สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เทียบมาตรการญี่ปุ่นรับมือ วิกฤต โกเบ 1995 VS มิยางิ 2011

จากประชาชาติธุรกิจ

อำนาจทำลายล้างของคลื่นยักษ์สูงประมาณ 10 เมตร ได้สร้างความเสียหายให้อาคารบ้านเรือน รถยนต์ และทรัพย์ สินต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในหลายเมืองของจังหวัดมิยากิ แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ ประเมินผลกระทบของ ภัยพิบัติครั้งล่าสุดอาจกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของญี่ปุ่นอย่าง น้อย 0.2-0.3% หากพิจารณาจากพื้นที่ประสบภัยมีสัดส่วนต่อจีดีพีของญี่ปุ่น 7.8% เทียบกับเศรษฐกิจเมืองโกเบที่มีสัดส่วน 12.4% ของจีดีพี

ทาง การญี่ปุ่นกำลังทำงานแข่งกับเวลาเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาประชาชนในพื้นที่ ประสบภัย และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วถึงวันที่ 14 มีนาคม 2554 ได้แก่

- ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น (BOJ) ได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดเงินระยะสั้น 15 ล้านล้านเยน (1.82 แสนล้านดอลลาร์) สูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554 โดยแยกเป็นเม็ดเงินฉุกเฉินเพื่อเสริมสภาพคล่องในระบบการเงิน 12 ล้านล้านเยน หรือ 1.46 แสนล้านดอลลาร์ และกันเงินอีก 3 ล้านล้านเยนสำหรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากสถาบันการเงินผ่านข้อตกลงซื้อคืน พันธบัตรเริ่ม 16 มีนาคมนี้ โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการอัดฉีดเงินผ่านตลาดเงินให้สถาบันการ เงินในประเทศ กู้ยืม 5.5 หมื่นล้านเยนเพื่อสำรองเงิน

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ตั้งทีมบริหารภัยพิบัติโดยมีมาซากิ ชิรากาวา ผู้ว่าการบีโอเจ เป็นประธาน ประกาศความพร้อมเข้าเสริมสภาพคล่องตลาดเงินให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อความ ต้องการ

- กระทรวงการคลังแถลงว่า กำลังพิจารณาจัดสรรงบประมาณที่จำเป็นในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยแผ่นดินไหว รวมถึงการจัดงบฯพิเศษ แหล่งข่าวในกระทรวงการคลังญี่ปุ่นเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะอนุมัติเงินช่วยเหลือก้อนแรก 2 แสนล้านเยน (2.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยกันจากเงินงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับปีงบประมาณปัจจุบันที่จะสิ้นสุดวัน ที่ 31 มีนาคมนี้ตั้งเป็นกองทุนฉุกเฉิน และเตรียมเสนอ งบประมาณก้อนใหม่ในแผนงบประมาณใหม่อีก 3.50 แสนล้านเยน รองรับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงงบฯฉุกเฉินอีก 8.10 แสนล้านเยน สำหรับมาตรการทางเศรษฐกิจที่ออกมา

ทากาฮิเดะ กิยูจิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทโนมูระ ซีเคียวริตีส์ ประเมินว่า รัฐบาลอาจต้องใช้งบประมาณราว 5 ล้านล้านเยน เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย

ขณะ ที่เหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.2 ริกเตอร์ที่เมืองโกเบในเดือนมกราคม ปี 2538 สร้างความเสียหายทาง เศรษฐกิจให้กับญี่ปุ่นกว่า 1.32 แสนล้านดอลลาร์ โดยส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวราว 2% ภัยพิบัติครั้งนั้นยังกระทบตลาดน้ำมันโดยทำให้ราคาน้ำมันดิบโลกซึ่งแกว่งตัว อยู่ที่ 17-21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล พุ่งพรวดขึ้นไปที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงเกิดเหตุการณ์ นั่นทำให้ บีโอเจและรัฐบาลต้องดำเนินมาตรการช่วยเหลือฉุกเฉินเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจ มาตรการเหล่านั้น ได้แก่

- บีโอเจอัดฉีดเงินเสริมสภาพคล่องผ่านตลาดเงิน และเพิ่มสภาพคล่องส่วนเกินราว 5 แสนล้านเยน เพื่อตรึงอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมชั่วข้ามคืนแบบไม่มีหลักประกันอยู่ที่ 2% และลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในเดือนเมษายนและกันยายน เพื่อดึงอัตราดอกเบี้ยให้ลงมาอยู่ที่ 0.5%

- รัฐสภาญี่ปุ่นอนุมัติงบประมาณ เพิ่มเติม 2.7 ล้านล้านเยนในเดือนพฤษภาคม 2538 เพื่อใช้จ่ายในการบูรณะและฟื้นฟูพื้นที่ประสบเหตุในโกเบ

Tags : เทียบมาตรการ ญี่ปุ่นรับมือวิกฤตโกเบ 1995 VS มิยางิ 2011

view