม่ในยุโรป ซึ่งคนเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็เป็นพลเมืองแกมเบีย
       
       ชาวโรฮีนจาเป็นบุคคลไร้รัฐที่เผชิญการล่วงละเมิดจากชาวพุทธในเมียนมา ร์เสมอมา ขณะที่รัฐบาลเมียนมาร์ก็มองมุสลิมโรฮีนจาว่าเป็นพวกหลบหนีเข้าเมืองจากบัง กลาเทศ และปฏิเสธที่จะรับผิดชอบชีวิตของคนเหล่านี้
       
       จาเบอร์ บอกว่า เขาไม่รู้สึกโกรธรัฐบาลอินโดนีเซียและมาเลเซียที่เคยใช้นโยบายขับไล่ไสส่งชาวโรฮีนจา
       
       “พวกเรายินดีจะไปอยู่ประเทศไหนก็ได้ที่ยอมรับเราเป็นพลเมือง แต่จะไม่กลับไปเมียนมาร์” เขากล่าว
       
       เวลานี้ทั้ง 2 ชาติตกลงที่จะรับผู้อพยพทางเรือขึ้นฝั่ง และให้ที่พักพิงชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี จนกว่าพวกเขาจะได้ที่อยู่ใหม่หรือถูกส่งกลับไปยังเมียนมาร์โดยความช่วยเหลือ จากองค์กรระหว่างประเทศ
       
       อินโดนีเซียไม่มีพันธกรณีที่จะต้องรองรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา เนื่องจากไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย (UN Refugee Convention)
       
       ผู้อพยพต่างเล่าถึงการเดินทางที่แสนลำบาก ต้องลอยเรืออยู่กลางทะเลอย่างไร้ความหวังเมื่อถูกทางการไทยและมาเลเซียผลัก ดันออกจากน่านน้ำ ทุกคนบอกตรงกันว่า หากส่งพวกเขากลับไปเมียนมาร์ก็เท่ากับหยิบยื่น “ความตาย” ให้
       
       “ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียส่งเรากลับไปเมียนมาร์ ก็ไม่ต่างกับฆ่าเรา” โซฮิดุลเลาะห์ วัย 45 ปี กล่าว


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : พม่าแฉ ผู้อพยพ ปลอมตัว โรฮีนจา ล่องเรือ หวังUNช่วย มะกัน กดดัน มอบสิทธิพลเมือง

view