สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ที่จอดรถสุวรรณภูมิฉาวอีก ทอท.ส่อชวดรายได้สัมปทาน300ล้าน/ปี

ที่จอดรถ"สุวรรณภูมิ"ฉาวอีก ทอท.ส่อชวดรายได้สัมปทาน300ล้าน/ปี

 จากประชาชาติธุรกิจ

ชำแหละ ธุรกิจ "ลานจอดรถสุวรรณภูมิ" เอกชนทึ้งกันแหลก หลังยกสัมปทานพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตรให้ "บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด" คุมผลประโยชน์เก็บเงินสดค่าบริการปีละกว่า 300 ล้านบาท ผ่านมา 4 เดือน ทอท.ไม่ได้รับเงินสักแดง ต้องใช้วิธียื่นหนังสือถึงแบงก์กสิกรไทยหักเงินค้ำประกันได้แค� 66 ล้านบาท แถมเป็นคดีความฟ้องร้องกันนัว



นายปิยะพันธุ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเมื่อ 6 กันยายน 2553 ให้ฝ่ายบริหารยกเลิกสัมปทานโครงการสุวรรณภูมิในพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว (long term parking) สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิขนาด 62,380.50 ตารางเมตร รวมทั้งจะเร่งสะสางพื้นที่ทำรายได้กิจกรรมเชิงพาณิชย์บริเวณอื่นเป็นราย โครงการ และอาจพิจารณาไปถึงปัญหาบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เจ้าของสัมปทานลานจอดรถอาคารเอและบีพื้นที่รวมกว่า 1.6 แสนตารางเมตร

หลัง แต่งตั้งบอร์ด 2 คน คือ นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย เข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.แทนนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. โดยเพิ่มนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ เข้าไปเป็นกรรมการชุดนี้ด้วย มีผลทันที 7 กันยายน 2553 เป็นต้นไป

แหล่ง ข่าวระดับสูงจาก ทอท.เปิดเผยว่า ขุมทรัพย์ผลประโยชน์พื้นที่ลานจอดรถสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิขนาดใหญ่สุด ปัจจุบันอยู่บริเวณอาคารเอและบีรวม 12 ชั้น พื้นที่ทั้งหมด 160,000 ตารางเมตร ช่วงเปิดสนามบินปีแรก ทอท.บริหารจัดการเองสามารถเก็บค่าบริการเป็นเงินสดได้เฉลี่ยวันละ 8 แสนบาท-1 ล้านบาท เดือนละ 28-30 ล้านบาท ปีละประมาณ 300-360 ล้านบาท แต่เมื่อกุมภาพันธ์ 2553 ได้เปิดประมูลให้สัมปทานแก่บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอน จำกัด เข้ามาบริหารจัดการลานจอดรถ ดังกล่าว เริ่ม 30 เมษายน 2553 เป็นต้นไป เป็นเวลา 5 ปี จ่ายผลตอบแทนเป็นค่าเช่าพื้นที่ 20 บาท/ตารางเมตร ประมาณเดือนละ 3.2 ล้านบาท และค่าส่วนแบ่งรายได้เฉลี่ยขั้นต่ำเดือนละ 15.7 ล้านบาท

 




ผล ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สัมปทานบริหารลานจอดรถอาคารเอและบีพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร โดยบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอน จำกัด เข้ามาดำเนินธุรกิจเก็บเงินสดจากผู้โดยสารและพนักงานที่นำรถมาจอดใน สุวรรณภูมิทุกวัน ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา พฤษภาคม-กันยายนนี้ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนให้ ทอท.แม้แต่เดือนเดียว มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท สร้างความเสียหายแก่องค์กรเป็นอย่างมาก ทั้งฝ่ายบริหารและบอร์ดไม่ได้เข้าจัดการอย่างจริงจัง

ล่าสุดเมื่อ 26 สิงหาคม 2553 กรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทอท.ได้ทำหนังสือพร้อมกับแนบเอกสารร้องเรียนของนายธนกฤต เจตกิตติโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด ส่งถึงปลัดกระทรวงคมนาคม (นาย สุพจน ทรัพย์ล้อม) อ้างได้สิทธิเป็นผู้ลงนามสัญญาในฐานะบริษัทเจ้าของสัมปทาน ลานจอดรถอาคารเอและบีในสุวรรณภูมิ แต่ถูกนายธรรศ พจนประพันธ์ กรรมการอีกคนนำบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอน จำกัด เข้ามาแย่งจัดเก็บค่าบริการลานจอดรถจากลูกค้า และบุกรุกเข้าไปยังสำนักงาน ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ ละเมิดสิทธิ์และสร้างความ เสียหาย จึงได้ยื่นฟ้องแพ่งเป็นเงิน 50 ล้านบาท เพราะตั้งแต่ 30 เมษายน-30 กรกฎาคม 2553 ได้ร้องเรียนไปยังนายนิรันดร์ ธีรนาทสิน ผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิมาตลอด

