สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

หากจะต้อง...เลือก ลงทุน

จากประชาชาติธุรกิจ

คิดวิเคราะห์แยกแยะ โดย ธันวา เลาหศิริวงศ์

    หากจะต้อง…เลือก

 ในอนาคตอันใกล้จะมีการ เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้มีภูมิลำเนาในเขตเมืองหลวงของประเทศใช้โอกาส "ตัดสินใจเลือก" ผู้สมัครที่รับอาสาเข้ามาพัฒนา "มหานคร" ที่มีประชากรหนาแน่นอันดับที่ 13 ของโลกแห่งนี้ จากการเปิดตัวผู้สมัคร ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคการเมืองสำคัญและผู้สมัครอิสระ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนหนึ่งอาจตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่ตนชื่นชอบไว้แล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งอาจยังลังเลและลำบากใจในการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้ เพราะผู้สมัครแต่ละคนล้วนมีคุณสมบัติเด่นและด้อยแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ไปใช้สิทธิทุกคนต้องตัดสินใจเลือก "ผู้สมัครที่ดีที่สุด" ของตนเมื่อเข้าคูหาในวันเลือกตั้งนั่นเอง

 ในยามที่ตลาดหุ้นไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้น 63%, 41%, -1%, 36% ไม่รวมเงินปันผลปีละกว่า 3% ในปี 2009, 2010, 2011, 2012 ตามลำดับ และอีก 3% ใน 3 สัปดาห์แรกของปี 2013  ด้วยปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันสูงเกือบ 6 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ราคาหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องอย่างมาก หุ้นขนาดกลางและเล็กมีจำนวนหุ้นซื้อขายในปริมาณสูงมากเทียบกับหุ้นหมุนเวียน และถูกบังคับซื้อด้วยเงินสด (cash balance) บ่งบอกถึงภาวะ "ร้อนแรง" ของตลาดหุ้นไทย เปรียบเช่น "งานเลี้ยงที่กำลังสนุกสุดเหวี่ยง" ในสถานการณ์ "หากจะต้อง…เลือก" เช่นนี้ นักลงทุนมี "ทางเลือกที่ดีที่สุด" ในการตัดสินใจของตนอย่างไร

 สถานการณ์แรก นักลงทุนที่มั่นใจในตัวเอง กล้าได้กล้าเสีย พร้อมร่วมสนุกกับสภาวะร้อนแรง มีเทคนิคการลงทุนที่เชื่อว่าได้ผล อยู่ใกล้ชิดแหล่งข้อมูล นักลงทุนขั้นเทพหรือเซียนหุ้นที่มีผลตอบแทนดีและไม่เคยพลาดมาก่อน มีเวลาติดตามหุ้นอย่างใกล้ชิด ถนัดในการตัดสินใจเข้าออกเร็ว บังคับภาวะอารมณ์ สภาพจิตใจได้ดี และ "เอาตัวรอด" จากความผันผวนของตลาดได้ ช่วงเวลานี้จึงถือว่าเหมาะกับสไตล์การลงทุนดังกล่าว แต่ต้องไม่ลืมสุภาษิตจีนที่ว่า "ไม่มีงานเลี้ยงใด ที่ไม่เลิกรา"

 สถานการณ์ที่ 2 นักลงทุนที่อนุรักษนิยม ไม่ชอบเสี่ยง ไม่กล้า กลัวความสูง จึงเลือกถือเงินสดที่เกิดจากการขายหุ้นหรือจากเม็ดเงินใหม่เพิ่มเติม หากอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเลือกเช่นนี้ อาจมองหาทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 0.75% ของเงินฝากออมทรัพย์ และยังมีสภาพคล่องสูงเผื่อซื้อหุ้นที่ดีเมื่อราคาปรับตัวลงชั่วคราว (panic sell) ได้แก่ เก็บเงินลงทุนไว้ในบัญชีซื้อขายแบบ cash balance เพื่อผลตอบแทน 1.9% ต่อปี ลงทุนกองทุนตลาดเงินหรือตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อผลตอบแทน 2.5% ต่อปี หรือหากรับความผันผวนได้บ้างก็ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน มั่นคงกว่า 5% ต่อปี อย่างไรก็ตาม แม้ทางเลือกเช่นนี้มีความเสี่ยงต่ำในสภาวะเศรษฐกิจเติบโตและสภาวะหุ้นขาขึ้น แต่ก็อาจพลาดโอกาสในการลงทุนกิจการที่มีผลประกอบการดีและราคาหุ้นยังมีโอกาส ปรับตัวขึ้นอีกเช่นกัน

