สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ฟันธง สรยุทธ ยุติบทบาทไม่ใช่จรรยาบรรณสื่อ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ผอ.ข่าวเวิร์คพอยท์ชี้"สรยุทธ"ยุติบทบาทไม่ใช่เรื่องจรรยาบรรณ เพราะแรงกดดันจากเอเยนซี่ ส่งผลกระทบกับช่อง 3

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานมีเดีย อินไซด์ เอาท์ จัดงานเสวนา "จริยธรรมสื่อ คำถามบนความขัดแย้ง" โดยนายสมภพ รัตนวลี ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว ช่องเวิร์คพอยท์ กล่าวว่า ปรากฏการณ์ที่ภาคสังคม สมาคมวิชาชีพสื่อ หรือองค์กรภาคต่างๆ ออกมากดดันนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรรายการข่าวชื่อดังนั้น เห็นได้ชัดเป็นกรณีนี้เป็นกรณีแรก ที่น่าสนใจคือ การที่นายสรยุทธ ได้ยุติการทำหน้าที่บนหน้าจอนั้น นี่คือสิ่งที่เราต้องการใช่ไหม และเป็นมาตรฐานของจริยธรรมหรือไม่? เพราะที่ผ่านมา เคยมีเหตุการณ์ที่ผู้ประกาศข่าว หรือนักข่าวที่ผันตัวเองเป็นผู้นำมวลชน จนมีคดีติดตัวบ้าง ซึ่งบางคนบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องการเมือง

แต่เรื่องกรณีสรยุทธ เป็นคดีทุจริต แต่ก็น่าสนใจว่าเราจะใช้ กรณีนี้ไปตรวจสอบคนอื่นย้อนหลังไหม อย่างไรก็ดีการที่นายสรยุทธ ยุติบทยาทสื่อนั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องของจรรยาบรรณ แต่เป็นเพราะแรงกดดันจากเอเยนซี่โฆษณา ที่อาจส่งผลกระทยบต่อช่อง 3 ทั้งหมด แต่สาระที่ผมสนใจคือ เราควรใช้มาตรฐานเดียวกันกับนักข่าวคนอื่นหรือไม่

นายสมภพ กล่าวอีกว่า ส่วนตัวคิดว่าที่ผ่านมานายสรยุทธ ทำหน้าที่ได้ดี อย่างในช่วงที่การเมืองร้อนระอุ เขาได้เชิญคู่ขัดแย้ง 2 ฝ่าย มาคุยกันในรายการ แต่สังคมไทยแปลก กลับบังคับให้ผู้เลือกฝ่ายอย่างชัดเจน ซึ่งเขาก็ถูกบังคับให้เป่านกหวีด ต่างจากบางคนที่เข้าร่วมมวลชนอย่างชัดเจน เมื่อเวลามีเรื่องคดีทุจริตมาแทรก เขาก็ถูกรุม เพราะไม่เป็นพวกใคร ซึ่งเมื่อพูดถึงมาตรฐานจริยธรรมแล้ว ไม่มั่นใจว่ามีจริงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเราอาจจะพบว่าฝ่ายเอเยนซี่โฆษณา ก็ได้พยายามเทโฆษณาไปยังสื่อที่เลือกข้างฝ่ายการเมือง ตรงกับกลุ่มตัวเอง ซึ่งสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ ทำอย่างไรให้มีจรรณยาบรรณื ที่ทำให้สื่อไม่เลือกข้างอยู่ได้ ทั้งนี้ยังอยากเห็นองค์กรวิชาชีพสื่อ หรือองค์กรอื่นๆที่ออกมาเรียกร้อง ถึงกรณีนี้อย่างจริงจัง กับคนอื่นที่มีกรณีเดียวกันด้วย เพื่อให้สบายใจว่าเรามีมาตรฐานเดียวกัน

เรื่องของจรรยาบรรณของแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน 

ด้านนายพนา ทองมีอาคม กรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่าจริยะธรรมสื่อ คือสิ่งที่ทำให้คนในวิชาชีพ ดูมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ซึ่งมีสภาพบังคับเฉพาะคนในวิชาชีพ แต่ก็มีคำถามที่ว่า ใครจะมีจรรยาบรรณดีกว่าคนอื่น ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องของวิธีการคิด ในสื่อยักษ์ใหญ่ต่างประเทศอย่าง New york time เขาก็มีจรรยาบรรณของเขาเอง ไม่ได้ยึดตามสมาคมของต่างประเทศ ดังนั้นเรื่องของจรรยาบรรณ ของแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน เหมือนหลักข้อเชื่อของแต่ละศาสนาที่ไม่ค่อยเหมือนกัน จึงถือเป็นเรื่องที่อ่อนไหว ทั้งนี้คำว่ามืออาชีพ มีความหมายค่อนข้างกว้าง แต่สิ่งสำคัญมากๆคือการแยกตัวเองจากความขัดแย้ง เวลาปฏิบัติหน้าที่ต้องควบคุมการเลือกข้างของตัวเองให้ได้

