สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คุย 360 องศา กับ เพชร โอสถานุเคราะห์ Creative University ศก.อย่างเดียวไม่ใช่คำตอบของประเทศชาติ

คุย 360 องศา กับ เพชร โอสถานุเคราะห์ Creative University ศก.อย่างเดียวไม่ใช่คำตอบของประเทศชาติ"

จากประชาชาติธุรกิจ

ภาพต่อสาธารณะ "เพชร โอสถานุเคราะห์" คือศิลปินนักแต่งเพลง นักดนตรี และเป็นเจ้าของผลงานเพลงดังอย่าง เพียงชายคนนี้ (ไม่ใช่ผู้วิเศษ), ดิ้นกันมั้ยลุง, รักเธอแต่เธอไม่รู้ และอื่น ๆ อีกมากมาย

รวมถึงผลงานล่าสุดอย่าง เราเป็นคนไทย, สันติภาพอยู่ไหน และในคืนนี้ ซึ่งเป็นผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องอินทรีแดง

ทว่า ในอีกภาพหนึ่ง "เพชร" คือทายาทของ "สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์" ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และบทบาทในมหาวิทยาลัยกรุงเทพนี่เองที่ทำให้ "ประชาชาติธุรกิจ" สนใจที่จะสัมภาษณ์เขา

ทั้งนี้ เพราะตำแหน่งปัจจุบันของเขาคือ ประธานบริหาร และ Chief Creative Officer

ที่ไม่เพียงจะมีหน้าที่ผลักดันให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็น Creative University หรือมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์

หากเขายังจะต้องผลักดันให้วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นศูนย์กลางศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ฉะนั้น ในบทบาทของนักการศึกษาที่แตกต่างจากนักแต่งเพลงและนักดนตรี จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งว่าก้าว ต่อไปของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ภายใต้การกุมบังเหียนของศิลปินนักการศึกษาคนนี้จะเป็นอย่างไร

เพราะทุกคำถามที่เราถามไม่เพียงโฟกัสอยู่เฉพาะเรื่องมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์เท่านั้น

หากยังครอบคลุมไปถึงวิธีคิดและแนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับ social network, การทำงานกับคนรุ่นใหม่

นามธรรมที่อยู่ในใจลึก ๆ ของเขา

หรือแม้แต่เรื่องเพลง

ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษคนนี้จึงตอบกลับมาอย่างหมดใจ

อย่างครบหมด 360 องศา

ไม่เชื่อโปรดอ่าน !

ช่วยเล่าให้ฟังที่มาที่ไปถึงแนวคิดการเป็นมหา"ลัยสร้างสรรค์

มหา"ลัย กรุงเทพเป็นมหา"ลัยเก่าแก่ และเป็นมหา"ลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย เราเป็นมหา"ลัยความคิดสร้างสรรค์มาตั้งแต่คุณพ่อ (สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์) ก่อตั้ง ตอนนั้นเป็นอะไรที่สร้างสรรค์มาก

เพราะก่อตั้งเพื่อพัฒนา นักศึกษาให้กับภาคเอกชน ซึ่งสมัยนั้นไม่มีใครคิด ไม่มีใครมองว่าการสร้างคนเข้าไปทำงานในภาคเอกชนต้องมีความคิดอีกแบบหนึ่ง

เรา มีหลายภาควิชาที่ตรงกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในคำจำกัดความของสากล ไม่ใช่แค่เพียงสารนิเทศศาสตร์ ภาพยนตร์ โฆษณา การสื่อสาร ศิลปกรรม การออกแบบ วิศวกรรม ศาสตร์ ที่คิดค้นนวัตกรรมที่ถือว่าเป็นเรื่องที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมไปถึงนิติศาสตร์ ที่ชำนาญเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

