สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แผนกำจัด-จำกัดอำนาจ ศาล รธน.

แผนกำจัด-จำกัดอำนาจ "ศาล รธน.

จากประชาชาติธุรกิจ

ทั้งองคาพยพของฝ่ายเพื่อไทยและเครือข่ายคนเสื้อแดง ร่วมเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน คือกำจัดและจำกัดการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68

พร้อมด้วยข้อเสนอแนบท้ายแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 เพื่อตั้งต้น ล้มล้างการกระทำที่เกิดจากการกำจัดและจำกัดอำนาจเงินและอำนาจการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ขณะที่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังคงหยุดนิ่ง เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาธิปัตย์ และคนเสื้อแดง รอให้ศาลรัฐธรรมนูญทำคลอด "คำวินิจฉัยกลาง" เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวหลังวันที่ 28 ก.ค. 55

แต่กระแส "วิพากษ์ศาลรัฐธรรมนูญ" กลับเร่งสปีดแซงหน้าท่าทีที่ยังไม่ได้ข้อสรุปจากพรรคเพื่อไทย ว่าจะลุยลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3, จัดทำประชามติ หรือแก้ไขรายมาตรา

ใน รอบสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงได้ยินเสียงของขุนพล-กูรู ด้านกฎหมายฝ่ายเพื่อไทยดังก้องรอบทิศทั่วกระดานการเมือง เพื่อลบมาตรา 68 ออกจากรัฐธรรมนูญ

"ชูศักดิ์ ศิรินิล" หัวหน้าทีมกฎหมายที่ต่อสู้ศึกแก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาบอกว่า จะลุยลงมติวาระ 3 ไม่สนคำวินิจฉัยศาลก็ทำได้ แต่ปัญหาจะยังคงวนอยู่ที่เดิม เพราะมีคนจ้องจะร้องศาลในมาตรา 68 อยู่ดี ดังนั้นการทำประชามติจะเป็นใบผ่านทางให้พรรคได้

"ผมคิดไตร่ตรองทั้ง คืนพบว่า ทางออกของประเทศและการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สะดุดลงทำต่อไปได้ แต่ขอแรงประชาชนหน่อย เห็นแก่ระบอบประชาธิปไตยมาลงประชามติกันเถอะ รัฐบาลต้องตัดสินใจเอานะ เสียเงินหน่อย"

และระหว่างรอ "ประชามติ" จากประชาชน เขาขอให้ทุกคนเบนเข็มกลับมาแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยพุ่งเป้าไปถึงมาตรา 68 เคลียร์ปมคำเชื่อมเจ้าปัญหา "และ หรือ" เพื่อขีดเส้นขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่

"จากคำวินิจฉัยศาล รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องคิดว่า ต่อไปนี้พิจารณากฎหมายใดก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในวาระใดก็โดนร้องได้หมด ดังนั้นผมเสนอของผม อาจแก้มาตรา 68 พร้อมทำประชามติไปด้วย"

สอดคล้องกับคำพูดของ "จาตุรนต์ ฉายแสง" ที่บอกว่า ควรเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในบทบัญญัติที่ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อจำกัดอำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

"ผม มองว่าเป็นการวางหมากที่ซับซ้อนของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ง่าย ๆ และเมื่อคำวินิจฉัยมีผลผูกพันทุกองค์กร ผมก็กังวลว่า อนาคตถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญกันอีก คนก็จะยื่นฟ้องกันอีก เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีบรรทัดฐานในการรับคำร้องไปแล้ว"

เมื่อฝ่าย เพื่อไทยเห็นตรงกันว่าศาลเริ่มขยายขอบเขตอำนาจ "จาตุรนต์" เสนอหมากแก้เกมใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ให้เข้าไปจำกัดอำนาจของศาลเสียใหม่

"หาก เราผ่านการลงมติวาระ 3 ไปได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเข้าสู่กระบวนการสรรหาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งระหว่างที่รอนั้น รัฐสภาก็ยังเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราได้อีก เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ ตอนนั้นเราก็จะเสนอให้แก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ในหมวดที่ว่าด้วยเรื่องของศาล"