พร้อมทั้งกล่าวหาว่า ระหว่างที่หุ้นส่วน 2 คนของบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด คือนายธนกฤต กับนายธรรศ พจนประพันธ์ มีเรื่องขัดแย้งกันถึงขั้นอีกฝ่ายพกพาอาวุธเข้าไปในพื้นที่เขตพิเศษของ ทอท. นายนิรันดร์ซึ่งมีหน้าที่แก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายกลับ ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ละเมิดกันขึ้น เนื้อหาโดยสรุประบุเป็นเหตุให้จัดเก็บเงินส่ง ทอท.ไม่ได้

หลังจาก นั้นนายธรรศ พจนประพันธ์ ยังได้ทำหนังสือขอให้นายนิรันดร์กับนางดวงใจ คอนดี รองผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ ระงับการจ่ายเงินค่าหลักประกันซอง 20 ล้านบาท ผู้บริหารทั้ง 2 คนกลับมีคำสั่ง เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว ดังนั้นนายธนกฤตจึงฟ้องต่อศาลว่า นายนิรันดร์ ผอ.สุวรรณภูมิ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริตอีกประเด็น

จากนั้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2553 นายนิรันดร์ได้มีหนังสือไปถึงธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสยามสแควร์ แจ้งให้ธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือเลขที่ 53-42-00008-0 ลงวันที่ 28 เมษายน 2553 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกัน ทอท. ด้วยเหตุผลที่ว่า บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจ เมนท์ จำกัด ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา ที่ได้สัมปทานบริหารจัดการลานจอดรถอาคารเอและบี วงเงินรวมประมาณ 64,789,921.47 บาท พร้อมค่าปรับผิดนัดชำระเงินอีก 2,138,389.36 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 66,928,310.83 บาท ต่อมาธนาคารกสิกรไทยได้นำเงินดังกล่าวไปชำระแก่ ทอท. เมื่อ 21 กรกฎาคม 2553

นายธนกฤตยังอ้างอีกว่า ทอท.ไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวได้ เพราะสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการบริหารจัดการอาคารจอดรถเอและบีในสุวรรณภูมิ แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกเก็บเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนค้างชำระจากเงินค้ำ ประกันสัญญาดังกล่าวได้เลย พร้อมทั้งอ้างข้อกล่าวหาว่า นายนิรันดร์ถูกฟ้องจากตนถึงการกระทำโดยเจตนาทุจริตต่อกรณีดังกล่าว

รวม ถึงได้ยกเหตุผลเรื่องที่นายนิรันดร์ทราบเป็นอย่างดีว่า ตั้งแต่ 30 เมษายน 2553 เป็นต้นมา บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับ ทอท.แต่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ที่ได้ทำสัญญา ไว้ เพราะมีกลุ่มบุคคลบุกรุกเข้าไปในปาร์คกิ้งและ ทอท.ไม่ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ด้วย จึงเข้าไปเก็บเงินไม่ได้เลย

"ประชา ชาติธุรกิจ" ตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนบริษัทกับกรมทะเบียนธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เป็น กลุ่มเดียวกัน มีผู้ถือหุ้นหลักคือ นายจุมพล ญาณวินิจฉัย กับ น.ส.ฤชอร จันทรศุภาวงศ์

บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เปิดเมื่อ 22 กรกฎาคม 2545 ผลการดำเนินงานปี 2552 มีรายได้ 5,026,416.03 บาท กำไรสุทธิ 1,593,902.38 บาท ส่วนบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เปิดเมื่อ 31 มีนาคม 2553 จากนั้น เมื่อ 30 เมษายน 2553 ก็ลงนามเป็นคู่สัญญาได้สัมปทานเข้าบริหารลานจอดรถในสุวรรณภูมิจาก ทอท.

