สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รัฐบาล งัด แพ็กเกจภาษี เยียวยาเฟส2 หักลดหย่อน-ซอฟต์โลนอุ้มท่องเที่ยว

(อ่าน 1274/ ตอบ 0)

108acc (Member)

จากประชาชาติธุรกิจ


คลังจัดแพ็กเกจเยียวย่ชุด 2 ชงครม.เศรษฐกิจ 7 มิ.ย.นี้ ชูมาตรการภาษี-ซอฟต์โลนเพิ่มวงเงิน 3-5 ล้านบาท/ราย ดอกเบี้ยคงที่ 3% ปลอดเงินต้น 2 ปี ไฟเขียวเจ้าของอาคารที่ถูกเผานำเงินลงทุนซ่อมแซมมาหักเป็นค่าเสื่อมได้ 2 เท่า พร้อมมาตรการภาษีกระตุ้นการท่องเที่ยว สรรพากรเปิดช่องนำค่าใช้จ่ายเที่ยวไทยหักลดหย่อนภาษี 15,000 บาท ด้านกระทรวงท่องเที่ยวฯของบอีก 2 หมื่นล้านบาท




นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการ ชุมนุม ซึ่งคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะประชุมกันในวันจันทร์ที่ 7 มิถุนายนนี้ โดยจะพิจารณามาตรการช่วยเหลือทางภาษีและทางการเงิน ในส่วนการสนับสนุนเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน จากเดิมให้วงเงิน 1 ล้านบาทนั้นจะพิจารณาขยายวงเงิน แต่เงื่อนไขผ่อนปรนจะน้อยลง รวมถึงมาตรการภาษีในแผนฟื้นฟูการ ท่องเที่ยวด้วย

"วาระเร่งรัด คือให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนและเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่น โดยใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้ฟื้นตัว เพื่อชดเชยสิ่งที่เสียไปช่วง 2 เดือน และต้องเร่งส่งสัญญาณให้การท่องเที่ยวกลับมาคึกคัก เมื่อเศรษฐกิจฟื้นเราก็สามารถไปพูดกับต่างประเทศได้ง่ายขึ้น"

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลังเร่งสรุปมาตรการเยียวยาชุดที่ 2 เสนอให้ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจพิจารณา เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจต่อไป ในส่วนของคลังจะเสนอ 2 ส่วนคือ 1.มาตรการภาษีของกรมสรรพากร เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยจะเปิดให้ผู้เสียภาษีนำค่าใช้จ่ายจากการเดินทางภายในปี 2553 มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ในวงเงินไม่เกิน 15,000 บาท

ส่วน ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมที่ส่งพนักงานไปฝึกอบรมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สามารถนำค่าใช้จ่ายมาลงบัญชีเป็นรายจ่ายและนำไปหักภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง และยังเสนอให้นำค่าใช้จ่ายการจัดประชุมสัมมนา หรือออกบูทท่องเที่ยวภายในประเทศมาหักภาษีได้ 2 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง จากเดิมให้เฉพาะกรณีไปออกบูทต่างประเทศเท่านั้น

สำหรับผู้ประกอบการ ที่ได้รับเงิน ค่าสินไหม จากการทำประกันภัยจลาจล, ภัยก่อการร้าย, อัคคีภัยและเงินช่วยเหลือที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา โดยกรมสรรพากรจะไม่ถือเป็นเงินได้ ส่วนบริษัทประกันภัย กรณีที่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้เอาประกันภัย ทั้ง ๆ ที่สัญญาในกรมธรรม์ไม่ได้ครอบคลุม บริษัทประกันภัยสามารถนำรายจ่ายนี้มาลงบัญชีรายจ่ายเพื่อหักภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้