ขณะ ที่ "โภคิน พลกุล" ย้ำภาพให้เห็นถึงระบบตุลาการถูกรื้อทำลาย ด้วยน้ำมือของคนกลุ่มหนึ่ง ที่จ้องจะเล่นงานอดีตนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ "ทักษิณ ชินวัตร"

"ฝ่ายตรงข้ามอยากจะตัดอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ กลายเป็นว่า ทำให้ระบบโครงสร้างกฎหมายเสียหายหมด มันคนละเรื่องกัน จะเล่นงานคุณทักษิณ แต่กลับทำลายทุกอย่าง ทำกฎหมายกลับตาลปัตรหมด บ้านเมืองก็เสียหาย"

"เราต้องไม่นำคุณทักษิณมาเป็นประเด็นแก้ไขปัญหา ไม่ใช่พอจะต่อต้านคุณทักษิณก็ไปยำระบบกฎหมายให้ผิดเพี้ยนจนรวนเละ ผมไม่เข้าใจ คนที่ยึดอำนาจมา แล้วฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง คุณบอกว่า มันยังใช้ได้ ต้องคงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างนี้มันอธิบายกันไม่ได้"

วาระที่เกมแก้ไขรัฐธรรมนูญยังคงหยุดนิ่ง ควบคู่กับเสียงโอดครวญของ พ.ต.ท.ทักษิณว่า อยากเห็นปรองดอง อยากกลับเมืองไทย

กุน ซือเพื่อไทยหลายคนต่างรู้ดีว่า เป็นการส่งสัญญาณเร่งให้ทุกฝ่าย ปรับกระบวนทัพปรับสปีดเดินหน้าทุกกระบวนการให้ถึงปลายทางพา พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านเกิด

แน่นอนว่าหากแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สำเร็จ "ปรองดอง" ก็หมดหนทางจะเดินต่อไปได้ ดังนั้นจงอย่าแปลกใจที่ได้เห็นวาระ "กำจัดอำนาจศาล"

กลายเป็นวาระเร่งด่วนในขณะนี้


ภูมิธรรม พ่อบ้าน เพื่อไทย ให้ประชาชนปลดแอกอำนาจ ม.68

จากประชาชาติธุรกิจ

"ภูมิธรรม เวชยชัย"
ปรากฏตัวทางการเมืองกับฝ่ายเพื่อไทย อีกหนด้วยความจงรักภักดี ทำให้เมื่อถึงเวลาเขาจึงถูกดันมาอยู่เบื้องหน้าเป็น ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย คนที่ 3 รับไม้ต่อจาก ปลอดประสพ สุรัสวดี ผู้อำนวยการคนที่ 2 และ นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ ผู้อำนวยการคนที่ 1


แม้ จะถูกครหาว่าเคยตีจาก "พ.ต.ท.ทักษิณ" แต่เขาปฏิเสธกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า 6 ปีที่ผ่านมาเขาไม่เคยตีจากไปไหน ยังแวะเวียนให้คำแนะนำกับ พรรคพลังประชาชน และ พรรคเพื่อไทย อยู่เบื้องหลัง

- Job Description ของคุณภูมิธรรมในฐานะ ผอ.พรรคทำอะไรบ้าง

ที่ ผ่านมาพรรคเพื่อไทยอยู่ในภาวการณ์ที่มีบุคลากรไม่พอ พอช่วงที่ปลดเปลื้องคนบ้านเลขที่ 111 ผู้ใหญ่ก็เห็นว่าตัวผมมีประสบการณ์ตั้งแต่สมัยอยู่พรรคไทยรักไทย เหล่านี้คงเป็นเหตุที่เข้ามาทำงาน คิดว่าจะช่วยประสานวางระบบต่าง ๆ ให้มันดีขึ้น และพรรคก็คงต้องปรับตัวที่จะรองรับภารกิจใหม่ ๆ ต่อจากนี้ไปจะเห็นการบริหารจัดการสำนักงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการบริหารจัดการสมัยใหม่

