สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แฉหลักฐานมัด เลขาฯ กบข.ซื้อขายหุ้น ดักหน้า จ่อโทษวินัยร้ายแรง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ยธ.เตรียมเชือด เลขาฯ กบข.เผยหลักฐานข้อมูลเด็ดมัดแน่น “วิสิฐ ตันติสุนทร” ดอดซื้อหุ้นส่วนตัวดักหน้า โดยไม่ได้ขออนุญาต ก่อนใช้อำนาจในตำแหน่ง สั่งให้กองทุน กบข.ซื้อขาย เข้าข่ายผิด กม.ตลาดหลักทรัพย์ และจรรยาบรรณในตำแหน่ง โทษทางวินัยร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้าง พร้อมแฉรายละเอียดการซื้อขายหุ้น ยานภัณฑ์ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และ ปตท.

       
       สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) รายงานผลตรวจสอบการบริหารขาดทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ระบุว่า ป.ป.ท.พบข้อมูลมีหลายครั้งที่เลขาฯ กบข.เข้าซื้อขายหุ้นหลายตัวโดยส่วนตัว ก่อนหน้าให้ กบข.ซื้อขายไม่กี่วัน หรือแม้แต่วันเดียวกันก็มี ชี้ เข้าข่ายผิดกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และยังผิดจรรยาบรรณการเป็นเลขาธิการ มีโทษทางวินัยถึงขั้นเลิกจ้าง
       
       ทั้งนี้ ภายหลังมีข้าราชการจำนวนมากร้องเรียนต่อสำนักงาน ป.ป.ท.ให้ตรวจสอบการประสบภาวะขาดทุนของ กบข.พร้อมระบุ ป.ป.ท.ได้สรุปรายงานผลการตรวจสอบให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลตรวจสอบพบการบริหาร กบข.ผิดพลาดคลาดเคลื่อน จนเป็นที่มาของภาวะขาดทุน
       
       รายงานข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดผยว่า รายงานผลการตรวจสอบการบริหารและการลงทุนกองทุน กบข.รวม 44 หน้า ระบุถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นการซื้อตัดหน้ากองทุน (Front running) การซื้อขายในทิศทางตรงกันข้ามกับการลงทุนของ กบข. (Against Portfolio) ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยฝ่ายธรรมาภิบาล กบข.เองได้ สุ่มตรวจข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ พบว่า
       
       นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข.ได้ทำรายการซื้อขายหุ้นบริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ YNP หุ้นบริษัท แลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH และหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT โดยส่วนตัว โดยไม่ได้ขออนุญาตก่อนและซื้อขายหลักทรัพย์ ตามระเบียบ กบข.ที่กำหนดให้ต้องขออนุญาตก่อนซื้อขายทุกครั้ง นอกจากนี้ นายวิสิฐยังขาดส่งรายงานการซื้อขายหุ้นที่กำหนดให้ต้องรายงานเป็นรายไตรมาส รวม 8 ไตรมาส
       
       จากการวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้บริหารระดับสูงใน กบข.โดยคณะทำงาน ป.ป.ท. พบว่า นายวิสิฐ มีพฤติการณ์ซื้อขายหุ้นยานภัณฑ์ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และ ปตท.ในลักษณะก่อนหน้า หลัง หรือพร้อมกันกับวันที่ กบข.ได้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวหลายครั้งหลายหน ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่เข้าข่ายเป็นการซื้อก่อนหน้าและดักหลัง ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบกองทุน กบข.ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของพนักงาน พ.ศ.2546 และยังเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับจรรยาบรรณของเลขาธิการ ที่นายวิสิฐ ได้ลงนามประกาศไว้ในวันที่ 31 มีนาคม 2546
       