เรามองว่า มหาวิทยาลัยของเรามีหลายอย่างที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และมีหลายคณะที่เก่ง มีเด็กที่มีผลงานโดดเด่นอยู่แล้ว ถ้าเราเอาจริงเอาจังผมคิดว่าน่าจะดี เพราะแต่ละมหา"ลัยควรมีจุดยืนที่ชัดเจนเป็นของ ตัวเอง

l นั่นจึงเป็นเหตุผลที่มาโฟกัสเรื่องครีเอทีฟ

ใช่...เรา มองว่าเรื่องของครีเอทีฟเป็นเรื่องสำคัญ แม้แต่คณะบริหารธุกิจก็มีหลักสูตรที่ครีเอทีฟมาก และสอนให้เด็กมีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ ต้องอาศัยความสร้างสรรค์ถึงจะคิดแผนธุรกิจที่เอาชนะคู่แข่งได้

แล้วมหา"ลัยสร้างสรรค์แตกต่างจากมหา"ลัยอื่นอย่างไร

หลัง จากเราประกาศจุดยืน ทุกอย่างก็ชัดขึ้น เด็กมัธยมรู้ว่าเราแสวงหาเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ เรามีทุนบียู ครีเอทีฟให้สำหรับเด็กที่มีผลงานสร้างสรรรค์เข้ามาเรียนฟรี และมีการจัดเวิร์กช็อปเพื่อต่อยอดผลงานของเขาเพื่อให้ไปคิดต่อ และเราก็มีศูนย์สร้างสรรค์มหาวิทยาลัยกรุงเทพเพื่อทำหน้าที่นี้

ไม่ นานผ่านมาเรามีโปรเจ็กต์ไอเดียแลกล้าน โดยเรามีงบฯให้ 1 ล้านบาทเพื่อให้เด็กทำโครงการแข่งกัน แล้วมาเอาเงินก้อนนี้ไปทำโครงการต่อ เด็กก็ตื่นตัวส่งมามากกว่า 500 โปรเจ็กต์ แต่คัดเหลือเพียง 20 โปรเจ็กต์ และนอกจากเด็กแล้วอาจารย์ทุกคนก็ตื่นตัวเช่นกัน เขาเร่งเตรียมความพร้อม มีกำลังใจ

จริง ๆ อาจารย์ทุกคนมีการทำงานที่สร้างสรรค์อยู่แล้ว แต่เมื่อเราชัด ทุกอย่างก็ชัดขึ้น เพราะหลักสูตรสร้างสรรค์เป็นหลักสูตรที่เหมาะกับบรรยากาศในการนั่งคิด ไม่อึดอัด เพราะบรรยากาศ จะช่วยเป็นตัวกระตุ้น และนี่คือจุดที่ แตกต่างจากมหา"ลัยอื่น

ฟังดูแล้วเรื่องของครีเอทีฟก็ยังเป็นนามธรรม

ต้อง ยอมรับว่าครีเอทีฟโดยปรัญชาคือคอนเซ็ปต์ แต่จริง ๆ แล้วครีเอทีฟเป็นต้นน้ำของนวัตกรรม, ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ การเป็นนามธรรม หรือ รูปธรรมไม่ได้วัดที่จำนวนของประดิษฐ กรรมหรือรางวัล ผมคิดว่าหน้าที่ของเราคือการฉายไฟไปทั่วบริเวณให้เห็นว่าความเป็นครีเอทีฟ คือจุดยืนของเรา

อย่างที่บอกว่ามหา"ลัยทุกแห่งของเมืองไทยเป็นแบบ อนุรักษนิยม เรื่องความคิดสร้างสรรค์จึงไม่ถูกเปิดชัดเจน แต่พอเราเปิดไฟปุ๊บก็จะเห็นปะปนกัน เราไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องครีเอทีฟ เพราะไม่ใช่เผด็จการ เรามองเหมือนการปลูกต้นไม้

ถ้าเรามีบรรยากาศ, มีดิน ฟ้า, อากาศ มีการรดน้ำพรวนดินที่ดี ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตกว่าต้นอื่นที่อยู่ในที่ แคบ ๆ แต่ก็อาจจะมีครีเอทีฟบางอย่างที่เกิดขึ้นในที่แคบ ๆ และกดดันก็ได้ แต่ก็อาจจะออกมาบูดเบี้ยว