เจ้า ของอาคารที่ต้องลงทุนซ่อมแซมหรือตกแต่งอาคารที่เสียหายจากเพลิงไหม้ สามารถนำค่าใช้จ่ายหักค่าเสื่อมได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง นอกจากนี้รัฐบาลยังจัดตั้งกองทุนช่วยเหลืออีกทาง โดยผู้บริจาคเงินให้กองทุนดังกล่าวสามารถนำไปหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและ บุคคลธรรมดาได้ 2 เท่าของที่จ่ายไปจริง โดยกรมสรรพากรจะนำกองทุนดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงจะมีผลบังคับใช้

"มาตรการภาษีชุดนี้ คาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมากนัก แต่ถ้าไม่มีมาตรการไปกระตุ้นหรือสนับสนุนให้ผู้ประกอบการลงทุนเพิ่มเติม น่าจะมีผลทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้มากกว่า เพราะผู้ประกอบการจะเลิกกิจการกันหมด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อฐานภาษีในระยะยาวด้วย" แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับ ส่วนที่ 2 เป็นมาตรการสนับสนุนทางด้านการเงินผ่านโครงการ SMEs POWER ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ชุดที่ 2 ต่อเนื่องจากโครงการแรกที่ให้วงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท เพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการในเบื้องต้น ส่วนโครงการสินเชื่อ SMEs POWER ตัวใหม่นี้จะเป็นสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการลงทุน ปล่อยกู้รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท หรือไม่เกิน 5 ล้านบาท จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี ผ่อนชำระ 6 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น 2 ปี แต่มีเงื่อนไขว่าผู้กู้จะต้องมีหลักทรัพย์มาวางค้ำประกันหรือมีผู้ค้ำประกัน และจะต้องมีการตรวจสอบประวัติในเครดิตบูโรด้วย

ก่อนหน้านี้รัฐบาล ได้จัดมาตรการเยียวยาชุดแรกเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ทางการเมือง โดยการมอบเงินช่วยเหลือให้กับผู้ที่ถูกเพลิงเผาไหม้รายละ 50,000 บาท พร้อมกับจัดโครงการสินเชื่อ SMEs POWER เข้าไปเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท รวมทั้งจัดหาสถานที่เปิดให้ค้าขายได้ชั่วคราว

นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมเสนอที่ประชุม ครม. เศรษฐกิจ 2 เรื่องใหญ่ คือการอนุมัติงบฯฟื้นฟูการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วนให้แก่การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) วงเงิน 1,600 ล้านบาท และเรื่องที่สอง แพ็กเกจ งบฯเยียวยาหลังเหตุการณ์จลาจลเพิ่มใหม่ 21,500 ล้านบาท ผ่านธนาคารของรัฐ เพื่อนำมาใช้ทำมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั่วประเทศ กลุ่มธุรกิจรายขนาดกลางและย่อม (SMEs) 10,000 ล้านบาท และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่กว่ากลุ่มเอสเอ็มอีอีก 10,000 ล้านบาท และเงินกู้อาชีพอิสระ เช่นมัคคุเทศก์ 1,500 ล้านบาท

ครอบคลุมทั้ง 4 มาตรการ คือ 1.มาตรการเสริมสภาพคล่อง ขอให้เจรจากับธนาคารพาณิชย์ ขยายระยะเวลาชำระหนี้ 2.มาตรการด้านภาษี ลดทั้งภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม นำค่าใช้จ่ายจัดประชุมและสัมมนามาหักภาษี 3.มาตรการด้านแรงงาน ชดเชยเงินเดือนพนักงาน ยกเว้นเงินสมทบประกันสังคม ช่วยค่าใช้จ่ายรายเดือนแก่ผู้ประกอบการ และสนับสนุนงบฯฝึกอบรมพนักงาน และ 4.มาตรการอื่น ๆ เช่น จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ให้มัคคุเทศก์ โดยขอเงินประเดิมจาก 10 ล้านบาท ขอลดค่าใช้จ่าย 50% เมื่อเข้าร่วมส่งเสริมงานขายในหน่วยงานภาครัฐ