- การบริหารจัดการสมัยใหม่เป็นอย่างไร

คือ การบริหารจัดการที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นักบริหารในปัจจุบันที่ทันกับเหตุการณ์ ไม่ใช่อยู่แต่ในองค์กรแล้วก็นั่งคิดว่าจะทำอะไรในองค์กร เราสามารถตอบรับการเปลี่ยนแปลงและรับผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมที่มาถึงตัวเรา ได้ว่า สังคม สภาพแวดล้อม ความนึกคิด หรือความรู้สึกต้องการของสังคมเป็นอย่างไร พรรคก็ต้องปรับตัวแล้วเปลี่ยนแปลงให้ทันความต้องการของสังคมให้ได้ และพรรคเพื่อไทยกำลังดึงให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของพรรคให้ มากขึ้น

- นำมาสู่การที่ใช้ระบบ Primary Vote

primary vote เป็นทิศทางหนึ่งที่เราสนใจและอยากจะทำ ในอดีตเป็นพรรคไทยรักไทยเราขยายสมาชิกทั่วประเทศ 14-15 ล้านคน แต่หลังจากยุบพรรคก็กระจัดกระจาย วันนี้พรรคเพื่อไทยมีสมาชิกพรรคไม่ถึงล้านคน ต้องรื้อฟื้นการประชุมฝึกอบรมรับสมาชิกของพรรคให้ขยายตัวกว้างขวางขึ้น และจะดึงคนที่มีความ

แอ็กทีฟ เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานของพรรค ทิศทางของพรรคก็จะถูกกำกับโดยประชาชนให้มีทิศทางที่ตอบสนอง

- แนวคิดนี้เพื่อทำให้ประชาชนลบภาพทักษิณคิด เพื่อไทยทำ

เรา พูดต่อสาธารณชนว่าทักษิณคิด เพื่อไทยทำ พรรคไม่ได้ปฏิเสธความคิดดี ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพ มีความสามารถในการคิดสิ่งดี ๆ หรือนักวิชาการที่ไม่ใช่สมาชิกพรรค เขาเสนอความคิดเห็นอย่างไรมาเราก็ต้องใส่ใจคิดฟังสิ่งต่าง ๆ ให้มากขึ้น ส่วนจะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหนก็ว่ากันอีกที

- ฝ่ายตรงข้ามมักโจมตีว่าพรรคทำเพื่อคุณทักษิณคนเดียว จำเป็นที่จะต้องลบภาพตรงนี้ออกไปก่อนหรือไม่

การ เข้าไปเกี่ยวพันยึดโยงกับคุณทักษิณ ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหาย คนส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคเพื่อไทยก็ไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา มีแต่ฝ่ายค้าน ไม่ค่อยสบายใจเท่าไหร่ จริง ๆ เราทำงานการเมืองในทิศทางเปิด ไม่มีสิทธิ์บอกว่าอยากได้ความคิดนั้น ไม่อยากได้ความคิดนี้ ดังนั้น เราจะยึดโยงกับคุณทักษิณในแง่ได้คิด ได้เห็น ได้รับฟัง กับแนวคิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็ไม่มีอะไรเสียหาย

ผมคิดว่าเราพยายามยึดโยงกับทุกฝ่าย ผมกำลังรื้อฟื้นการทำงานของกลุ่ม Think Tank เป็นกลุ่มที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค ผมได้คุยกับนักวิชาการ ว่าเราจะมีกลุ่ม

เล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งมาคิดอะไรที่เป็นประโยชน์ เหมือนที่ทำในพรรคไทยรักไทย ที่เราไปคุยกับกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ นโยบายดี ๆ จำนวนมากที่ประสบความสำเร็จเราได้มาจากวงกลุ่มแบบนี้ เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ก็ได้มาจากวงนี้

- การเข้ามาของคุณภูมิธรรม เพื่อหลอมรวมนักการเมืองรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ให้เป็นทีมเดียวกัน

ไม่ อยากพูดอย่างนั้น ผมเข้ามาเป็นตัวเชื่อมประสานให้ทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกพรรคได้มีโอกาสเข้ามาสร้างพรรคนี้ ผมเองก็อาจเป็นคนเก่าที่รู้จักมักคุ้นหลายคน ทำงานร่วมกันมา มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกส่วนมาโดยตลอด ก็คงจะเป็นส่วนที่ช่วยเรื่องต่าง ๆ ได้ - พรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดงจำเป็นต้องเดินหน้าแบบสองขาคู่ขนานต่อไปหรือไม่