อย่างผมเองสมัยเรียนมัธยมเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ผมไม่ได้โทษโรงเรียนในเมืองไทยนะ แต่พอไปเรียนที่อเมริกา มีบรรยากาศเปิดกว้างกว่า ทั้ง ๆ ที่เป็นโรงเรียนธรรมดามาก ความคิดสร้างสรรค์ของผมก็แตกหน่อเบ่งบาน เพราะตอนอยู่เมืองไทยต้องทำตามคำสั่งครูอย่างเดียว ผมคิดว่าถ้าเราทำบรรยากาศให้เปิดกว้างจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เช่น กัน

เพราะต้นไม้หรือดอกไม้จะงอกเงย กี่ต้นก็แล้วแต่ อย่างที่บอกว่าเราเชื่อว่าคนทุกคนมีเมล็ดพันธุ์แห่งครีเอทีฟ

ตรงนี้เกี่ยวกับโครงการไอเดียแลกล้านหรือเปล่า

ก็ พอจะเกี่ยวกันบ้าง อย่างตอนเรา จัดกิจกรรมไอเดียแลกล้าน เด็กจากคณะบัญชีก็คิดอะไรที่แปลกมาก แบบที่เราไม่คิดว่าเด็กบัญชีจะคิดแบบนี้ เขาทำเป็นกระปุกอนาคตให้ใส่เงินเข้าไปพอเต็มแล้วหมูจะวิ่งได้ คือไอเดียมันเจ๋ง แค่นี้ก็สนุกแล้ว แต่เด็กบัญชีไม่มีความรู้ในการประดิษฐ์ เขาก็ต้องไปร่วมมือกับเด็กวิศวะเพื่อสานต่อจนจบโครงการ

พอเราประกาศ ออกไปก็เกิดความ ตื่นเต้น ตื่นตัวที่จะคิด ถึงเราจะคัดเหลือแค่ 20 โปรเจ็กต์ แต่ผมเชื่อว่าเด็กที่ส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 500 โปรเจ็กต์ จากที่ไม่รู้จะทำอะไรเขาใช้เวลามานั่งขบคิดและถกเถียงถึงโครง การนี้ ประสบการณ์แบบนี้ทำให้เกิดเมล็ดพันธุ์ครีเอทีฟ แต่มันไม่ผ่านเพราะเหตุผลบางอย่าง แต่เชื่อว่าเมื่อได้คิดก็สนุกและอยากคิดต่อ โครงการนี้จะมีทุกปี โอกาสอื่น ๆ ก็ยังมีอีก โอกาสที่ความ คิดสร้างสรรค์จะเบ่งบานมันก็มีมากขึ้น

แล้วความหมายของมหา"ลัยสร้าง สรรค์คืออะไร

คือ การให้โอกาส มีหลักสูตรที่ครีเอทีฟ มีสิ่งแวดล้อมที่ครีเอทีฟ จนทำ ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อย่าง BU Day ของศิษย์เก่าเขาต้องการให้แคมปัส ที่รังสิตมีบรรยากาศโอเพ่น เห็นบอกว่ามีแม่ค้ามาขายของคล้าย ๆ ตลาดน้ำ เด็กส่งข่าวมาบอกในเฟซบุ๊กว่าเจ๋งมาก ทำให้เด็กเห็นคุณค่าของตลาดน้ำ ใช้คอนเซ็ปต์ Creativity Unlimited มีการเสวนาวิชาการภายใต้คอนเซ็ปต์นี้ เห็นไหมว่าพอเราประกาศจุดยืนว่าเป็นมหา"ลัยสร้างสรรค์มันจะมีอะไรต่อเนื่อง มาเลยที่สำคัญทำให้บรรยากาศไม่เครียด