นายพนากล่าวอีกว่า ตนมีคำถามที่สงสัย การที่ออกมากดดันนายสรยุทธนั้น ได้มีเขียนไว้ก่อนหรือไม่ว่า หากต้องคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วต้องทำอย่างไร เพราะถ้าเป็นกฎหมายจะต้องมีเขียนอย่างขัดเจน ซึ่งเรื่องของจรรยบรณก็ต้องเขียนชัดเจน ถ้าไม่มีเขียนเรื่องนี้ การดำเนินการที่ผ่านมา จะเป็นการทำตามอำเภอใจหรือเปล่า ถ้าเขียนก็เป็นเรื่องดี ประเด็นต่อมาการบังคับใช้จรรยาบรรณกับเขานั้น เขาได้ยอมรับหรือเปล่า ถ้าเขาไม่ยอมรับ ก็เสียความชอบธรรมในการบังคับใช้

"เมื่อเราพูดถึงเรื่องสิทธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายรับรอง เขาก็มีสิทธิที่จะทำงานต่อไป ดังนั้นการที่จะบังคับให้เขายุติบทบาท ก็ต้องเป็นหข้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐไประงับตามที่กฎหมายกำหนด แต่สิ่งที่ผมเห็น 2-3 วันที่ผ่านมานี้ เป็นเพียงล่าแม่มดมากกว่า มีคนชี้ว่าคนชี้ว่าคนนี้คือแม่มด แล้วคนก็รุมด่าว่าทำสิ่งนี้ไม่ดี จนแม่มดมีอันเป็นไป เพราะไม่ได้มีหลักเกณฑ์อะไรเลย และไม่สามารถนำกรณีนี้ไปศึกษา หรือทำอะไรต่อยอดเพิ่มเติมได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดอะไรขึ้นมา คนก็อาจจะต้องปรึกษาหมอผีผู้ใหญ่ว่า คนนี้เป็นแม่มดหรือไม่ ควรเผาดีไหม ผมมองว่าการเป็นมืออาชีพ คือคุณต้องแยกตัวเองออกจากการงานอาชีพของคุณได้ ถ้าแยกไม่ได้ ไม่ว่าจะเขียนกฎเกณฑ์อะไร ก็จะไม่มีความเป็นมืออาชีพ" กรรมการพัฒนาสื่อฯ กล่าว

ต้องตั้งคำถามว่าเรื่องจริยธรรมจริงๆแล้วมันคืออะไร

ขณะที่นายสุปัน รักเชื้อ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพ สื่อ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่าเรื่องของจริยธรรมสื่อ หากว่ากันด้วยหลักการจริง จะค่อนข้างเยอะ ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่เราต้องตั้งคำถามว่าเรื่องจริยธรรมจริงๆแล้วมันคืออะไร โดยที่ผ่านมาเราอนุมานว่าคือความดีของคน โดยเป็นนิยามที่เข้าใจร่วมกัน เป็นเรื่องการทำหน้าที่การนำเสนอที่ไม่ละเมิดผู้อื่น รวมถึงความประพฤติของคนสื่อที่ไม่เข้าสู่การคอรัปชั่น ซึ่งในทางปฏิบัติ คนที่เคร่งเรื่องนี้ก็มีอยู่ คนที่ไม่ทำตามนี้ก็มีอยู่เช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้มีการดำเนินการเรียกร้องอย่างไม่เลือกปฏิบัติ บนหลักคิด “เสรีภาพบนความรับผิดชอบ” อย่างกรณีของนายกนก รัตน์วงศ์สกุล ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง เคยมีกรณีอื้อฉาว โดยทางต้นสังกัดให้พักงานจนกว่าจะเคลียร์เรื่องได้ จึงจำเป็นเรียกร้องให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด มันไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งแถลงการเราขอต่อกรณีนายสรยุทธนั้น ก็เพียงแค่พักงานก่อนในช่วงที่มีคดีเท่านั้น

นายสุปัน กล่าวอีกว่า สังคมเคยถามว่าสมาคมฯมีความล้าหลังหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้เราก็ต้องถามตัวเอง แต่เรื่องระเบียบจรรยาบรรณ ตนไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิใคร เพราะไม่ได้เป็นการบังคับ แต่เป็นการร้องขอ่มากกว่า ทั้งนี้เรื่องของบรรทัดฐานทางการเมืองในสื่อนั้น ที่ผ่านมาเราได้เคลื่อนไหวในเรื่องนี้ตลอด แต่ไม่ได้เจาะเป็นรายบุคคล แต่เราก็ยอมรับว่ามุมมองของคนภายนอกยังมองว่าสมาคมฯ มีการดำเนินการแบบสองมาตรฐาน ซึ่งการเคลื่อนไหวแต่ละครั้งก็ต้องมีคนที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เราขอน้อมรับทุกคำวิจารณ์ แต่ขอเรียนว่าเราได้พยายามทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มกำลังแล้ว


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ฟันธง สรยุทธ ยุติบทบาท ไม่ใช่จรรยาบรรณสื่อ

view