สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ข้ามชอต ปรองดอง นิรโทษ พลิกเกมเลือกตั้ง ทุกพรรค-ทุกสีจัดแถวจับขั้ว แล้วใครหว่า อยากล้มโต๊ะ ?

จากประชาชาติธุรกิจ

จนถึงนาทีนี้ กล่าวได้ว่า แผนปรองดองและกระบวนการแก้วิกฤตการเมือง 5 ข้อ ยังอยู่ในวาระ "เพื่อพิจารณา" ของทุกขั้วทุกฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายที่ได้ประโยชน์ทางตรง คือนักการเมือง ใน-นอกสภาผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่า 700 คน ทำให้ข่าวใต้ดิน-ข้อมูลใหม่ ที่มีเป้าหมายให้เกิดการนิรโทษกรรม-คดีการเมือง จึงเร้าใจทุกขั้ว-ทุกสี


    ...อย่างน้อยก็มีนักการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 8 พรรค 475 คน
นักการ เมืองที่ถูกศาลตัดสิทธิ์ทางการเมืองไปแล้ว 3 ปี 1 พรรค คือ ไทยรักไทยจำนวน 111 คน
และนักการเมืองอีก 3 พรรค ที่ถูกตัดสิทธิ์รอบ 2 ทั้งชาติไทย-มัชฌิมาธิปไตยและพลังประชาชนอีก 220 คน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ส.และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ที่พิจารณาข้อเสนอ "นิรโทษกรรม" อย่างรอบด้าน
เช่นเดียวกับ ส.ส.และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ที่อยู่ในระหว่างจัดแถวใหม่ แยกแยะ ข้อดี-ข้อเสีย ของการนิรโทษกรรม และการได้กลับมาของคนสีเทา ทั้งอดีตไทยรักไทยและพลังประชาชน ไม่น้อยกว่า 111+39 คน
ข้อเสนอการจัดทำแผนปฏิบัติเพื่อการปรองดอง 6 เดือนก่อนลงสนามเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 ของนายกรัฐมนตรี จึงยังอยู่ในวาระเพื่อพิจารณา แบ่งรับ-แบ่งสู้จากฝ่าย "เสื้อแดง"
เพราะ หาก "รับข้อเสนอ" หมายความว่า แกนนำ นปช.ทั้ง 13 คน ที่มีคดีอาญา-แพ่งติดตัว คนละไม่ต่ำกว่า 5 คดี ต้องเดินหน้าขึ้นศาล พร้อม ๆ กับการเดินทางหาเสียง และต้องยอมรับว่าโอกาสการได้เป็นรัฐมนตรี น้อยยิ่งกว่าน้อย
เพราะหากรับข้อเสนอ หมายความถึง ตำแหน่ง-แห่งที่ ที่กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย 13 คน อาจต้องถูกจัดอยู่ "ท้ายแถว" เพราะทีมเอและทีมบี คืนสู่สนามเลือกตั้ง
ที่ สำคัญ "จุดอ่อน" ของฝ่ายเสื้อแดง ที่ต้องพิจารณาเป็นวาระแรก คือ การไม่ได้กลับมาของ "ทักษิณ" เพราะค้าง-คา คดีอาญาอยู่ไม่น้อย
ที่ สำคัญ นักการเมืองที่มีความผิดติดตัว ทั้งคดีอาญา-คดีแพ่ง-คดีผู้ก่อการร้าย จะไม่ถูกนับจับมารวมกับข้อเสนอ "นิรโทษกรรม" นั้นส่วนใหญ่อยู่ในฝ่ายเพื่อไทย
และการไม่ได้กลับมาของ "ทักษิณ" หมายถึง การไม่ไหลของกระแส-กระสุน ซึ่งเป็นยุทธปัจจัยสำคัญในการเลือกตั้ง 
จุด อ่อนข้อนี้ เมื่อเทียบกับจุดอ่อนของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว นับว่าอยู่ในดีกรีที่ใกล้เคียงกัน
เพราะการนิรโทษ-คดีการเมือง ทำให้ประชาธิปัตย์มีคู่แข่งเป็นนักการเมืองระดับพยัคฆ์เสียบปีก เต็มพื้นที่ทั่วทุกในสนามเลือกตั้ง
แน่นอนว่าคะแนนระบบบัญชีรายชื่อของ พรรคประชาธิปัตย์ย่อมหายไป ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
แน่นอนว่าคะแนนเสียงใน ระบบ ส.ส.เขต ย่อมต้องต่อสู้สูสี ทุกที่ทุกเขต แบบเจียนแพ้ เจียนชนะ
แต่ เหนือสิ่งอื่นใด ข้อเสนอนิรโทษกรรม อาจทำให้ความขัดแย้ง เคืองใจ ของนักการเมืองที่ค้างคามานานกว่า 5 ปี ย่อมลดดีกรีลง และอาจได้ "ผล" คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เป็นไปในทางบวก 
ข้อเสนออย่างเป็นทางการของพรรค ประชาธิปัตย์คือ "ยุบสภา" อย่างมีเงื่อนไข 5 ข้อกับ 2 เงื่อนไข ใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน และเสื้อแดง "ยุติ" การชุมนุม พร้อมเข้าสู่กระบวนการปรองดอง จึงเป็นจุดเริ่มต้น ที่ฝ่ายการเมืองที่ทั้งได้-ทั้งเสีย ต่างเห็นชอบ