 สถานการณ์สุดท้าย นักลงทุนที่เชื่อมั่นว่าผลตอบแทนของการลงทุนหุ้นที่ยอดเยี่ยมในระยะยาวจะสูง กว่าผลตอบแทนในการลงทุนประเภทอื่น หากอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเลือกเช่นนี้ อาจพิจารณาลงทุนในกิจการแข็งแกร่งแม้จะมีส่วนต่างความปลอดภัยของราคา (margin of safety) ไม่มากนักเช่นในอดีต ทั้งนี้ เพราะตลาดโดยรวมได้ถูกปรับเพิ่มระดับราคาส่วนเพิ่ม (premium) จากปัจจัยบวกที่เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม การลงทุน การบริโภค และการใช้จ่ายจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ การตัดสินใจลงทุนจำเป็นต้องเลือกเฟ้นกิจการที่มั่นใจว่าจะมีโอกาสผิดพลาด น้อย และเป็นกิจการ "ผู้ชนะสิบทิศ" เลยทีเดียว นั่นคือ ผู้ชนะอย่างโดดเด่นในอุตสาหกรรมที่ยังมีการเติบโต มีป้อมค่ายคูเมืองที่แข็งแกร่งที่ได้เปรียบในการแข่งขัน กิจการไม่ได้รับผลกระทบหรือได้รับผลกระทบน้อยหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิด ขึ้น กิจการเช่นนี้แม้ราคาหุ้นจะปรับตัวลง ก็เป็นเพียงสภาวะชั่วคราวและจะปรับตัวขึ้นเร็วกว่าตลาดโดยรวมจากผลประกอบการ ที่ดีอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

 หากพบกิจการยอดเยี่ยม ดังกล่าว แต่ไม่มั่นใจในจังหวะเหมาะสมเพื่อเข้าลงทุน (market timing) เทคนิคที่ควรพิจารณานำมาใช้ คือ กdollar cost average (DCA) หรือการลงทุนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องในระยะยาว โดยกำหนดช่วงเวลาสำหรับการลงทุนไว้อย่างแน่นอน เช่น ทุกสัปดาห์ ทุกเดือนด้วยเงินลงทุนที่เท่ากัน การลงทุนเช่นนี้จะช่วยให้เฉลี่ยราคาต้นทุนซื้อหุ้นทั้งในสภาวะราคาหุ้นปรับ ตัวต่ำลงและสูงขึ้น เพื่อช่วยลดความผันผวนของราคาและความผิดพลาดในการตัดสินใจนั่นเอง กลยุทธ์นี้นักลงทุนจำเป็นต้องมีวินัยในการลงทุนและปฏิบัติตามแนวทางที่ตั้ง ไว้อย่างเคร่งครัดด้วย

 ตัวอย่างสถานการณ์ที่ กล่าวมา อาจเคยเกิดขึ้นกับนักลงทุนที่ลงทุนมาอย่างยาวนานทุกคน ผู้เริ่มสนใจลงทุนอาจเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าว่ามีข้อดีข้อ เสีย ตลอดจนผลลัพธ์ของแต่ละแนวทางว่าเหมาะกับแนวทางการลงทุนและวิถีการใช้ชีวิต ของตนอย่างไร ในฐานะ อvalue investor "หากจะต้อง…เลือก" ต้องไม่เลือกแบบสถานการณ์แรกแน่ ๆ คอนเฟิร์ม !


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เลือกลงทุน

view