       โดยก่อนหน้านี้ คณะกรรมการ กบข.ได้ออกระเบียบและข้อบังคับเป็นมาตรฐานเบื้องต้นของการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างเกณฑ์การบริหารจัดการที่ดี ไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนแก่พนักงานของ กบข.โดยระเบียบ กบข.ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของพนักงาน พ.ศ.2546 กำหนดหลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานที่ต้องขออนุญาตว่า พนักงาน กบข.จะต้องทำความเข้าใจและลงนามรับทราบหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ พนักงานที่ต้องขออนุญาตต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายกำกับกิจกรรมองค์กรก่อนจะทำ การซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน รวมถึงตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทรัพย์นั้น ซึ่งการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวมีผลตามกฎหมาย การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทางวินัยตามลำดับจนไปถึงการเลิกจ้าง
       
       นอกจากนี้ กบข.ยังกำหนดจรรยาบรรณและหลักปฏิบัติแก่พนักงาน กบข.โดยห้ามพนักงานซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเองก่อนซื้อหลักทรัพย์นั้นเพื่อ กองทุน ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ใดในทิศทางตรงข้ามกับการลงทุนของกองทุนที่จะทำให้การ ซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนได้รับความเสียหาย หรือทำให้พนักงานได้รับผลประโยชน์จากการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุน และพนักงานสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้แต่ต้องไม่เป็นการกระทบต่อเวลาการทำ งาน ควรเป็นลักษณะการลงทุนระยะยาว คือ ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 เดือน และไม่เข้าข่ายใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาประโยชน์ หรือ Insider trading


 

ปปท.แฉข้อมูลวิสิฐซื้อขายหุ้นตัดหน้ากบข.

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ป.ป.ท.พบข้อมูล "วิสิฐ" ซื้อขายหุ้นยานภัณฑ์ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และปตท. ในนามส่วนตัว ตัดหน้ากองทุน โดยไม่ได้ขออนุญาต

รายงาน ข่าวจากกระทรวงยุติธรรมเปิดผยว่า รายงานผลการตรวจสอบการบริหารและการลงทุนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) รวม 44 หน้า ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ส่งถึงนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นการซื้อตัดหน้ากองทุน (Front running)

การซื้อขายทิศทางตรงกันข้ามกับการลงทุนของกบข. (Against Portfolio) ที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยฝ่ายธรรมาภิบาล กบข. สุ่มตรวจข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์พบว่า นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกบข. ได้ ทำรายการซื้อขายหุ้นบริษัทยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ YNP บริษัทแลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH และบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT

การซื้อขายหุ้นโดยส่วนตัวนี้ นายวิสิฐไม่ได้ขออนุญาตก่อนและซื้อขายหลักทรัพย์ ตามระเบียบกบข.ที่กำหนดให้ต้องขออนุญาตก่อนซื้อขายทุกครั้ง นอกจากนี้นายวิสิฐยังขาดส่งรายงานการซื้อขายหุ้นที่กำหนดให้ต้องรายงานเป็น รายไตรมาส รวม 8 ไตรมาส

ทั้งนี้คณะทำงานป.ป.ท. ได้นำข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้บริหารระดับสูงในกบข.มาวิเคราะห์พบ ว่า นายวิสิฐมีพฤติการณ์ซื้อขายหุ้น YNP LH และ PTT ในลักษณะก่อนหน้า หลัง หรือพร้อมกัน กับวันที่กบข.ได้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวหลายครั้งหลายหน เช่น การขายหุ้น YNP ในวันที่ 25 เม.ย. 51 เป็นการขายก่อนการขายของกบข.เพียง 3 วัน

ส่วนการขายหุ้น LH และ PTT หลายครั้งหลายหนที่พบว่าเป็นการซื้อก่อนหน้า กบข.เข้าซื้อไม่กี่วัน ส่วนการขายพบว่าเป็นการขายวันเดียวกับการขายของกบข. หรือ ขายก่อนการขายของกบข.เพียงไม่กี่วัน พฤติการณ์ของนายวิสิฐเข้าข่ายเป็นการซื้อก่อนหน้าและดักหลัง ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบกองทุนกบข.ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชี ของพนักงาน พ.ศ.2546 และยังเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับจรรยาบรรณของเลขาธิการ ที่นายวิสิฐได้ลงนามประกาศไว้ในวันที่ 31 มี.ค. 2546