อย่างน้อยการตั้งคณะ กรรมการเพื่อการปรองดองในการเลือกตั้ง ที่มีตัวแทนจากทุกพรรค ที่ลงรับสมัครเลือกตั้ง จะทำให้ทุกพรรค ทุกสี ลงพื้นที่ได้โดยปลอดจาก "ม็อบ" ต่อต้าน
อย่างน้อยทำให้คดีการเมืองทั้งหมดตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ถูกล้างทั้งหมด
ดังนั้น ทันทีที่ความเคลื่อนไหว "ใต้ดิน" เพื่อสร้างกระบวนการ-กรรมการปรองดองเกิดขึ้น จึงมีนักการเมือง "ขาใหญ่-บิ๊กเนม" เดินสายหารือ พยักหน้า ยอมรับทันที 
ทั้งบรรหาร ศิลปอาชา แห่งพรรคชาติไทย-ชาติไทยพัฒนา
เนวิน ชิดชอบ-สมศักดิ์ เทพสุทิน-อนุทิน ชาญวีรกูล แห่งภูมิใจไทย
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตกรรมการไทยรักไทย ปัจจุบันมีบารมีเหนือพรรค "รวมชาติพัฒนา" ก็เคยเห็นด้วย ไม่ขัดข้อง
เช่นเดียวกับสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตกุนซือไทยรักไทย ที่ร่วมรับรู้ผลการเจรจาผ่านทางเจ้าของทุนใหญ่ยักษ์จากมุมถนน "สีลม"
 ตุ๊กตา การเมือง 5 ข้อ 2 เงื่อนไขของนายกรัฐมนตรี มีที่มาหลายวาระ หลายโอกาส
วาระ แรก เป็นข้อเสนอจากผู้มีบารมีในพรรคร่วมรัฐบาล ที่เห็นว่า หากดึงนักการเมืองขาใหญ่มาไว้ในฝ่ายตรงข้าม "ทักษิณ" ได้มากเท่าไร ย่อมหมายถึงการได้เป็นเจ้ามือจัดตั้งรัฐบาลสมัยหน้า
 ที่มีในมือขณะนี้ ก็มีทั้งสุวัจน์-บรรหาร-สมศักดิ์-เนวิน และ ฯลฯ
ที่สำคัญที่สุด ฝ่ายที่อยู่ตรงข้าม "ทักษิณ" และอยู่ "ตรงกลาง" เป็นตัวเชื่อมทำให้เกิด "ร่าง" แผนปรองดอง รอบแรก เข้ามาเป็น "ตัวแปร" อีกเงื่อนไข มีอดีตผู้มีบารมีแห่งพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่ "เข้าถึง" ราชนิกูล ร่วมร่าง-รอบแรก
วาระต่อมา เกิดการเคลื่อนไหวของเหล่าบรรดาเครือข่ายราชนิกูล ที่อยู่ในวงการเมือง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อย่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ที่เริ่มขยับจับโทรศัพท์สนทนา หาทางแก้ปัญหา "เดดล็อก" การเมือง
วาระนี้ถูกเชื่อมเข้ากับ "เจ้าของทุนใหญ่" ย่านสีลม ที่มีเครือข่ายทั้งรัฐมนตรีในทำเนียบ-นายพลใหญ่ในกองทัพ และนักการเมืองอดีตกรรมการบริหารไทยรักไทย
จึงทำให้ชื่อ "เขยซีพี" อย่างน้อย 2 คนถูกพูดถึง ระหว่างบรรทัด-ระหว่างการขับเคลื่อนวาระ "นิรโทษ-ปรองดอง" เป็นกรณีพิเศษ
คนหนึ่งเป็นรัฐมนตรีในทำเนียบคนสนิทของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" คนหนึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีของรัฐบาลอีกขั้วหนึ่ง เชื่อมต่อเจรจากับนักกฎหมายขั้นเทพ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในร่มเงาพรรคเพื่อแผ่นดิน
ทุกวาระ ทุกเครือข่าย เจรจา สนทนา ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ แล้วนำเสนอสูตรปรองดอง ส่งตรงข้ามฟ้าไปถึง "ทักษิณ" เพื่อพิจารณา และ "เห็นชอบ" จึงเป็นที่มาของ 5 ข้อ 2 เงื่อนไข ตามที่นายกรัฐมนตรีนำเสนอในสภาผู้แทนราษฎร คือ
1.เรื่องปกป้องสถาบัน บนความเป็นจริงและความพอดี ให้ทุกคนมาช่วยกันว่ารักษาระบบสถาบัน และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งในและนอกประเทศ 
2.เรื่องการประสานทุก ภาคส่วนต่าง ๆ ให้มาร่วมแก้ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคม ทุกองค์กรก็ดำเนินการอยู่ จะได้ข้อสรุปถึงการตั้งสมัชชาประชาชนว่าด้วยการปฏิรูปภาคสังคม
3.เรื่อง สื่อ เป็นเรื่องความคิดต่างทางการเมือง จะเชิญทุกสื่อ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) มากำหนดกติการ่วมกันใช้ทุกฝ่าย  
4.เรื่องการสะสางเหตุการณ์วันที่ 10, 22 และ 28 เมษายน หากการชุมนุมยุติ จะมีการตั้งคณะกรรมการอิสระ ส่วนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาแล้ว ถ้าทุกคนรับได้ จะให้ใช้กลไกนั้น 
5.เรื่องกฎกติกานักการเมือง มาเจรจากันทุกฝ่ายเพื่อหาความเห็นพ้อง ซึ่งถ้าทำได้ทั้งหมดจะให้เลือกตั้ง 14 พฤศจิกายน