ต้อง ยอมรับว่าในแง่ของพรรคเพื่อไทยกับมวลชนคนเสื้อแดงที่มีอยู่ มีทั้งความเหมือนและความต่าง คนเสื้อแดงทั้งหมดไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือเจตนารมณ์ของคนเสื้อแดงที่อยากเห็นสังคมไทยเป็น ประชาธิปไตย ตรงกับเจตนารมณ์ของพรรคเพื่อไทย มีลักษณะร่วมกันทางการเมืองหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทิศทางการพัฒนาประชาธิปไตย และความต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง

- อะไรคือความแตกต่างระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย

ใน หมู่มวลชนคนเสื้อแดง คนที่เข้ามาร่วมก็มีความเห็นในหลายเฉด บางคนก็บอกว่าเขารักคุณทักษิณก็มาอยู่ในขบวนนี้ บางคนเริ่มต้นจากประชาธิปไตย มันก็มีดีกรีความแตกต่างกัน ถึงแม้สิ่งที่เป็นเป้าหมายตรงกัน วิธีการคิด วิธีการทำงาน ก็ยังอาจต่างกันได้ เหมือนเราบอกว่าจากตรงนี้ (พรรคเพื่อไทย)

จะไปสนามหลวง บางคนออกคลองเตย ส่วนผมขึ้นทางด่วนไปลงยมราช มันไปได้หลายทาง

- การที่พรรคเพื่อไทยเดิน ๆ หยุด ๆ ในเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ-ปรองดองหลายครั้ง การเดิน 2 ขาอาจไม่ได้ไปด้วยกันตลอด

เรื่อง ประชาธิปไตยทุกคนก็อยากเห็น มันต่างกันแค่ดีกรีของการหาทาง ออกเท่านั้น เช่น เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ นักวิชาการบางคนบอกว่าให้มีองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ บางคนบอกให้เดินหน้าลงมติวาระ 3 เลย อันนั้นไม่ได้เป็นเรื่องผิด แต่ในแง่ของพรรคการเมืองมันไม่ใช่เรื่องของความถูกต้องถูกใจอย่างเดียว

เรา ยืนยันว่าการแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยยังคงเป็นเป้าหมายของเรา เพราะเราเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ที่ใช้อยู่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยในหลายเรื่อง

- การแก้ไขรัฐธรรมนูญและปรองดอง เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยตั้งแต่ต้น แต่อะไรที่ทำให้เสียงข้างมากในสภาไม่สามารถลาก 2 เรื่องนี้ให้ประสบความสำเร็จได้ใน 1 ปี

(สวนทันที) อยากถามเหมือนกันว่ามองอย่างไร อะไรที่ทำให้เราไม่สามารถทำได้ทั้งที่เราเป็นเสียงข้างมาก แล้วกลายเป็นว่ามั่วไปหมด ผมไม่เคยได้ยินคำว่าเผด็จการเสียงข้างมาก วันนี้ไม่ใช่เสียงข้างมากพยายามลากไป แต่เสียงข้างน้อยพยายามลากไปอยู่

- อะไรทำให้เสียงข้างมากเดินหน้าออกกฎหมายต่าง ๆ ไม่ค่อยสะดวก

ต้องกลับ ไปดูพัฒนาการของการยึดอำนาจตั้งแต่ปี 2549 ทั้งการดีไซน์กลไกกฎหมายสูงสุด กลไกการบริหารรัฐธรรมนูญทั้งหมดคือปัญหาที่ดำรงอยู่ จึงเป็นที่มาของการหาเสียงของพรรคเพื่อไทยว่าการกำหนดใช้รัฐธรรมนูญ การสร้างกลไกที่เกิดขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

พรรคประ ชาธิปัตย์เองก็รู้ ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญตั้งหลายมาตรา ไม่เห็นเป็นปัญหาอะไรเลย เพราะเขารู้ว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหาเยอะ เนื่องจากเขียนควบคุมพฤติกรรมและควบคุมการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคการ เมือง

