สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณี สามี ภริยา

(อ่าน 3227/ ตอบ 2)

เว็บมาสเตอร์

เลขที่ข่าว ปชส. 29/2556
วันที่แถลงข่าว 25 มกราคม 2556
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณี สามี – ภริยา
...................................................................................................................................................................................



ปีภาษี 2555 เป็นปีแรกที่กรมสรรพากรกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้จาก สามีและภริยา ให้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษี ต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากกัน และแบ่งเงินได้พึงประเมินที่สามีและภริยาทาร่วมกัน หรือสามีและภริยาจะตกลงเลือกยื่นรายการและเสียภาษี รวมกันก็ได้



กรณีเงินได้พึงประเมินที่ไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภริยาฝ่ายละจานวนเท่าใดตามมาตรา 40(2) - 40(8) ให้แบ่งสัดส่วนคนละ 50% ของเงินได้ประเภทนั้น เฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (8) จากการขายสินค้า การพาณิชย์ การขนส่ง ฯลฯ ให้สามีภรรยาเลือกแบ่งเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้แบ่งกันฝ่ายละกึ่ง ส่วนสิทธิประโยชน์ที่สามีภริยาได้รับเพิ่ม กรณีการหักค่าลดหย่อน มี 3 รายการ คือ ค่าลดหย่อนบุตรได้คนละ 15,000 บาท ค่าลดหย่อนการศึกษาบุตรได้คนละ 2,000 บาท และค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมซื้อที่อยู่อาศัย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างกู้ยืม มีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายหักได้คนละ 100,000 บาท



นางจิตรมณี สุวรรณพูล ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษีในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า “ขณะนี้ถึงกาหนดเวลาของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปี ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 สาหรับปีภาษี 2555 สามารถยื่นแบบกระดาษได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ส่วนการยื่นแบบฯ ทางอินเทอร์เน็ตสามารถยื่นแบบฯ ได้ถึงวันอังคารที่ 9 เมษายน 2556 ทั้งนี้ กรมสรรพากรขอเชิญชวนให้ผู้เสียภาษียื่นแบบฯ ทางอินเทอร์เน็ตเป็นบริการที่สะดวก รวดเร็ว ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และเพิ่มช่องทางการชาระภาษีด้วยบัตรเครดิตของธนาคารที่ร่วมโครงการ ซึ่งผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิขยายเวลาการจ่ายเงินสดออกไปอีก 45 - 51 วัน เป็นการเสริมสภาพคล่องเงินสดและช่วยการวางแผนการใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่งด้วย”



โฆษกกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 พบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นประจา คือ การนารายได้ตลอดทั้งปีมายื่นคานวณเสียภาษีไม่ครบถ้วนทั้งจานวนที่ได้รับมาจริง ซึ่งกรมฯ สามารถตรวจสอบได้จากการหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้จ่ายเงินได้ ผู้เสียภาษีจึงควรเก็บหลักฐานหนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ส่วนการหักค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดู บิดา-มารดา โดยเฉพาะบิดามารดาที่มีบุตร หลายคน กรมฯ ให้สิทธิแก่บุตรเพียงคนเดียว ซึ่งข้อผิดพลาดเหล่านี้อาจทาให้ผู้เสียภาษีถูกเรียกเก็บเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนได้ เนื่องจากการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการให้สิทธิผู้เสียภาษีประเมินรายได้ ที่จะต้องนาส่งเงินภาษีให้แก่รัฐด้วยตนเอง”


Lock Reply
view