สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สรรพากรหารือแบงก์พาณิชย์ เว้นภาษี ดบ.เงินฝาก ไม่เกิน 2 หมื่น

(อ่าน 1124/ ตอบ 0)

108acc (Member)

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       สรรพากร ขานรับนโยบายยกเว้นภาษี ดบ.เงินฝาก ปีละไม่เกิน 2 หมื่นบาท เชิญแบงก์พาณิชย์ ถกชี้แจงประเมินความพร้อม ยันมาตรการดังกล่าวกำหนดให้ผู้มีเงินฝากหลายบัญชีในหลายธนาคาร ที่คาดว่า จะได้ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์รวมกันเกินกว่า 2 หมื่นบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องแจ้งธนาคารเพื่อให้ธนาคารดำเนินการ เพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15

       


       นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรได้เชิญผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจง และทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ถูกต้อง พร้อมกับรับทราบความพร้อมที่ธนาคารพาณิชย์จะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ (จ่ายคืนเมื่อทวงถาม) ปีละไม่เกิน 20,000 บาท ตามนโยบายรัฐบาล

       

       นายวินัย กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวกำหนดให้ผู้ฝากเงินในบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หลายบัญชี ในหลายธนาคาร ซึ่งจะทำให้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์รวมกันเกินกว่า 20,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องแจ้งธนาคาร เพื่อให้ธนาคารดำเนินการ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ในดอกเบี้ยรับที่ได้จากบัญชีออมทรัพย์ที่ตนเองฝากด้วย เพื่อรักษาสิทธิการนำดอกเบี้ยเงินฝากไปใช้ในการคำนวณภาษี รวมกับเงินได้ประเภทอื่นๆ (ถ้ามี) หรือรองรับการใช้สิทธิขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2552 (ยื่นแบบฯ ภายในเดือนมีนาคม 2553) เป็นต้นไป

       

       “ในขณะนี้ขอเรียนยืนยันว่า ถึงแม้มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งก็มีความพร้อมที่จะดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวเป็นที่ เรียบร้อย”

       

       ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษี เงินได้ ฉบับที่ 181 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม ประเภทออมทรัพย์ โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ปี ละไม่เกิน 20,000 บาท ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด




-------------------------------------------------------------------------------------------------------------



สรรพากรเปิดทางคืนภาษีจากบัญชีออมทรัพย์


จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สรรพากรเปิดทางให้ประชาชนขอคืนภาษีจากบัญชีออมทรัพย์ ยันไม่กระทบรายได้รัฐ



นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจากกรมสรรพากรออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรในการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ปี ละไม่เกิน 20,000 บาท ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด



สำหรับผู้ฝากเงินที่มีบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หลายบัญชีในหลายธนาคาร และได้รับดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์รวมกันเกินกว่า 20,000 บาทต่อปี ให้แจ้งธนาคารเพื่อให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% และให้ธนาคารออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังกล่าวด้วย เพื่อผู้ฝากเงินจะได้นำไปใช้ในการคำนวณภาษีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น หรือใช้สิทธิขอคืนภาษีในช่วงปลายปี แต่จากการหารือกับผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์วันนี้ (27 ก.ค.) ได้ชี้แจงและทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ถูกต้อง



โดยแบงก์ทุกแห่งมีความพร้อมในการปรับระบบตามประกาศกรมสรรพากร เพื่อหักภาษีเฉพาะมีผู้รายได้เกิน 20,000 บาทต่อปี ระบบของธนาคารจึงไม่น่ามีปัญหาอะไร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากเงินต้องดูแลบัญชีของตนเอง แจ้งให้ธนาคารที่ฝากเงินไว้ให้ทราบ หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ประมาณ 0.5% ผู้ที่ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์เกิน 4 ล้านบาท จึงจะเสียภาษี และการฝากออมทรัพย์ส่วนใหญ่จะฝากไม่ค่อยถึง 4 ล้าน เพราะหากมีเงินถึงระดับดังกล่าว คนที่มีเงินจะนำไปฝากในบัญชีเงินฝากประจำ แม้จะเสียภาษี 15% ก็จะได้ผลตอนแทบสูงกว่าการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ ประกาศดังกล่าวให้ประชาชนที่ถูกหักภาษีไว้สามารถขอคืนภาษีได้ตามปกติหาก แบงก์ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว



โดยสามารถดำเนินได้ขอคืนได้เป็นเวลา 3 ปี ตามกฎหมาย ซึ่งคงไม่กระทบต่อรายได้รัฐจากแนวทางยกเว้นภาษีออมทรัพย์ เพราะมีรายได้ในหลักร้อยล้านบาท แต่บัญชีเงินฝากประจำมีรายได้เข้าสรรพากรในหลักพันล้านบาท


Lock Reply
view