กรณี ดังกล่าวมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องตั้งข้อสังเกตว่า การพิจารณาอนุมัติสัมปทานลานจอดรถของ ทอท.ในสุวรรณภูมิซึ่งมี พื้นที่มหาศาลและเกี่ยวข้องกับเงินสดที่จัดเก็บจากผู้นำรถมาจอดคิดเป็นราย ได้วันละเกือบ 1 ล้านบาทนั้น เพราะเหตุใดจึงเกิดข้อพิพาทและมีปัญหาซับซ้อนปรากฏ โดยที่ ทอท. เสียหายทั้งภาพลักษณ์และผลประกอบการอันเป็นผลมาจากการให้สัมปทานบริษัทที่มี ปัญหาเข้ามาดำเนินการนานถึง 5 ปี

นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และนายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ ตอบคำถามนี้หลายครั้ง โดยระบุเหตุผลเหมือนกันคือ จะดูแลบริษัทคู่สัญญาของ ทอท.เป็นหลัก ไม่ขอเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งภายใน 2 บริษัทนี้ ถึงแม้จะมีบริษัทหนึ่งเป็นคู่สัญญาที่สร้างความเสียหายก็ตาม

อย่างไร ก็ตามก่อนหน้านี้บริษัท ซันไชน์ คอร์ปอเรชั่น (SSE) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เคยระบุจะเข้ามาร่วมทุนกับบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด พร้อมทั้งจะเพิ่มทุนจาก 5 ล้านบาท เป็น 240 ล้านบาท ซึ่งก่อนและหลังเพิ่มทุนสัดส่วน ที่ร่วมถือหุ้นในบริษัทจะเปลี่ยนไป ได้แก่ บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น 55% ต่อไปจะเหลือ 35% บริษัท สแตนดาร์ด พร้อมพ์ จำกัด 40% หลังเพิ่มทุนจะเหลือ 5% นาย ธนกฤต เจตกิตติโชค 5% มีผู้ถือรายใหม่ เข้ามาร่วมคือ บริษัท อควา จำกัด 16.67% บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง 16.67% ซันไชน์ คอร์ปอเรชั่น 12.5% นายธีรพงษ์ บุญศรี 12.5% ประกาศใช้เงินทุนหมุนเวียนชำระเงินทุนภายในกรกฎาคมที่ผ่านมา

 


 

พิษ "สุวรรณภูมิสแควร์-แป้งร่ำ รีเทล" บอร์ดปลดฟ้าผ่าผู้บริหารแถวหน้า ทอท.


จากประชาชาติธุรกิจ




หลัง จาก "ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับวันที่ 2-5 กันยายน 2553 เปิดประเด็นสัมปทานโครงการ "สุวรรณภูมิสแควร์" ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." ที่คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท. อนุมัติ ด้วยวิธีพิเศษเมื่อ 19 สิงหาคม 2553 ให้ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ดำเนินการเป็นเวลา 15 ปี อนุญาตให้ใช้ลานจอดรถระยะยาว พัฒนาทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในพื้นที่ 62,380.50 ตารางเมตร เพื่อทำ 5 โครงการ คือ ตลาดนัด ศูนย์รถยนต์ครบวงจร ศูนย์อาหาร แฟชั่น เอาต์เลต และสถานเลี้ยงเด็ก โดยรับมอบพื้นที่ได้ทันที 1 กันยายน 2553 และทำสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ธันวาคม 2553

ทันทีที่ข่าวเผยแพร่ สู่สาธารณะ นายปิยะพันธุ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. กล่าวด้วยท่าทีฉุนเฉียวเมื่อ 2 กันยายนที่ผ่านมา ถึงความไม่ปกติของ โปรเจ็กต์สุวรรณภูมิสแควร์ โดยพุ่งเป้าตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ทอท.ตั้งแต่ นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ นายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ นางดวงใจ คอนดี รองผู้อำนวยการสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ และผู้เกี่ยวข้อง

นายปิยะ พันธุ์อ้างเหตุผลว่า ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจอนุมัติสัมปทานโครงการเกิน 10 ปีขึ้นไป ต้องรายงานที่ประชุมบอร์ดพิจารณาและลงมติให้เรียบร้อยก่อน จึงจะให้สัมปทานเอกชนได้ แต่ฝ่ายบริหารกลับปฏิบัติข้ามขั้นตอนและกระทำภายในเวลาอันรวดเร็วมาก รับเรื่องวันที่ 9 สิงหาคม 2553 คณะกรรมการพิจารณารายได้อนุมัติและทำจดหมายแจ้งผู้ประกอบการทันที วันที่ 19 สิงหาคม 2553

เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กันยายน นายปิยะพันธุ์ เรียกประชุมบอร์ดเร่งด่วนวาระพิเศษ เพื่อพิจารณาและลงมติเฉพาะเรื่องเดียวคือ ยกเลิกสัมปทานโครงการสุวรรณภูมิสแควร์ ที่ ทอท.ให้สิทธิ์บริษัท แป้งร่ำ รีเทล ดำเนินการ 15 ปี ถือเป็นโมฆะ นอกจากขั้นตอนอนุมัติจะไม่ปฏิบัติตามระเบียบแล้ว คุณสมบัติของบริษัทที่ได้ไม่เหมาะสมมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท มีผลประกอบการล่าสุดแค่ 1,200 บาท จะมาดูแลโครงการลงทุนซึ่งมีมูลค่า 450 ล้านบาทได้อย่างไร

และจะใช้กรณีนี้เป็น ต้นแบบนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเพิ่มหลักเกณฑ์การพิจารณาสัมปทานของ ทอท. ให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยต้องครอบคลุม 4 ด้าน คือ ทุนจดทะเบียนกับภารกิจการลงทุนที่เข้ามารับผิดชอบ หลักทรัพย์ค้ำประกัน ประสบการณ์ ทำธุรกิจ และมาตรฐานการดำเนินงาน

รวมทั้งได้ขอมติที่ ประชุมบอร์ด ทอท. วันที่ 6 กันยายน 2553 ลงโทษผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ปลดนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ให้เป็นแค่กรรมการในฐานะกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. แล้วแต่งตั้งตัวแทนจากบอร์ดเข้ามานั่งในกรรมการชุดนี้ 2 คน คือ นายมานิตย์ วัฒนเศรษฐ์ ปลัดมหาดไทย รับหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณารายได้ นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อัยการสูงสุด เป็นกรรมการเพิ่มอีก 1 คน ย้ายโดยสลับตำแหน่ง นายนิรันดร์ ธีรนาถสิน กับนายอนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร จากผู้อำนวยการสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ไปเป็นผู้อำนวยการสนามบินนานาชาติดอนเมือง และนางดวงใจ คอนดี จากรองผู้อำนวยการสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญ

วัน ที่ 7 กันยายน 2553 มีรายงานจากสำนักงานใหญ่ ทอท.ว่า ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายพัฒนาธุรกิจ ที่เพิ่งจะเข้ามาทำงานได้ไม่ถึงปี และเป็นผู้เสนอแผนงานให้นำที่ดินว่างเปล่าในสุวรรณภูมิและสนามบินภูมิภาคของ ทอท.มาให้เอกชนพัฒนาเป็นพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ อยู่ระหว่างตัดสินใจยื่นใบลาออก เช่นเดียวกับนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ก็จะยื่นใบลาออกจากกรรมการผู้อำนวยการใหญ่เช่นกัน ทั้งที่จะเกษียณเดือนมีนาคม 2554 แต่พนักงานพยายามขอร้องและช่วยกันยับยั้งไว้

 


 

