http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล


ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ในวันที่อะไรต่ออะไรยังไม่ชัดเจน ผมพอจะจำได้ว่าตอนประกาศร่างกฎหมายที่ดินออกมาได้ไม่นาน ก็มีกูรูหลายคนออกมาพูดถึงเรื่องนี้เยอะแบบกลัวตกกระแส ว่าการวางแผนภาษีที่ดินควรจะจัดตั้งเป็นนิติบุคคล และในเดือนนั้นกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายอดการจดทะเบียนบริษัทเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ไม่นานมานี้ธนาคารและบริษัทสัมมนาใหญ่มีการจัดสัมมนาเพื่อให้ผู้ประกอบการจัดการเกี่ยวกับภาษีที่ดินที่มีอยู่ก่อนปี 61 เพื่อประโยชน์ทางภาษี แนะนำให้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลและให้จัดการทำธรรมนูญครอบครัวเพื่อการจัดการที่ดินให้ชัดเจน ผมมีข้อสงสัยว่าในวันที่อะไรก็ยังไม่ชัดเจนเราจะจัดการทรัพย์สินให้ชัดเจนโดยมีผลประโยชน์ทางภาษีได้อย่างไร

ถ้าผมสมมุติว่าถ้าอะไรต่ออะไรชัดเจนแล้ว การจัดตั้งนิติบุคคลจะมีประโยชน์ทางด้านภาษีจริงหรือไม่
ลองพิจารณาดู ถ้าจัดตั้งเป็นนิติบุคคลโดยการโอนทีดินทั้งหมดไปอยู่ในนิติบุคคล เมื่อขายมีกำไรหากต้องการนำเงินออกจะนำเงินออกมาได้อย่างไรโดยไม่เสียภาษี ไปๆมาๆ อาจเสียภาษีมากกว่าเดิมเพราะหากจะนำเงินออกในลักษณะเงินปันผล ก็ต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้ง จึงไม่น่าจะเป็นการประหยัดภาษีที่ดีที่สุดอย่างที่เขาว่ากัน

ถ้าบริษัทไม่ดีอาจเสียภาษีมาก ควรเป็นบุคคลธรรมดาหรือไม่ เรื่องนี้ก็ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า จะดีกว่าหรือไม่เนื่องจากบุคคลธรรมดาถ้าเป็นบ้านหลังแรกได้รับยกเว้น แต่หลังจากนั้นก็ต้องเสียภาษีตามปกติ หากที่ดินที่มีอยู่ไม่ได้ทำอะไร ก็ต้องเสียภาษีในอัตราที่รกร้างว่างเปล่าซึ่งเป็นอัตราที่สูง อาจจะดีตรงการขายสามารถใช้ตามที่ถูกหักภาษีไว้ณ.กรมที่ดิน ไม่ต้องนำเงินได้จากการขายมารวมกับเงินได้ประเภทอื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปี คำตอบคือ การเก็บเป็นชื่อบุคคลก็อาจจะไม่ใช่ทางที่ดีที่สุด
ดังนั้นถึงจะเป็นวันที่อะไรๆชัดเจน ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถกำหนดได้ชัดเจนว่าการถือครองที่ดินในรูปแบบไหนจะมีประโยชน์ที่สุด

ไม่มีหน่วยภาษีแบบไหนที่เหมาะสมที่สุด นอกจากคุณจะรู้ว่าที่ดินส่วนไหนจะเอาไปทำอะไร จึงออกแบบภาษีที่เหมาะสมได้ ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

Tags : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

view

*

view