"แต่ถ้าไม่ได้รับการตอบสนอง ผมก็จะพยายามทำ 5 เรื่องนี้ แต่ไม่สามารถบอกว่าจะเลือกตั้งได้เมื่อไหร่ อย่างไรก็ดี ขณะนี้ที่เสนอโรดแมปไป ภาพรวมก็ได้รับการตอบรับ ซึ่งแนว นปช.ก็ตอบรับในหลักการ ส่วนกลุ่มเสื้อหลากสีจะเชิญมาคุย รวมถึงคงต้องไปทำความเข้าใจกับพันธมิตรด้วย" นายกรัฐมนตรีประกาศ 
แม้ ข้อเสนอนี้ "วีระ มุสิกพงษ์-ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ-จตุพร พรหมพันธุ์" จะยังมีท่าที "แบ่งรับ-แบ่งสู้" เพราะเหตุแห่งคดี "การก่อการร้าย" ที่ทั้ง "3 เกลอ" อาจติดร่างแห
แม้การปล่อยผี-นิรโทษกรรม นักการเมือง 220 คน จะทำให้เกิด "คู่แข่ง" ทางการเมืองในพรรคเพื่อไทย-ประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้นมหาศาล
แต่นักการเมือง ส่วนใหญ่พิเคราะห์แล้วว่า ต่างฝ่ายต่าง "win win solution"   ทว่า  การยิง M 79 และ สาดกระสุนเอ็ม 16 ปลิดชีวิต ตำรวจ ไปอีก 2 ราย เมื่อวันที่ 8 พ.ค. เสมือนเป็นต้องการล้มโต๊ะ  คว่ำแผนปรองดองแห่งชาติ   รุ่งขึ้น  นายกฯอภิสิทธิ์ ก็มาเฉลย ผ่านรายการ เชื่อมั่นประเทศไทย ว่า อดีตนายกฯทักษิณและเสธ.แดง   ไม่เห็นด้วยกับแนวทางปรองดอง!!!   ข้อมูลใหม่ที่ออกมา สร้างความแตกแยกให้กลุ่มคนเสื้อแดง คือ การออกมาแฉของเสธ.แดงว่า 3 เกลอ ซูเอี๋ย "มาร์ค"   แน่ชัดแล้วว่า เสื้อแดงสายหนึ่ง  ต้องการยุติการชุมนุม เพราะเห็นว่า รถไฟถึงสถานีแล้ว ถึงเวลากลับบ้าน   แต่ เสื้อแดงอีกสาย ยังไม่อยากกลับบ้าน เพราะเห็นว่า  ชัยชนะอยู่สถานีข้างหน้า   นี่อาจเป็นบทพิสูจน์สำคัญว่า ทักษิณ ใช้ เสื้อแดง เป็นเครื่องมือ   หรือ เสื้อแดง ใช้ ทักษิณ เป็นเครื่องมือ กันแน่ ?  

view