สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ก.ล.ต. กล่าวโทษและสั่งพักการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี SECC

(อ่าน 983/ ตอบ 0)

108acc

จาก ประชาชาติธุรกิจ

ก.ล.ต. กล่าวโทษและสั่งพักการให้ความเห็นชอบนายสมชาย  คุรุจิตโกศล ผู้สอบบัญชีของบริษัทเอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (“SECC”) เนื่องจากไม่ปฏิบัติงานสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีและปฏิบัติ งานบกพร่องในการตรวจสอบงบการเงินของ SECC ในช่วงปี 2548 – ปี 2550  ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินหลงเข้าใจว่า งบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามควรและน่าเชื่อถือ   ตามที่ ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษนายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ อดีตประธานกรรมการ SECC กับพวกรวม 5 ราย ฐานกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต เบียดบังทรัพย์สินของบริษัทเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่น โดยการจัดทำเอกสารอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีอยู่จริง เพื่อเป็นเหตุอำพรางให้ SECC จ่ายเงินค่ารถที่ไม่มีอยู่จริงนั้นออกจากบริษัทเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้ อื่น  อันทำให้บริษัทเสียหาย  และงบการเงินของบริษัทก็แสดงรายการอันเป็นเท็จ   เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 307 308 311 312 313 และ 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535  นั้น   เนื่องจากการทุจริตและการจัดทำบัญชีและงบการเงินอันเป็นเท็จดังกล่าว อยู่ในวิสัยที่ผู้สอบบัญชีของ SECC จะสามารถตรวจพบได้ และรายงานให้ผู้ใช้งบการเงินทราบ หรืออย่างน้อยก็มีข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติในรายงานการสอบบัญชี  แต่รายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับงบการเงินปี 2548 ถึง ปี 2550 ของ SECC ที่มีนายสมชาย คุรุจิตโกศล บริษัท เอส. เค. แอคเคาน์แต้นท์ เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นผู้ลงนาม กลับแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข และไม่มีข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติของงบการเงินดังกล่าวแต่อย่างใด   ทำให้ผู้ใช้งบการเงินนั้นหลงเข้าใจว่า งบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามควร และน่าเชื่อถือ ก.ล.ต. จึงได้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของนายสมชายในการสอบบัญชีงบการเงินของ SECC ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว พบว่า  เหตุที่รายงานการสอบบัญชีไม่มีเงื่อนไขทั้งที่รายการสินค้าคงเหลือในงบการ เงินเป็นเท็จ  เกิดจากการที่นายสมชายไม่ปฏิบัติงานสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี และปฏิบัติงานบกพร่อง ในทุกขั้นตอนที่ควรจะสามารถตรวจพบการทุจริตของผู้บริหาร SECC และแสดงความเห็นไว้ในงบการเงิน ทั้งในขั้นตอนการประเมินและวางแผนการตรวจสอบ  การตรวจสอบ และการแสดงความเห็นในรายงานของผู้สอบบัญชี  ก.ล.ต. จึงได้ดำเนินการ ดังนี้   1.  ในด้านอาญา  การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีข้างต้น  เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 287  แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ   ก.ล.ต. จึงได้กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อดำเนินการสอบสวนดำเนินคดีต่อเนื่องไปกับกรณีที่ได้กล่าวโทษอดีตผู้ บริหาร SECC แล้ว ต่อไป

2.  ในด้านวินัย  การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีข้างต้น เป็นการปฏิบัติงานบกพร่องอย่างร้ายแรง ทำให้นายสมชายขาดคุณสมบัติในการได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้สอบบัญชีของ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2546 ซึ่งออกตามความในมาตรา 61 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และนอกจากกรณี SECC   นายสมชายยังได้ปฏิบัติงานสอบบัญชีงบการเงินของบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้าง ไพศาล จำกัด (มหาชน) (“POMPUI”) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547 บกพร่องในการตรวจสอบความเพียงพอของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้เงิน ให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทใหญ่ของ POMPUI ด้วย  ก.ล.ต. โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 15 (2) (ข) แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.  เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ที่ สช. 21/2546 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2546 จึงได้สั่งพักการให้ความเห็นชอบนายสมชาย  คุรุจิตโกศล จากการเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์  เป็นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2552