แป้งร่ำฯขอความเป็นธรรม "โสภณ" แจงเจรจาเช่าพื้นที่ 2 ปี ไม่ได้รวบรัด

จากประชาชาติธุรกิจ

นายพีรยศ วงศ์วิทวัส กรรมการผู้จัดการ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานการเช่าพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวเพื่อดำเนินกิจกรรมเชิง พาณิชย์ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.สั่งยกเลิกสัมปทาน เนื่องจากดำเนินการผิดขั้นตอน และมีการโยกย้ายผู้บริหาร ทอท. เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าจะยื่นหนังสือถึงนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานบอร์ด ทอท. เพื่อขอความเป็นธรรมในเรื่องดังกล่าว โดยยืนยันว่าที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนและมีความโปร่งใส  
"หากเห็นว่าขั้นตอนการอนุมัติไม่ถูกต้อง และจำเป็นต้องผ่านการอนุมัติจากบอร์ด ทอท. บริษัทก็จะขอโอกาสยื่นข้อเสนอใหม่ให้เป็นไปตามกระบวนการ"  
นายพีรยศกล่าวว่า โครงการนี้บริษัทได้ยื่นข้อเสนอและปรับปรุงแผนงานมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นโครงการที่มีการรวบรัดอนุมัติตามที่เป็นข่าว และการดำเนินโครงการบริษัทต้องเป็นผู้ลงทุนใหม่ทั้งหมด ขณะที่ตลาดระยะเวลาสัญญา 10 ปี ทอท.จะได้รับผลประโยชน์จากค่าเช่าพื้นที่เป็นเงินกว่า จากโครงการประมาณ 300 ล้านบาท
  "ก่อนหน้านี้พื้นที่ดังกล่าวไม่ค่อยมีคนสนใจ แต่เรามีแผนเข้าไปพัฒนา มีการดำเนินการขั้นตอน และล่าสุดได้รับอนุมัติจากฝ่ายบริหาร ทอท.ให้เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ แต่ก็มาชะงัก ทั้งที่เราได้ลงทุนในเรื่องการออกแบบและสำรวจไปแล้วไม่ต่ำกว่า 5-6 ล้านบาท จึงอยากขอความเป็นธรรมให้มีการพิจารณาอนุมัติเรื่องนี้อีกครั้ง"


ผ่า ! ลานจอดรถฉาวสุวรรณภูมิ"ปาร์คกิ้ง-แป้งร่ำ" ซ่อนเงาบิ๊กการเมืองยึด ทอท.

จากประชาชาติธุรกิจ


ปัญหา ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." เกี่ยวกับการแจกสัมปทานบริษัทเอกชนเข้ามาใช้พื้นที่ในสนามบินนานาชาติ สุวรรณภูมิทำกิจกรรมเพื่อหารายได้ โดยลงนามสัญญาแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วน แต่เกือบจะทุกโครงการล้วนมีเรื่องราวซ่อนเงื่อนปมถูกตรวจสอบเสมอ

เกือบ 4 ปีที่ผ่านมา หลังจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเปิดให้บริการตั้งแต่ 28 กันยายน 2549 การช่วงชิงสัมปทานพื้นที่ชิ้นใหญ่ในอาคารผู้โดยสารไปทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ต่าง ๆ ลงตัว ก็มาถึงการจัดสรรพื้นที่รอบนอกอาคารเริ่มร้อนแรงขึ้นทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลานจอดรถซึ่งกระจายอยู่เกือบ 3 แสนตารางเมตร

นาย นิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ กล่าวว่า การเปิดสุวรรณภูมิในระยะแรก 1-3 ปีนั้น ทอท.บริหารพื้นที่ลานจอดรถเองทั้งหมด บริเวณอาคารเอและบีพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร จอดรถได้วันละประมาณ 5,000 คัน โดยใช้วิธีเหมาจ้าง (outsource) พนักงานจากบริษัทเอกชนทำหน้าที่ผู้จัดเก็บค่าบริการ แต่ละวันมีรายได้จากลูกค้าที่นำรถเข้ามาจอด 8 แสน-1 ล้านบาท จากนั้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เปลี่ยนนโยบายเปิดให้บริษัทเอกชนยื่นประมูลสัมปทานไปทำ มีสัญญา 5 ปี

ผู้ บริหารสนามบินพาณิชย์เมืองไทยกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตามแผนธุรกิจสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งมีโครงการจะนำพื้นที่ว่างเปล่ามาพัฒนาเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรมเชิง พาณิชย์ (non-aero) เป็นแนวคิดที่ถูกต้องแต่วิธีการ ต้องโปร่งใส มีธรรมาภิบาล เพราะสุวรรณภูมิเป็นขุมทรัพย์ที่ทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ และอีกหลายกลุ่มอาชีพพยายามเข้ามาใช้ประโยชน์

กรณีการให้สัมปทาน พื้นที่ลานจอดรถสนามบินสุวรรณภูมิกับบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด บริเวณอาคารเอและบี ขนาดพื้นที่ 1.6 แสนตารางเมตร สัญญา 5 ปี เริ่ม 30 เมษายน 2553-31 มีนาคม 2558 ประกันรายได้ขั้นต่ำ 15.7 ล้านบาท ซึ่ง ลดลงเกือบ 50% ต่างจากเดิมที่ ทอท.จัดเก็บรายได้เอง 3 ปีแรก แต่ฝ่ายบริหารก็ยังอนุมัติให้เอกชนทำ




ทันที ที่บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด รับงาน มีปัญหา ตามมาทันทีตลอด 4 เดือน เมษายน-กันยายน 2553 ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ทอท.โดยตรง 2 ประเด็นใหญ่ คือ ประเด็นแรก กรรมการปาร์คกิ้งทะเลาะ ฟ้องศาล ข่มขู่ กล่าวหา ส่งคำร้องทุกข์ไปให้กรมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตรวจสอบ ร้องเรียนกรณีมีกรรมการปลอมแปลงเอกสารลายเซ็นเพื่อเข้าทำสัญญา กับ ทอท.