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ออกระเบียบและข้อบังคับ เป็นมาตรฐานเบื้องต้นของการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างเกณฑ์การบริหารจัดการที่ดี ไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนแก่พนักงานของ กบข. โดยระเบียบกบข. ว่า ด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของพนักงาน พ.ศ. 2546 กำหนดหลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานที่ต้องขออนุญาต ว่า พนักงาน กบข.จะต้องทำความเข้าใจและลงนามรับทราบหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ พนักงานที่ต้องขออนุญาตต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายกำกับกิจกรรมองค์กรก่อนจะทำ การซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน รวมถึงตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทรัพย์นั้น ซึ่งการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวมีผลตามกฎหมาย การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทางวินัยไปจนถึงการเลิกจ้าง

นอกจากนี้ กบข.ยังกำหนดจรรยาบรรณและหลักปฏิบัติแก่พนักงาน กบข.โดยห้ามพนักงานซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเองก่อนซื้อหลักทรัพย์นั้นเพื่อ กองทุน ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ใดในทิศทางตรงข้ามกับการลงทุนของกองทุนที่จะทำให้การ ซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนได้รับความเสียหาย หรือทำให้พนักงานได้รับผลประโยชน์จากการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุน และพนักงานสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้แต่ต้องไม่เป็นการกระทบต่อเวลาการทำ งาน ควรเป็นลักษณะการลงทุนระยะยาว คือถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 เดือน และไม่เข้าข่าย Insider trading


วิสิฐตัดหน้าแจงปปท.ก่อนยุติธรรมส่งสำนวนให้ป.ป.ช.

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"วิสิฐ" ชิงตัดหน้าก่อนกระทรวงยุติธรรมส่งสำนวนกบข.ให้ป.ป.ช. นัดขอเข้าชี้แจงป.ป.ท. "ธาริต" เผยบอร์ดกบข.อาจพ้นผิดอาญาเพราะไม่เจตนาทำผิด

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมสรุปผลตรวจสอบการบริหารขาดทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ร่วมกับ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และทีมงานชุดเฉพาะกิจ

โดยใช้เวลาในการประชุมตรวจสอบเอกสารหลักฐานทั้งหมดนานกว่า 2 ชั่วโมง

นายธาริต แถลงผลการประชุมว่า รมว.ยุติธรรมได้สั่งให้ป.ป.ท.ตรวจสอบเชิงลึกในหลายประเด็น เช่น เรื่องการซื้อหุ้นยานภัณฑ์ ที่มีการตัดสินใจเข้าซื้อเป็นมูลค่า 200 ล้านบาท แบบไม่ปกติ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจซื้อไปก่อน จากนั้นจึงกลับมาลงสัตยาบัน จึงอาจมีลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบ้าง

ส่วนเรื่องบอร์ดกบข.ตามกฎหมายกำหนดให้หน้าที่ หรือ อำนาจในการตัดสินใจลงทุนเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เป็นผู้ตัดสินใจลงทุน

แต่บอร์ดก็ไปมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนแทนในวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาท กลายเป็นการบริหารจัดการไม่ตรงตามกฎหมาย และนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาฯกบข. ก็เป็นประธานในคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว

ดังนั้น จึงต้องเชิญบอร์ดมาชี้แจงว่า ทำไมจึงมอบอำนาจให้อนุกรรมการฯ หากการดำเนินพบว่า ไม่มีเจตนาที่จะทุจริตก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดทางอาญา เพราะการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายนั้นไม่จำเป็นต้องมีโทษทางอาญาเสมอ ไป แต่ให้ดูที่เจตนา

นายธาริต กล่าวว่า ตามกฎหมาย กบข. ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท กำหนดว่า ถ้ากบข.จะ ลงทุนต้องออกกฎกระทรวงว่าจะลงทุนอย่างไร การที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ เพราะวางหลักเกณฑ์ที่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีร่วมพิจารณาการลงทุนในภาพรวม

