สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

CSR และ Social Entrepreneurship (จบ) ช่วยบรรเทาปัญหาสังคมได้อย่างไร

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ CSR Talk

โดย ดร.อัศวิน จินตกานนท์ กรรมการกิตติมศักดิ์มูลนิธิรักษ์ไทย ที่ปรึกษากลุ่มบริษัททีมและที่ปรึกษาอาวุโสมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่ง ประเทศไทย



เวลานี้ เรื่องซีเอสอาร์เป็นประเด็นที่องค์กรใด ๆ ก็ทำกัน แต่จะทำดีหรือไม่ ทำใช่หรือเปล่า ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ ขณะเดียวกัน ปัญหาที่ซับซ้อนในสังคมที่ภาคธุรกิจจะยื่นมือมาร่วมแก้ไขหรือพัฒนาได้ ก็ยังมีอีกหนึ่งโมเดล ความคิดที่ถูกพูดถึงหนาหูด้วยเช่นกัน และเรื่องนั้นคือ "ผู้ประกอบการสังคม หรือ Social Entrepreneur" นั่นเอง

บทบาท Corporate Social Responsibility (CSR)

มูลนิธิ และ NGOs ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนตั้งแต่เด็กจนถึงคนชรา โดยเริ่มจากการศึกษาในระดับประถม มัธยม มหาวิทยาลัย การศึกษานอกโรงเรียน จนกระทั่งสนับสนุนการพัฒนาอาชีพ นอกจากนี้ยังมีบทบาทที่จะเสริมให้สังคมมีความยั่งยืน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือในลักษณะที่มีความฉุกเฉิน

ยกตัวอย่างเช่น กำไรที่มีของเครือปูน ซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ของมูลนิธิปูนซิเมนต์ไทย ทำให้มูลนิธิมีความอิสระที่จะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ถูกบังคับให้ต้องทำในสิ่งที่ผู้บริจาคอื่น ๆ สั่งมาอย่างเดียว มูลนิธิเคยระบุว่า เรายินดีที่จะใช้ทุนทรัพย์ของเราเพื่อประโยชน์ของชาวบ้านและชุมชนเล็ก ๆ แม้ว่าเราจะไม่ช่วยสร้างวัดหรือวิหาร แต่เราช่วยสนับสนุนการสร้างห้องน้ำในวัดเพื่อประโยชน์ของชาวบ้าน

มูลนิธิ หลายต่อหลายแห่งไม่มีความอิสระเท่ากับมูลนิธิที่ได้กล่าวถึง หลายแห่งอยู่ได้ด้วยเงินสนับสนุนและเงินบริจาค ซึ่งในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว การบริจาคจากธุรกิจภายในและต่างประเทศก็ชะลอตัวลงบ้าง ตัวอย่างเช่น เมื่อ พ.ศ. 2549 เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจากการขยายตัวของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใน สหรัฐอเมริกา (ที่เรามักจะเรียกกันว่า Hamburger Crisis) เมื่อมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กลดลง ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ลงทุนในหลักทรัพย์และใช้ทรัพย์สินนี้สนับสนุนกิจกรรม CSR เห็นว่ามูลค่าทรัพย์สินของเขาลดลง ก็ลดการสนับสนุนและการบริจาคเงินลงมาก องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงกำไร (NGO) ที่รอเงินบริจาค ก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก

NGO บางแห่งที่ทำธุรกิจหารายได้ หรือตั้งธุรกิจขึ้นมาเพื่อหารายได้นำไปใช้ในกิจกรรม CSR คือทำตัวเป็นผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneurship) สามารถกล้อมแกล้มไป โดยใช้รายได้จากธุรกิจเล็ก ๆ ของเขาจุนเจือไปก่อน แต่การดำเนินการก็ลดขนาดลงพอสมควร

ในขณะนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจแสดงว่าเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจาก Hamburger Crisis เริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ตามมาติด ๆ และเพิ่งจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ที่ประเทศกรีซ (Greece) และลามมาที่ประเทศสเปน (Spain) แม้ว่า เยอรมนีและฝรั่งเศสพยายามออกมาประกาศว่าจะป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามต่อไป อย่างไรก็ดี ก็อาจมีผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกาได้