เนื่อง จากกรรมการกลุ่มเดียวกันถือหุ้นโยงใยกันอยู่ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท สแตนดาร์ด พรอมพ์ จำกัด ของนายจุมพล ญาณวินิจฉัย กับนายธนกฤต เจตกิตติโชค เป็นผู้ชนะประมูลสัมปทานลานจอดรถอาคารเอและบีสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อ 16 มีนาคม 2553 ในสัญญากำหนดให้ นำเงินค้ำประกันมาวาง 105,930,000 บาท พร้อมกับหลักประกันสัญญาเช่าพื้นที่อีก 13,568,880 บาท

ระหว่างรอ แสดงเงินค้ำประกันและหลักประกันสัญญาเช่าพื้นที่ รวมกว่า 135 ล้านบาทนั้น กรรมการบริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด กับบริษัท สแตนดาร์ด พรอมพ์ จำกัด แจ้ง ทอท.ว่า จะขอจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด เมื่อ 31 มีนาคม 2553 เพื่อเข้ามาดูแลสัมปทานลานจอดรถพื้นที่ ดังกล่าวในวันที่ 30 เมษายน 2553 เป็นต้นไป

มีการตั้งข้อสังเกตว่า การจดทะเบียนเปิดบริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัดนั้น กรรมการกลุ่มเดิมได้นำผู้ถือหุ้นใหญ่คนใหม่คือ นายธรรศ พจนประพันธ์ เข้ามาเป็นนายทุนทางการเงินและหลักทรัพยทำตามเงื่อนไข ทอท. ผลสุดท้ายทั้ง 3 คนก็ขัดแย้งกัน

ถึงขั้นทำหนังสือร้องเรียนไป ยัง นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ 26 สิงหาคม 2553 รวมทั้งฟ้องคดีอาญาและแพ่ง นายนิรันดร์ ธีรนาถสิน ผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ และ นางดวงใจ คอนดี รองผู้อำนวยการสุวรรณภูมิ

ขณะเดียวกันก็ไม่ได้นำ รายได้ที่จัดเก็บค่าบริการส่งให้ ทอท.ตามสัญญา เดือนละ 15.7 ล้านบาท เป็นเวลากว่า 4 เดือน ทางฝ่ายบริหารสุวรรณภูมิต้องหาทางออกโดยแจ้งธนาคารกสิกรไทย ในฐานะผู้ค้ำประกัน เพื่อขอหักเงินตอบแทนรายได้จากบัญชี เมื่อ 21 กรกฎาคม 2553 ได้เพียง 66 ล้านบาทเท่านั้น ขณะนี้เงินค้ำประกันของปาร์คกิ้งฯในธนาคารนั้นเหลือให้หักได้ถึงกันยายนนี้ เท่านั้น

แต่สัญญาสัมปทานทั้งหมด ทอท.ยังไม่มีท่าทีจะยกเลิกทั้งที่เอกชนถูกตั้งข้อสังเกตว่า กระทำผิดเงื่อนไขสัญญาทุกประการ หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ไม่เพียงพอ ไม่จัดส่งรายได้ ทอท.ที่เก็บเงินสดจากลูกค้า รวมถึงค่าสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานการบินและพนักงานบริษัทต่าง ๆ ในสุวรรณภูมิ อีกเดือนละ 4-5 ล้านบาท

ความเสียหายและสูญเสียรายได้ ที่บริษัท ปาร์คกิ้ง แมเนจเมนท์ จำกัด ซึ่ง ทอท.เป็นผู้ให้สัมปทานได้สร้างปัญหาขึ้นมามากมายนั้น จนถึงขณะนี้กระทรวงคมนาคม บอร์ด ทอท. และกระทรวงการคลัง ผู้ถือหุ้นใหญ่ในรัฐวิสาหกิจ ทอท. ยังรีรอดูท่าทีต่อไป