- ต้องปลดล็อกตรงไหนเพื่อให้งานในสภาเดินหน้าต่อไปได้

โห...เยอะ เลย ผมคิดว่าต้องให้พี่น้องประชาชนมาร่วมกันปลดล็อก อย่างน้อยที่สุดคือรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ต้องแก้แน่นอน ขืนตีความแบบนี้เราเรียนกฎหมายมา คำว่า "และ" กับ "หรือ" มันไม่ใช่คำเดียวกัน

- ในวันที่พรรคเพื่อไทยมีอำนาจบริหาร และเสียงข้างมากในรัฐสภา ทำไมพรรคเพื่อไทยถึงเลือกทางขับเคลื่อนนโยบายไม่ได้

(สวนทันที) รัฐธรรมนูญก็คืออุปสรรคของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย เพราะการตีความมันไม่มีบรรทัดฐาน การเมือง

วันนี้ มันผิดไปจากกรอบที่ควรจะเป็น เมื่อก่อนถ้าคุณมองสถานการณ์หนึ่ง แล้วคุณถามหลายเรื่อง คนตอบไม่รีรอที่จะตอบ เช่น คนนี้ไปทำอย่างนี้คิดว่าผิดไหม คำถามแบบนี้ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะไม่เป็นปัญหาเลย และจะตอบว่าโอ๊ยนี่ผิด เพราะหลักของมันเป็นอย่างนี้ หรือถามว่ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ได้หรือไม่ได้ ถ้าเป็นเมื่อก่อนนี้ที่ตีความอย่างทั่วไปอันนี้ยื่นไม่ได้

แต่ วันนี้ชัดเจนว่ามันไม่เป็นไปตามหลัก คุณถามหลายคำถามแต่ไม่มีใครกล้าตอบคุณ ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมก็จะบอกว่ายังไงคำร้องต้องหลุด เพราะไม่มีอำนาจร้อง ยกคำร้องแน่นอน แต่วันนี้คุณกล้าพูดอย่างนี้ไหม มันอยู่ที่ดุลพินิจ ดุลพินิจมันพูดยาก (หัวเราะ)

- เรื่องรัฐธรรมนูญอาจเป็นเรื่องใหญ่ที่

เราอาจฝ่าไปไม่ได้ แต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างกรณีนาซ่าที่ขอใช้พื้นที่สนามบินอู่ตะเภาสำรวจสภาพภูมิอากาศก็ยังมีปัญหา

(สวน ทันที) ผมไม่คิดว่าฝ่าไม่ได้ แต่มันต้องใช้เวลา แต่เรื่องนาซ่ามีข้อจำกัดหลายเรื่อง ทั้งเรื่องเงื่อนไขเวลา เราก็ไม่ได้ซีเรียสคิดว่ามันจะไม่ผ่าน เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นคนริเริ่ม ผมคิดว่าคนที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดควรจะเป็นฝ่ายค้าน ไม่ใช่รัฐบาล แต่กลายเป็นการเบี่ยงประเด็นว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพทั้งที่ไม่ใช่เลย

- ทำไมพรรคเพื่อไทยถึงต้องกลัวการตรวจสอบถ่วงดุลจากกลไกรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่หลังเหตุการณ์รัฐประหาร

(สวน ทันที) คุณว่าน่ากลัวไหมล่ะ คุณเป็นพรรคเพื่อไทยคิดว่าน่ากลัวไหม พรรคไทยรักไทยถูกยุบจากข้อกล่าวหาว่ามีกรรมการบริหารพรรคท่านหนึ่งไปทำผิด กฎหมาย ข้อพิสูจน์ว่าทำผิดหรือไม่ผิดยังไม่ชัดเจนเลย ไม่มีนะที่ลูกไปฆ่าคนตายแล้วเอาพ่อไปติดคุกด้วย ใครผิดคนนั้นก็ต้องติดคุก ใครทำอะไรต้องลงโทษคนนั้น แต่นี่อยู่ ๆ คุณเอากรรมการบริหารพรรค 111 มาติดคุกไปด้วย แล้วทั้ง ๆ ที่ตอนวินิจฉัยไม่มีโทษความผิดเรื่องนี้เลย แล้วคุณกลับมาย้อนหลังมาตัดสิทธิ์คุณก็ทำมาแล้ว