----------------------------------------------------------------------------------------------------


ก.ล.ต.กล่าวโทษผู้สอบบัญชีSECCต่อดีเอสไอ


จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ก.ล.ต.กล่าวโทษผู้สอบบัญชี SECC ต่อดีเอสไอ พร้อมสั่งพักการให้ความเห็นชอบ เหตุปฏิบัติงานบกพร่อง-ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี



รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ได้กล่าวโทษและสั่งพักการให้ความเห็นชอบนายสมชาย  คุรุจิตโกศล ผู้สอบบัญชีของ บริษัท เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (SECC) เนื่องจากไม่ปฏิบัติงานสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีและปฏิบัติงานบกพร่องในการตรวจสอบงบการเงินของ SECC ในช่วงปี 48-50 ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินหลงเข้าใจว่างบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามควรและน่าเชื่อถือ



ตามที่ ก.ล.ต.ได้กล่าวโทษนายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ อดีตประธานกรรมการ SECC กับพวกรวม 5 ราย ฐานกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต เบียดบังทรัพย์สินของบริษัทเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่น โดยการจัดทำเอกสารอันเป็นเท็จเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีอยู่ จริง เพื่อเป็นเหตุอำพรางให้ SECC จ่ายเงินค่ารถที่ไม่มีอยู่จริงนั้นออกจากบริษัทเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้ อื่น อันทำให้บริษัทเสียหาย และงบการเงินของบริษัทก็แสดงรายการอันเป็นเท็จ เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 307 308  311 312 313 และ 315 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 นั้น



เนื่องจากการทุจริตและการจัดทำบัญชีและงบการเงินอันเป็นเท็จดังกล่าว อยู่ในวิสัยที่ผู้สอบบัญชีของ SECC จะสามารถตรวจพบได้ และรายงานให้ผู้ใช้งบการเงินทราบ หรืออย่างน้อยก็มีข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติในรายงานการสอบบัญชี แต่รายงานของผู้สอบบัญชีสำหรับงบการเงินปี 48-50 ของ SECC ที่มีนายสมชาย เป็นผู้ลงนาม กลับแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข และไม่มีข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติของงบการเงินดังกล่าวแต่อย่างใด ทำให้ผู้ใช้งบการเงินนั้นหลงเข้าใจว่างบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามควร และน่าเชื่อถือ



ก.ล.ต. จึงได้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของนายสมชายในการสอบบัญชีงบการเงินของ SECC ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว พบว่า  เหตุที่รายงานการสอบบัญชีไม่มีเงื่อนไขทั้งที่รายการสินค้าคงเหลือในงบการ เงินเป็นเท็จ  เกิดจากการที่นายสมชายไม่ปฏิบัติงานสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี และปฏิบัติงานบกพร่องในทุกขั้นตอนที่ควรจะสามารถตรวจพบการทุจริตของผู้ บริหาร SECC และแสดงความเห็นไว้ในงบการเงิน ทั้งในขั้นตอนการประเมินและวางแผนการตรวจสอบ  การตรวจสอบ และการแสดงความเห็นในรายงานของผู้สอบบัญชี 



ก.ล.ต. จึงได้ดำเนินการในด้านอาญา เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีข้างต้น  เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 287 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ก.ล.ต. จึงได้กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อดำเนินการสอบสวนดำเนินคดีต่อเนื่องไปกับกรณีที่ได้กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร SECC แล้ว ต่อไป



และ ในด้านวินัย การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีข้างต้น เป็นการปฏิบัติงานบกพร่องอย่างร้ายแรง ทำให้นายสมชายขาดคุณสมบัติในการได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้สอบบัญชีของ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2546 ซึ่งออกตามความในมาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ



และนอกจากกรณี SECC  นายสมชายยังได้ปฏิบัติงานสอบบัญชีงบการเงินของบมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล (POMPUI) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547 บกพร่องในการตรวจสอบความเพียงพอของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้เงิน ให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทใหญ่ของ POMPUI ด้วย  ก.ล.ต. โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 15 (2) (ข) แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.  เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ที่ สช. 21/2546 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2546 จึงได้สั่งพักการให้ความเห็นชอบนายสมชายจากการเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทที่ ออกหลักทรัพย์  เป็นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2552

Lock Reply
view