ข้อเสนอสำคัญของ เอกชนท่องเที่ยวทุกกลุ่มอาชีพและกลุ่มสมาคมเห็นพ้องกันคือให้รัฐบาลยกเลิก ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารประเทศในภาวะฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) โดยด่วน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นานาประเทศ

นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2553 ได้มีจัดประชุมร่วมกับสมาคมและผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยได้สรุปข้อเสนอขอมาตรการเยียวยาทางด้านต่าง ๆ มาตรการหลักที่ภาคเอกชนให้ความสนใจและต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนที่สุด คือแพ็กเกจเงินกู้ ขณะนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแบ่งวงเงินเป็น 2 ชุด

ชุด แรก เสนอขอเมื่อปี 2552 หลังเหตุการณ์เดือดช่วงเมษายนปีที่ผ่านมา ครม.อนุมัติให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) ปล่อยวงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท จนถึงขณะนี้ยังมีเหลืออยู่อีกเกินกว่า 1,600 ล้านบาท โดยปรับเงื่อนไขใหม่ขยายแต่ละส่วนให้เหมาะสมคือ ขยายวงเงินกู้จากเดิมรายละ 5 เป็น 10 ล้านบาท ขยายเวลาปลอดชำระเงินต้นจากเดิม 1 ปี เป็น 2 ปี (พฤษภาคม 2553 เลื่อนไปพฤษภาคม 2554) ขยายเวลาการกู้ยืมสูงสุดจากเดิม 5 ปี เป็น 10 ปี

ส่วน หลักประกันเงินกู้ 5 ล้านบาทแรกใช้เกณฑ์เดิม แต่วงเงินส่วนที่เกิน 5 ล้านบาท ให้ใช้ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง อาคารชุด ห้องชุด เครื่องจักร อุปกรณ์ การโอนสิทธิ์เช่า เป็นหลักประกัน พร้อมกับปรับเปลี่ยนขั้นตอนการยื่นขอเงินกู้จากเดิมต้องผ่านการกลั่นกรองจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมท่องเที่ยวที่เป็นสมาชิก สมาคมโรงแรมไทย เปลี่ยนใหม่เป็นสามารถยื่นกู้โดยตรงกับเอสเอ็มอีแบงก์

ชุด ที่ 2 เสนอขอเพิ่มหลังเหตุการณ์ม็อบและจลาจลย่านราชประสงค์เพื่อขอเงินกู้ใหม่อีก 20,000 ล้านบาท จะเสนอ ครม.พิจารณา 7-8 มิถุนายนนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม 10,000 ล้านบาท กู้ได้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยเอกชนขอให้ ครม.ยกเว้นการตรวจสอบประวัติทางการเงิน (Credit Bureau) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Clean Loan) เพื่อกู้จากธนาคารเอสเอ็มอีแบงก์เหมือนเดิม โดยมีเงื่อนไข ระยะเวลากู้ 8 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้น 2 ปี อัตราดอกเบี้ย MLR -3 เป็นเวลา 2 ปี ส่วนต่างดอกเบี้ยให้รัฐบาลอนุมัติเงินอุดหนุนประมาณ 400 ล้านบาท/ปี

กลุ่ม สอง ผู้ประกอบการท่องเที่ยวขนาดใหญ่กว่าเอสเอ็มอี เช่นธุรกิจการขนส่ง ให้กู้ได้รายละ 50 ล้านบาท ขอความร่วมมือจากแบงก์พาณิชย์ช่วยขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป 3 ปี ปลอดคืนเงินต้น 6 เดือน

นอกจากนี้มาตรการลดค่าใช้จ่ายให้แก่ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว โดยการยกเว้นภาษีสรรพสามิตปี 2553 ขยายเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมโรงแรม เลิกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าขั้นต่ำจากโรงแรม ยกเลิกหรือลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 1 ปี จัดงบฯ 440 ล้านบาท ทำโครงการฝึกอบรมพนักงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว


------------------------------------------------------------------------------------------


ไฟเขียวนำรายจ่ายซื้อทัวร์หักภาษีได้1.2หมื่น




Lock Reply
view