- วิเคราะห์ว่ากลุ่มไหนที่มีความพยายามไล่บี้ไทยรักไทย-พลังประชาชน-เพื่อไทย

ก็ นี่ไงพรรคฝ่ายตรงข้ามเราที่พยายามไล่บี้เรา กลุ่มอำนาจเดิมที่มีบทบาทและยังหวงแหนอำนาจอยู่ พรรคการเมืองฝ่ายค้านก็อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในแง่นี้

- แต่ฝ่ายตรงข้ามก็บอกว่าเพื่อไทยก็มีกลุ่มอำนาจเดิมในฝั่งของรัฐบาลเหมือนกัน

(สวน ทันที) แล้วแต่จะเรียก ผมไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าจะบัญญัติศัพท์ว่าอะไร ผมพูดแค่ว่ามันมีคนกลุ่มหนึ่งที่เสียประโยชน์ จากการเกิดขึ้นและเติบโตของพรรคไทยรักไทย ก็คือกลุ่มการเมืองเก่า ๆ กลุ่มต่าง ๆ ที่เคยมีบทบาทอยู่ พรรคไทยรักไทยประกาศตัวดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแบบใหม่ และประสบความสำเร็จจนสร้างประวัติศาสตร์การเมืองหน้าใหม่ คือ มีเสียงเกือบ 400 คน ดังนั้นหากปล่อยให้เข้มแข็งต่อไปอีก 20 ปี คนพวกนี้จะได้กลับมาหรือไม่ก็ยังไม่รู้

- เคยบอกว่าคุณทักษิณโดนปฏิวัติ เพราะเป็นคนคิดไวทำไวจนอีกฝ่ายไม่พอใจ ปัจจุบันคนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร

เรา เรียนรู้อย่างหนึ่งว่า ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไร มันก็ต้องคิดเยอะขึ้น จริง ๆ มีด้านดีการแสดงความคิดเห็นอะไรแล้วต้องแก้ไขอย่างเร่งรีบ ส่วนหนึ่งที่ประชาชนชื่นชมและถูกใจ แต่เราเรียนรู้อย่างหนึ่งว่าบางเรื่องมันต้องการเวลามากขึ้น เพื่อทำความเข้าใจให้ส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เรียนรู้ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

- หลายคนวิพากษ์วิจารณ์ว่า เมื่อคุณภูมิธรรมเห็นสัญญาณไม่ดี เลยชิงลาออกไปก่อนเป็นคนแรก ๆ

ผม ไม่ได้ออกจากสมาชิกพรรคและทิ้งพรรคไปไหน การเปลี่ยนสถานะตรงนั้นเพื่อที่จะดูว่า พรรคจะโดนจัดการอย่างไรและจะมีคนทำงานเหลือเท่าไร ไม่อย่างนั้นผมคงไม่ได้รับการต้อนรับจากพรรคเพื่อไทยอย่างนี้หรอก เพราะผมก็ทำงานในแง่แสดงความเห็นให้กับพรรคเพื่อไทยต่อเนื่องมาตลอด ไม่อย่างนั้นผมกลับมาไม่ได้หรอก ไม่ใช่การชุบมือเปิบอย่างที่เข้าใจ

- อาจสรุปได้ว่าชื่อของคุณภูมิธรรมยังอยู่กับที่มาโดยตลอด

หลาย พรรคที่โดนตัดสิทธิ์ไปเขายังเข้าไปมีกรรมการเป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการ ด้วยซ้ำไป (หัวเราะ) เราไม่ได้อยากเป็นตัวแปรที่สร้างปัญหา แต่การเสนอความเห็นผมไม่เคยปิดบัง ไม่ได้เข้ามาเคลื่อนไหวหรือเข้ามาบริหารจัดการอะไร แต่คนไทยมีสิทธิ์เสนอความคิดดี ๆ ทั้งนั้นล่ะ


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : แผนกำจัด จำกัดอำนาจ ศาล รธน.

view