แล้วบุคลากรอย่างอาจารย์ต้องสร้างสรรค์ด้วยหรือเปล่า

อาจารย์ ต้องทำงานวิจัย แต่เชื่อว่าเป็นการครีเอทีฟอย่างหนึ่ง ขณะที่บุคลากรต้องมีความพร้อมไปในทางเดียวกัน แน่นอนว่าไม่ได้เป็นทุกคน เพราะเราฉายไฟไปแล้ว คนที่ครีเอทีฟ ก็เหมือนขึ้นเวทีได้รับการชื่นชม ไฟก็ส่องตาม แต่คนไม่ขึ้นเวทีก็เป็นเรื่องของเขา ไม่ได้บังคับว่าต้องทำ

ถ้าอย่างนั้นจะอธิบายความเป็นมหา"ลัยสร้างสรรค์อย่างไร

คุณพ่อผมเป็นคนมีความคิดริเริ่มมาก ครั้งแรก ๆ ของมหา"ลัยกรุงเทพเป็นเรื่องการโรงแรม จริง ๆ น่าจะดังกว่านี้ แต่ไม่ได้จับเองตลอด

แต่ ในความที่ท่านจับธุรกิจหลายอย่าง และวางมหา"ลัยกรุงเทพให้เป็นสถาบันการศึกษาไม่ใช่ธุรกิจ จึงให้อาจารย์มาบริหาร รวมถึงคุณแม่ (ปองทิพย์) ด้วยก่อนที่ท่านจะเสียไป ผมว่าจุดที่เหมือนกันคือความคิดริเริ่ม

ตอนนั้นผมเล็กมากเกิดไม่ทัน ไม่แน่ใจว่าท่านมีเวลาสานต่อความคิดของท่านมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเทียบกับผมจะมีเวลากว่า คือเป็นพันธกิจของผมไปแล้ว คือการทำมหา"ลัยกรุงเทพให้เป็นมหา"ลัยสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรมภายใน 3 เรื่อง คือ ความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน อีกเรื่องหนึ่งคือการสร้างจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ สุดท้ายคือ global หรือความพยายามที่จะทำให้เป็นนานาชาติ หรือพูดให้ชัดคือ เอเชีย-แปซิฟิก

และไม่นานผ่านมา เราเซ็น MOU กับแบ็บสัน คอลเลจ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสร้าง ผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงระดับโลกของสหรัฐอเมริกา เพราะเราต้องการให้ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่วิทยาลัยนานาชาติ มหา"ลัยกรุงเทพ เน้นด้านธุรกิจ และภาคอื่น ๆ ที่เป็นเทรนด์ โดยโฟกัสธุรกิจเป็นหลัก

ถ้าโจทย์ความคิดสร้างสรรค์คือประเทศไทยจะทำอย่างไร

การ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศสร้างสรรค์ เราในฐานะผู้อยู่ในภาคการศึกษา หรือมหาวิทยาลัย อาจมีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาคนเข้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แต่อย่างว่ามหา"ลัยเดียวทำไม่ได้ ผมมีไอเดียอยากเสนอรัฐบาล แต่ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะอยู่นานแค่ไหน เพราะตอนนี้เรากำลังทำวิจัยให้กับกระทรวงวัฒนธรรมเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อยู่ และจากการพูดจาเบื้องต้นเห็นว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพียงแต่ยังขาดนโยบายที่เป็นแผนแม่บท เพื่อขับเคลื่อนประเทศทั้งประเทศให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์บูม

ขณะที่ ประชาชนก็ต้องเปิดกว้าง กล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ ๆ และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเรื่องเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เท่านั้น เพราะเรื่องทุกเรื่องสามารถสร้างสรรค์ได้ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม, ศาสนา, วัดวาอารามรวม ๆ แล้วคือ นครครีเอทีฟ

ผมมองว่าเศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบของประเทศชาติ ประเทศชาติที่เจริญมากอาจเสื่อมโทรมในเรื่องจิตใจก็เป็นไปได้ ผมจึงชอบดัชนีวัดความสุขของภูฏาน เราต้องเอา 2 อย่างนี้มาบาลานซ์กัน ผมเชื่อว่าสถาบันการศึกษาท้ายที่สุดแล้วต้องพูดเรื่องนี้

Tags : คุย 360 องศา เพชร โอสถานุเคราะห์ Creative University คำตอบของประเทศชาติ

view