เช่นเดียวกับ สัมปทานลานจอดรถระยะยาว (long term parking) ในสุวรรณภูมิ ที่คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท. เร่งรีบอนุมัติภายใน 10 วัน ให้แก่ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เป็น เจ้าของสัมปทานพื้นที่ 62,380.50 ตารางเมตร เป็นเวลา 15 ปี เพื่อนำไปพัฒนาเป็นโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ "สุวรรณภูมิสแควร์" ปล่อยเช่าแก่ร้านค้ารายย่อย แต่แป้งร่ำฯเสนอค่าตอบแทนรายได้ ให้ ทอท.เพียงเดือนละ 2,207,610 บาทเท่านั้น

นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. ย้ำว่า หลังบอร์ดเมื่อ 6 กันยายน 2553 มีมติยกเลิกสัมปทานสัญญากับบริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวนั้น เนื่องจากเหตุผล 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก บริษัทดังกล่าวไม่เคยมีผลงานบริหารใด ๆ คุณสมบัติ ขีดความสามารถ ทุนจดทะเบียน ไม่เหมาะทุกประการ แถมผลการ ดำเนินงานมีรายได้แค่ปีละ 5,000 กว่าบาท จะมารับผิดชอบ โปรเจ็กต์การลงทุนขนาด 350-450 ล้านบาท ได้อย่างไร ประเด็นที่ 2 ไม่ไว้ใจการทำงานของคณะกรรมการพิจารณารายได้ซึ่งเร่งรีบทำ พร้อมทั้งอนุมัติ ขัดระเบียบองค์กร อีกทั้งไม่เสนอบอร์ดพิจารณา

จากนั้นนายปิยะพันธ์ ก็ขอมติบอร์ดให้ย้ายนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. จากประธาน คณะกรรมการพิจารณารายได้ เหลือแค่ตำแหน่งกรรมการ แล้วแต่งตั้งบอร์ดไปทำหน้าที่แทน คือ นายมานิตย์ วัฒนเศรษฐ์ ปลัดมหาดไทย กับ นายฉกรรจ์ แสงรักษาการ อัยการสูงสุด

แต่บอร์ดทั้ง 2 คนก็ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นคนใกล้ชิด "นายเนวิน ชิดชอบ" พรรคภูมิใจไทย

ขณะ ที่บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ที่ชวดสัมปทานบริหารพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวสุวรรณภูมินั้น มีรายงานว่า เส้นทางที่เข้ามาเสนอขอรับบริหารพื้นที่เพื่อพัฒนากิจกรรมเชิงพาณิชย์นั้น ก็มีกลุ่มบุคคลอดีตผู้ติดตามนักการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งกับเจ้าของสัมปทาน บริการด้านสุขภาพในสุวรรณภูมิเกี่ยวข้องอยู่ด้วยกับฝ่ายบริหารบางคนของ ทอท. เรื่องราวทั้งหมดจึงอนุมัติกันง่ายดายและรวดเร็ว

พอสัมปทานถูกยก เลิก นายพีรยศ วงศ์วิทวัส กรรมการผู้จัดการ แป้งร่ำ รีเทล พยายามเดินสายอธิบายต่อสื่อมวลชนถึงการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 60 ล้านบาท แต่นายปิยะพันธ์และบอร์ดหลายคนย้ำว่า ประเด็นหลักคือ แป้งร่ำมีผลงานอะไรมาแสดง ผลการดำเนินงานปีละไม่กี่พันบาท เหตุใดถึงเป็นเพียงบริษัทเดียวที่เสนอชื่อเข้ามาโดยไม่มีคู่แข่ง แล้วได้สิทธิบริหารถึง 15 ปี

การช่วงชิงสัมปทานเพื่อหารายได้จาก พื้นที่ลานจอดรถสุวรรณภูมิเกือบ 3 แสนตารางเมตร ทั้ง 3 องค์กรคือ กระทรวงการคลัง เจ้าของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงคมนาคม ผู้กำกับดูแล หน่วยงาน และ ทอท. เจ้าของสนามบิน จะยังผลประโยชน์ชาติ และ/หรือทำเพื่อสนองเฉพาะเพียงบางกลุ่ม โดยนำสุวรรณภูมิ สมบัติของชาติเป็นข้อแลกเปลี่ยนเช่นนั้นหรือ ?

Tags : ที่จอดรถสุวรรณภูมิ ฉาวอีก ทอท. ส่อชวด รายได้สัมปทาน

view