สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดมาตรการคลัง-สถาบันการเงินรัฐ เยียวยาพิษน้ำท่วม 21 จังหวัด 8 แสนครัวเรือน

จากประชาชาติธุรกิจ

สถานการณ์ อุทกภัยล่าสุด สรุปและรายงานโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ระบุว่า สถานการณ์ระหว่างวันที่ 10-22 ตุลาคม 2553 มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 21 จังหวัด 136 อำเภอ 978 ตำบล 6,814 หมู่บ้าน ได้แก่ พิจิตร ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ระยอง ตราด สระแก้ว นครราชสีมา ปราจีนบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ ชัยภูมิ สระบุรี เพชรบูรณ์ นครนายก ศรีสะเกษ ตาก สุรินทร์ บุรีรัมย์ และขอนแก่น ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 284,389 ครัวเรือน 814,406 คน ผู้เสียชีวิต 15 ราย ผู้สูญหาย 1 ราย

ความ รุนแรงของอุทกภัยส่งผลให้ภาครัฐ เโดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ต้องระดมมาตรการและความช่วยเหลือเพื่อบรรเทา ผลกระทบโดยเร่งด่วน ครอบคลุมตั้งแต่ความช่วยเหลือทางการเงิน มาตรการผ่อนปรนสินเชื่อ และมาตรการอื่นๆ ดังต่อไปนี้

มาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบจากอุทกภัย ในส่วนของกระทรวงการคลัง รวมถึงหน่วยงานและสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแล มีมาตรการช่วยเหลือซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ประกอบด้วย

1.ความคล่องตัวด้านการเงินเพื่อให้ส่วนราชการให้ความ ช่วยเหลือ (กรมบัญชีกลาง)

- เตรียมพร้อมอนุมัติวงเงินทดรองราชการเพิ่มเติมตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดร้องขอ

(อำนาจอนุมัติอธิบดีกรมบัญชีกลาง 200 ล้านบาท/ปลัดกระทรวงการคลัง 500 ล้านบาท/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 500 ล้านบาทขึ้นไป)

- ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการพัสดุ ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการมอบหมายบุคคลหรือคณะบุคคลในการใช้ เงินทดรองราชการจัดซื้อและตรวจรับพัสดุไปก่อน แล้วจึงรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายหลัง

2.มาตรการช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุที่ได้รับความเดือดร้อน (กรมธนารักษ์)

- ลดภาระค่าเช่าผู้ที่เช่าที่ดินราชพัสดุ ดังนี้

1) ผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อที่อยู่อาศัย

- กรณีเสียหายบางส่วนให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่า เป็นเวลา 1 ปี

- กรณีเสียหายทั้งหลังให้ยกเว้นเป็นเวลา 2 ปี

2) ผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตร ให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 ปี

3) ผู้เช่าอาคารราชพัสดุที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเป็นเวลา 3 วัน ให้ยกเว้นการเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 เดือน

4) ให้ยกเว้นการคิดเงินเพิ่ม กรณีที่ผู้เช่าไม่สามารถชำระค่าเช่า ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดที่ต้องชำระภายในเวลาที่กำหนด

3.ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

3.1 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) :

หนี้เงินกู้เดิม

1) กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต : จำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส.รับภาระเอง

2) กรณีเกษตรกรลูกค้าประสบภัยร้ายแรงไม่เสียชีวิต

- ในกรณีที่สูญเสียรายได้เกินกว่าร้อยละ 50 ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี สำหรับลูกค้าที่มีกำหนดชำระในปีบัญชี 2553-2555

- ในกรณีที่สูญเสียรายได้น้อยกว่าร้อยละ 50 ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 1 ปี

- งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2553-2555 โดย ธ.ก.ส.จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลตามอัตราดอกเบี้ย MRR-1 ซึ่งขณะนี้ MRR เท่ากับร้อยละ 5.75 ต่อปี

- หากการให้ความช่วยเหลือข้างต้นยังคงเป็นภาระหนักแก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้

การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต

- ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาท

- ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราดอกเบี้ยปกติที่ ธ.ก.ส.เรียกเก็บจากลูกค้าลงร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี

- กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า โดย ธ.ก.ส.จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติดังนี้

1) กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง

2) กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท

3.2 ธนาคารออมสิน :

หนี้เงินกู้เดิม : ลูกค้าสินเชื่อเดิมของธนาคารและลูกค้าสินเชื่อเคหะให้พักชำระหนี้เงินต้นและ ดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และให้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2553

1) ลูกค้าสินเชื่อเดิม : ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปอีกไม่เกิน 6 เดือน

2) ลูกค้าสินเชื่อเคหะ : ปรับลดเงินงวด หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปไม่เกิน 30 ปี

3) ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจและ SMEs : ให้พักชำระหนี้เงินต้นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน

ขยาย ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปอีกไม่เกิน 1 ปี และสามารถกู้เพิ่มเป็นเงินทุนหมุนเวียน ไม่เกินรายละ 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบร้อยละ 1.5 (ตลอด 5 ปี)

4) ลูกค้าสินเชื่อ ธุรกิจห้องแถว : จะให้กู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MLR -1.5 ต่อปี

เงินกู้ใหม่

- ลูกค้าสินเชื่อเคหะเดิมและประชาชนทั่วไป สามารถกู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินรายละ 300,000 บาท ผ่อนชำระภายใน 3-5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีแรกร้อยละ 2.50 ปีที่ 2 คิด MLR ลบร้อยละ 2.00 (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 6) ปีที่ 3 เป็นต้นไปคิด MLR ลบร้อยละ 1.00

3.3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) :

โครงการ เงินกู้เพื่อลดภาระหนี้ ปลูกสร้าง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 (ได้ทั้งลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่) มีรายละเอียด ดังนี้

- ปีที่ 1 เดือนที่ 1-4 คิดอัตราดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 5-12 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR -2.00 (ปัจจุบัน MRR = 6.5%)

- ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR -2.00

- ปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR -1.00

- ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา รายย่อย MRR -0.50 สวัสดิการ MRR -1.00%

- สำหรับลูกค้าธนาคารที่ขอลดภาระหนี้ที่ผ่อนชำระจะได้รับการปลอดผ่อนชำระเงินงวด 4 เดือน

- สำหรับประชาชนที่ไถ่ถอนปลูกสร้างซ่อมแซมที่อยู่อาศัยผ่อนชำระเงินงวดปกติ

3.4 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) :

- ผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้

- ให้กู้เพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงกิจการ

- สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน กู้ซ่อมแซม อนุมัติภายใน 3 วัน

- ลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ธนาคารจะให้การสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติมแก่ลูกค้า เพื่อใช้ในการซ่อมแซมและปรับปรุงกิจการ รวมทั้งเป็นเงินทุนหมุนเวียน

- ส่วนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม ธนาคารผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ โดยให้พักชำระเงินต้นนาน 6 เดือน หรือชำระดอกเบี้ยบางส่วน

3.5 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) :

- ให้สินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เงินทุนหมุนเวียน และสินเชื่ออเนกประสงค์

- ไม่จำกัดวงเงิน โดยพิจารณาตามความเสียหายจริง

- ผ่อนปรนเงินต้นและอัตรากำไรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เดือนที่ 4-24 จะคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 หรือเลือกชำระหนี้เฉพาะส่วนอัตรากำไรเป็นระยะเวลา 12 เดือน ส่วนเดือนที่ 13-24 ชำระทั้งเงินต้นและกำไร โดยจะคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1

3.6 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) : จะพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไขให้กับผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นราย ๆ ไป

3.7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) : จะพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไขการให้สินเชื่อ กรณีสินเชื่อเดิมและ สินเชื่อใหม่เป็นกรณีพิเศษ

3.8 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) : จะประสานงานกับสถาบันการเงินทุกแห่งเพื่อผ่อนปรนค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

4. การจัดตั้งศูนย์บริการผู้ประสบภัยของกระทรวงการคลัง

กระทรวง การคลังมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง โดยสำนักคลังจังหวัดจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนในจังหวัดที่เกิดอุทกภัย (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

Tags : เปิดมาตรการคลัง สถาบันการเงินรัฐ เยียวยา พิษน้ำท่วม 8 แสนครัวเรือน

view