ในขณะที่เงินสกุลยู โรเริ่มอ่อนตัวลงมากแล้ว และประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบบ้าง เนื่องจากประเทศไทยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปิดและทำธุรกิจกับประชาคม ยุโรปพอควร

หันมาที่ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรงและ น่าสลดใจในประเทศไทย ปัญหานี้อาจจะฉุดเศรษฐกิจไทยลงไปได้มาก เนื่องจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยอย่างมาก นอกจากนี้นักลงทุนต่างประเทศยังมีความเชื่อมั่นในประเทศไทยลดลง การลงทุนในประเทศที่ไม่มีความมั่นคงและไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองมีผลกระทบ ต่อการลงทุนมากที่สุด การบริจาคให้กับ CSR ในประเทศไทยจะลดลง ทำให้การดำเนินการด้าน CSR ต้องลดขนาดลงพอสมควร

บทบาทของ Social

Entrepreneurship (SE)


ใน อนาคตกิจกรรมของ NGO หรือองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงกำไร ที่มีกิจกรรม CSR จะพึ่งเงินบริจาคจากธุรกิจอย่างเดียวไม่ได้เพราะความช่วยเหลือจากต่างประเทศ จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจาก

"ผู้บริจาคมีทัศนคติว่าประเทศไทยเริ่มที่จะเป็นประเทศพัฒนาและไม่ต้องการความช่วยมากเท่าเดิม

"ผู้ บริหารธุรกิจในประเทศที่พัฒนามองว่า ประเทศในทวีปแอฟริกาต้องการความช่วยเหลือมากกว่าประเทศอื่น ๆ และหันไปช่วยบรรเทาความยากจนในทวีปนั้นมากขึ้น

ดังนั้น NGO ในประเทศไทยจะต้องหาทางช่วยตัวเองมากขึ้น หนทางหนึ่งก็คือการพัฒนาธุรกิจเพื่อหาทรัพยากรมาทำกิจการ CSR ซึ่งเรียกว่า Social Entrepreneurship ตัวอย่างเช่น การที่สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนเปิดร้านอาหารชื่อว่า C & C หรือ Cabbages and Condoms 5 สาขาในประเทศไทย ที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน และเปิดโรงแรม Birds and Bees ที่พัทยา หาเงินเข้าสมาคมเพื่อนำเงินไปใช้เสริมกิจกรรม CSR

ในแง่ของกิจกรรม NGO จะต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และต้องมีความสามารถทำกิจกรรมหลายประเภทมากขึ้น ดังนั้น NGO จะต้องสร้างเครือข่ายกับองค์กรหลาย ๆ ประเภทไว้ด้วย

เช่นใน ฟิลิปปินส์มีโครงการ AMORE ผลิตไฟฟ้าที่มีประโยชน์สร้างความปลอดภัยแก่สตรีและเด็กในชุมชน ทำให้สตรีและเด็กไม่ต้องไปตักน้ำไกล ๆ เพื่อหาน้ำดื่มที่ถูกสุขอนามัย สามารถใช้ปั๊มน้ำดูดน้ำมาที่หมู่บ้าน เด็กมีเวลาพักผ่อน ดูหนังสือและสามารถทำการบ้านหลังพระอาทิตย์ตกดิน ทำให้การเรียนดีขึ้น สุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้น เนื่องจากได้ดื่มน้ำสะอาด โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์

ทั้งนี้ การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่กระทบกระเทือนสิ่งแวดล้อมและไม่ก่อให้เกิดมล ภาวะ ในขณะนี้ หลายหมู่บ้านในแอฟริกาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ทำให้รักษาสภาพแวดล้อม ไม่เพิ่มมลภาวะทางอากาศ และทำให้ชาวบ้านเข้าใจถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่เผาหญ้าทำลายป่าเป็นต้น

ทั้ง นี้ ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการมองประเด็นต่าง ๆ ที่จะสร้างความสามัคคีในสังคม และผู้นำธุรกิจจะเห็นความสำคัญของ CSR ในการสร้างสังคมที่มีความสุข

Tags : CSR Social Entrepreneurship บรรเทาปัญหาสังคม

view