สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไม่อุ้มตลาดหุ้น

(อ่าน 806/ ตอบ 0)

108acc (Member)

จาก โพสต์ทูเดย์

สรรพากรเลิกต่ออายุลดภาษีให้บริษัทจดทะเบียนจาก30%เหลือ20-25%

สรรพากร ดับฝันต่ออายุลดภาษีเหลือ 2025% อุ้มบริษัทจดทะเบียน เหตุไม่พบแรงจูงใจ

นาย วินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า การพิจารณาต่ออายุมาตรการภาษีสำหรับบริษัทจดทะเบียน (บจ.)ในตลาดหลักทรัพย์นั้นอยู่ระหว่างพิจารณาให้เสร็จใน 1 เดือน ขณะนี้ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมถึงผู้แทนบริษัทจดทะเบียนไปแล้ว พบว่ายังมีความเห็นแตกต่างกัน

อย่าง ไรก็ตาม กรมสรรพากรจะต้องพิจารณาถึงแง่สถิติและผลข้างเคียงว่า มาตรการลดภาษีดังกล่าวช่วยจูงใจให้บริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มากขึ้นแค่ไหน ซึ่งเท่าที่ทราบพบว่ามีไม่มากเฉลี่ยปีละกว่า 20 รายเท่านั้น

แหล่ง ข่าวจากสรรพากร เปิดเผยว่า บจ.คงหมดหวังกับการให้ต่ออายุมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ต่อไปอีก 3 ปี ในอัตราลดหย่อนจากที่กรมสรรพากรจัดเก็บ 30% เหลือเพียง 2025% ของกำไรสุทธิ ออกไป 3 ปีแน่นอนแล้ว เพราะไม่ต้องการให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางธุรกิจและมีสองมาตรฐาน
ขณะที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กังวลว่ามาตรการนี้อาจถูกบิดเบือน โดยบริษัทที่ต้องการเสียภาษีต่ำกว่าคู่แข่งก็เข้ามาจดทะเบียนในตลาด แล้วจะได้สิทธิประโยชน์จากภาษีดังกล่าว แต่เมื่อพ้นระยะเวลาของการได้รับสิทธิประโยชน์ก็ซื้อหุ้นคืนแล้วถอนตัวออก จากตลาดหุ้น

ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนมีทั้งสิ้น 566 บริษัท โดยข้อมูลล่าสุดพบว่าในปี 2551 มีการเสียภาษีนิติบุคคลกว่า 1.6 แสนล้านบาท ล่าสุดมีผู้บริหารบจ.กว่า 50 คน เข้าพบ รมว.คลัง เพื่อกดดันให้ลดภาษีต่ออีก 3 ปี

นายวินัย กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีว่า ในปีงบประมาณ 2553 ที่เหลืออีกเพียง 1 เดือนเศษ เชื่อว่าจะจัดเก็บรายได้เกินเป้าไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ซึ่งจากการที่กรมสรรพากรได้วิเคราะห์ผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่และ บจ.ในช่วงเดือน ม.ค.มิ.ย. พบว่าผลประกอบการสูงขึ้น และในปีหน้าจะขยายฐานภาษีให้เพิ่มขึ้นอีก 3.5 แสนราย


ดังนั้นจึงคาดว่าน่าจะทำให้กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้ได้สูงพอสมควรจากเป้า หมายที่ตั้งไว้ ขณะเดียวกันภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็ยังมีแนวโน้มจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากการนำเข้าและการบริโภคภายในประเทศ เช่นเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


"คาดว่าตลอดเดือน ส.ค. น่าจะเก็บได้มากกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน และเก็บได้สูงกว่าประมาณการพอสมควร" นายวินัย กล่าว


ล่าสุด การจัดเก็บรายได้เดือน ก.ค.เก็บได้ 8.34 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 1.9 หมื่นล้านบาท หรือ 29.55% ส่งผลให้ 10 เดือน จัดเก็บภาษีได้ 9.61 แสนล้านบาท เกินเป้ากว่า 1.05 แสนล้านบาท หรือ 123.24%


นายวินัย กล่าวอีกว่า ตามนโยบายจัดทำงบประมาณสมดุลภายใน 5 ปีของกระทรวงการคลังนั้น กรมสรรพากรมีแผนขยายฐานภาษีที่จะรองรับนโยบายดังกล่าว โดยปีงบประมาณ 2554 ตั้งเป้าขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย และจะเข้าไปจัดเก็บภาษีในธุรกิจที่ยังเสียภาษีไม่ถูกต้อง เช่น ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์ และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น ซึ่งการเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซนั้น จะมีทั้งในรูปภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา โดยผู้เสียภาษีต้องนำรายได้จากธุรกรรมที่เกิดขึ้นไปคำนวณภาษี หากมีรายได้เข้าข่ายต้องเสียภาษี หรือตกเดือนละ 3 หมื่นบาท ก็ต้องเสีย และหากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องเสียภาษี VAT ด้วย ทั้งนี้ ทางกรมจะส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำและตรวจสอบข้อเท็จจริงผู้ประกอบการแต่ละ ราย


"การขยายฐานภาษีนั้น เราจะพยายามแยกกลุ่มผู้เสียภาษี ถ้าเป็นผู้เสียภาษีที่ดีก็จะตรวจสอบน้อยลง จะมาตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงในการเลี่ยงภาษีมากขึ้น รวมถึงการจัดกลุ่มสำนักงานบัญชี" นายวินัย กล่าว


Lock Reply
view