กบข.เสนอออก กฎกระทรวงเพื่อวางหลักเกณฑ์การลงทุนครั้งแรกในปี 2546 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย แต่ในปี 2547 ,2550 และ 2551 ได้มีการอ้างถึงสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ แต่กฎเกณฑ์ของการลงทุนกลับระบุว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการกบข. ซึ่งก็ชัดเจนว่า ไม่เป็นไปตามกฎหมาย

สำหรับการดำเนินการภายหลังออกกฎกระทรวงโดยไม่ชอบผู้ออกกฎจะมีความผิดหรือ ไม่ ก็ต้องพิจารณาว่าขณะนั้นใครเป็นบอร์ดบ้าง ส่วนผลของการใช้จะเป็นโมฆะหรือไม่ก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง แต่ตนเห็นว่า เมื่อกฎกระทรวงออกโดยไม่ชอบ ผลที่ตามมาก็ต้องผิดด้วย

 ส่วนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในเรื่องดังกล่าวจะแบ่งออก เป็น 3 กลุ่ม มีทั้งระดับ บอร์ด ผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการลงทุน ประมาณ 7 คน

“ที่ผ่านมา ป.ป.ท.ไม่ได้รับการตอบสนองในการขอข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่ดีที่ นายวิสิฐ พร้อมจะเข้ามาชี้แจง เพราะการตรวจสอบเบื้องต้นยังมีประเด็นที่ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่หลายประเด็น หากนายวิสิฐ ชี้แจงได้จะทำให้ประเด็นนั้นๆ ชัดเจน คลายข้อสงสัยได้

โดยวันนี้ นายวิสิฐ ได้ทำหนังสือมายังป.ป.ท.ขอเข้าชี้แจง ดังนั้น ที่ประชุมวันนี้ จึงจะยังไม่ส่งเรื่องให้ป.ป.ช. โดยจะรอให้นายวิสิฐเข้าชี้แจงในอีกหลายประเด็นที่สงสัย รวมทั้งจะมีหนังสือเชิญไปยังบอร์ดกบข.ทั้งหมด ซึ่งขอความอนุเคราะห์ให้ความร่วมมือมาชี้แจงเพื่อตอบข้อสงสัยบางประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน”นายธาริต กล่าว

ผู้สื่อข่าว ถามว่า มีหลักฐานอะไรที่ระบุถึงการนำข้อมูลภายในไปใช้ในการซื้อหุ้น นายธาริต กล่าวว่า ป.ป.ท.จะประสานไปยังกลต.เพื่อตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก

อย่างไรก็ตาม หากผลสอบสรุปว่ามีเจ้าหน้าที่ไม่ว่าระดับใดเข้าไปเกี่ยวข้อง จะแยกส่วนในการดำเนินการโดยพิจารณาทางวินัย หากต้นสังกัดไม่ดำเนินการ ป.ป.ท.จะส่งข้อมูลเพื่อชี้มูลความผิดไปให้

ส่วนการดำเนินคดีทางอาญา ป.ป.ท.จะส่งให้อัยการพิจารณาและหากพบว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องมี ความร่ำรวยผิดปกติจะเข้าไปตรวจสอบด้วยตาม พ.ร.บ.มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

ด้านนายพีระพันธุ์ กล่าวว่า กรณีกบข. หากเป็นความผิดของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ป.ป.ท.จะสรุปผลการตรวจสอบส่งให้ป.ป.ช. หากเกี่ยวพันถึงข้าราชการที่ต่ำกว่าระดับ 8 จะรอจนกว่าจะมีบอร์ดป.ป.ท.ขึ้นมาพิจารณาดำเนินการ

"ตนได้สั่งการให้ป.ป.ท.ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากมีเหตุต้องสงสัยว่า เจ้าหน้าที่กบข.หลายระดับใช้ข้อมูลที่ได้จากการทำงาน ซื้อขายหุ้นผิดหลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลของกบข. มีการออกกฎกระทรวงเรื่องการลงทุนซึ่งไม่น่าทำได้ และมีผลกระทบกับการลงทุนหลายเรื่อง"

view